วัดสำปะซิว ภาพวาดโดเรมอน สุพรรณบุรี

0

ดูเอเซียพาเที่ยววัดสำประซิววัดชื่อดังอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี วัดสำประซิวเป็นวัดเก่าแก่และยังเป็นที่ฮือฮาอยู่ช่วงหนึ่งหลังจากที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ มีรูปโดราเอม่อนแฝงอยู่เนื่องจากว่าจิตกรต้องการสื่อให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานั้นก้าวทันโลกทันยุคทันสมัยอยู่เสมอไว้ว่าจะยุคสมัยใดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ยังดันต่อโลกที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา และยังเป็นการทำให้เด็กๆสนใจ เรียกว่าเป็นกุศโลบายให้ผู้คนมาเข้าวัด กันมากขึ้น

watsampasil (11)watsampasil (19) watsampasil (20) watsampasil (21) watsampasil (13) watsampasil (14) watsampasil (16)

โดเรมอนอยู่ในกะทะร้อน
watsampasil (17)
watsampasil (18) watsampasil (23)

วัดสำปะซิว สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๕๗ ยุคสมัยประวัติศาสตร์ (อยุธยาตอนต้น) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพุทธศักราช ๑๘๖๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๑ หมู่ ๓ ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่เศษ

 

ความเป็นมาของวัดสำปะซิว

ตามประวัติ ตำนานที่มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานต่อๆกันมาว่า เดิมสถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่ ที่กองทัพไทย ใน “ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ” ได้มาหยุดพักรบ เพื่อตรวจสอบบัญชีจำนวนทหารในกองทัพว่า มีจำนวนทหารที่สูญหายจากการทำศึกเท่าใด และมีจำนวนทหารเหลืออยู่เท่าใด ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า “ สางบัญชี “ จึงตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “ วัดสางบัญชี ”  เนื่องจากสาเหตุอันใดไม่ทราบ ได้ทำให้การเรียกชื่อวัดแห่งนี้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จากชื่อว่า “ วัดสางบัญชี ”  เป็น “ วัดสำปะซิว ”  มาจนถึงทุกวันนี้

 watsampasil (22) watsampasil (25) watsampasil (15)

ตามประวัติของท่าน “สุนทรภู่” กวีเอกของไทยในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เดินทางไปเมืองสุพรรณบุรี เพื่อหาแร่ต่างๆ และยาอายุวัฒนะ ในขณะที่ตัวเองเป็นเพศบรรพชิต ได้เดินทางโดยทางชลมารค โดยใช้เรือแจวจากกรุงเทพมหานคร มาตามลำน้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๙ ได้เดินทางผ่านวัด หมู่บ้าน และสถานที่ต่างๆ ที่ได้ปลูกสร้างตามริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรีเรื่อยไป ได้พบเห็นสถานที่แห่งหนตำบลใด ที่เป็นจุดเด่น ก็จะจดบันทึก ไว้ด้วยภาษาของนักกวี เป็นโคลงสี่สุภาพ “ โคลงนิราศเมืองสุพรรณ ” มีตอนหนึ่งประพันธ์ไว้ดังนี้

สำปะทิวงิ้วง้าวสะล้าง          กร่างไกร

ถิ่นท่าป่ารำไร                      ไร่ฝ้าย

เจ็กอยู่หมู่ไทยมอญ            ทำถั่วรั้วเอย

ปลูกผักฟักกล้วยกล้าย       เกลื่อนทั่วทางขจร ( ๑๕๕ )

watsampasil (22) watsampasil (24) watsampasil (1) watsampasil (2) watsampasil (4) watsampasil (8)

“สำปะทิว” ก็คือ “สำปะซิว” ในสมัยปัจจุบัน อาจจะเป็นเพราะการเรียกเพี้ยนมาจนเดี๋ยวนี้ ที่เชื่อเช่นนั้นเพราะ ท่านสุนทรภู่ ได้พรรณนาถึงวัดกับบ้าน และบางต่างๆ เรื่อยมาตามลำน้ำสุพรรณบุรีก่อนที่จะถึงบ้านสำปะซิว ได้กล่าวถึง โพคลาน (โพธิ์คลาน) ศรีษะเวียง (หัวเวียง)โพหลวง(พลูหลวง) ซึ่งชื่อดังกล่าวนี้อยู่ใต้บ้านสำปะทิวและมีอาณาเขตติดต่อกันเป็นช่วงๆ จึงไม่มีปัญหากับคำว่า “สำปะทิว“ก็คื “สำปะซิว“นั่นเอง

สถานที่ที่มีการขุดพบพระเครื่อง และพระบูชานั้น เป็นเขตติดต่อกับเขตวัดสำปะซิว ซึ่งบังเอิญมีผู้ขุดพบกรุพระเครื่องกรุนี้ขึ้น คนที่ขุดพบกรุพระนี้ชื่อ นายดี หรือ นายจิระ มาแสง ซึ่งที่ตั้งของกรุพระนี้อยู่ริมรั้วบ้านเหนือของวัดสำปะซิวเพียงไม่ถึงเส้น แต่มีพระกรุอีกจำนวนมาก ที่ขุดค้นพบในเขตวัด ส่วนทางทิศใต้ของเขตวัดนั้น ได้มีการขุดพบพระเครื่องสมัยลพบุรีนับสิบครั้ง เมื่อมีผู้ใดมาถามว่าพบกรุพระที่ไหน ผู้ตอบมักตอบว่า พบกรุพระที่ “ วัดสำปะซิว “ จึงมีการเรียกกันต่อไปว่า “พระวัดสำปะซิว” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ที่ถูกควรจะเรียกว่า “ ย่านสำปะซิว “ ถึงจะชัดเจนมากกว่า ส่วนพระพิมพ์นี้ ต่อมาได้พบที่ เจดีย์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี

watsampasil (10) watsampasil (3)
watsampasil (6)watsampasil (9)

แต่เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ พระครูสุวรรณคุณสาร (อดีตเจ้าอาวาส) ได้พบพระกรุขึ้นอีก ตรงบริเวณเจดีย์เก่า ที่มีตราครุฑประดิษฐานหน้าเจดีย์ (สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่กษัตริย์ หรือเชื้อพระวงศ์ทรงสร้างไว้) หน้าวิหารฐานสำเภา ที่สร้างสมัยอยุธยา ที่มีแห่งเดียวในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี คือ “พระนางพญา” พิมพ์คะแนน และ “พระสมเด็จ” พิมพ์คะแนน ที่มีความสวยงามอย่างยิ่งขององค์พระ และความสวยงามของเนื้อพระ โดยค้นพบเป็นจำนวนไม่มากนัก

 

แหล่งโบราณคดีวัดสำปะซิว

เป็นแหล่งที่ตั้งเตาเผาภาชนะดินเผา ( ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา )ซึ่งเตาเผาอิฐเป็นแบบระบายความร้อนผ่านเฉียงขึ้นซึ่งสามารถเผาภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งแบบเคลือบและแบบไม่เคลือบได้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนทั้ง๒ฝั่งเพราะสะดวกในการขนส่งวัตถุดิบต่างๆทางเรือนับว่าเป็นสินค้าส่งออกลักษณะของดินเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ถูกการเคลื่อนย้ายพัดพามาจึงทำให้ดินมีคุณภาพดีเหมาะสำหรับในการทำภาชนะดินเผาเคยขุดค้นพบเศษเครื่องสังคโลกและเครื่องถ้วยจีนซึ่งนำมาเป็นตัวอย่างในการผลิตประเภทถ้วยชามส่วนหม้อไหมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเอง

watsampasil (5) watsampasil (7)

 ใครเอ่ย…..watsampasil (26)

หลักฐานจากการสำรวจได้พบ

๑. เตาอิฐเป็นแบบระบายความร้อนผ่านเฉียงขึ้น เป็นเตาที่พัฒนามาจากเตาดินขุด ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง แบบเป็น ๓ ส่วน คือ

๑) ห้องบรรจุเชื้อเพลิง ๒) ห้องบรรจุภาชนะ ๓ ) ปล่องไฟ

๒. เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ เป็นภาชนะประเภทหม้อปากผาย มีลวดลายเป็นลายขุด

๓. เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เผาด้วยอุณหภูมิสูง มีทั้งชนิดเคลือบสีน้ำตาล และชนิดไม่เคลือบสี ส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาไห ตกแต่งผิวภาชนะด้วยลายจุด

๔. เครื่องถ้วยจีน เนื้อค่อนข้างละเอียด เขียนลายน้ำเงินใต้เคลือบสีขาว ลวดลายเป็นลักษณะภาชนะสมัยราชวงศ์เหม็ง ซึ่งเป็นภาชนะประเภทโถ กระปุก และชาม

๕. เครื่องสังคโลก พบน้อยกว่าเครื่องถ้วยจีน เคลือบสีเขียวทั้งด้านใน และด้านนอก เป็นภาชนะประเภทชาม

ขอคุณข้อมูลจาก http://www.suphan.net

เชิญแสดงความคิดเห็น