ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

0

ดูเอเซียนำสิ่งดีๆที่เที่ยวสวยๆในกรุงเทพมหานครมาฝากครับ ว่าไปก็เหมือนเส้นผมบังภูเขา เพราะใครที่ผ่านไปผ่านมาแถวๆถนนราชดำเนินก็คงจะเห็นก็แต่เพียงเจ้าอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางถนน มีใครเคยสังเกตมั้ยว่านอกเหนือจากอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยแล้ว ยังมีสถานที่สำคัญอีกแห่งที่อยู่ริมถนนราชดำเนินแบบชิดติดขอบเลย ผมเห็นมานานแล้ว ก็ได้แต่ผ่านไปแล้วก็ผ่านมา อ่านแค่ป้ายชื่อ “ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์” ไหนๆ วันนี้โอกาศดีผ่านมาอีกรอบก็ขอลองเข้าไปสัมผัสให้รู้ว่าสถานที่แห่งนี้มีเรื่องราวเป็นมายังไงกันครับ

เช้าๆ รถน้อยครับ
pubpla (25)pubpla (22)

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เดิมเนื้อที่บริเวณดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในยุคสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณดังกล่าวโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะสร้างอาคารทั้งสองฝั่งถนนให้ใหญ่โตเทียบเท่ากับถนน ฌอง-เอลิเซ่ ของประเทศฝรั่งเศส และหนึ่งในนั้นก็รวมถึงการสร้างโรงละครขนาดมาตรฐาน แต่ด้วยช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา การก่อสร้างจึงยุติลงชั่วคราว ได้เพียงตัวอาคารเปล่า หน่วยงานราชการจึงใช้เป็นโกดังเก็บสิ่งของชั่วคราว ภายหลัง นายบัณฑูร องควิสิษฐ์ ร่วมกับเพื่อนสนิท ก่อตั้งบริษัทศิลป์ไทย สานต่อโครงการดังกล่าวจนเสร็จ โดยทำสัญญาเช่าจากสำนักงานทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ ใช้ชื่ออาคารดังกล่าวว่า ศาลาเฉลิมไทย

pubpla (1) pubpla (2) pubpla (4)

เมื่อสัญญาเช่าพื้นที่ของอาคารศาลาเฉลิมไทยจะหมดอายุลงในวันที่ 31 ตุลาคม พุทธศักราช 2530 คณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีขอซื้อที่ดินและอาคารดังกล่าวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ ให้สามารถมองเห็นทัศนียภาพของวัดราชนัดดารามวรวิหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของโลหะปราสาท

อาคารศาลาเฉลิมไทย เริ่มทำการรื้นถอนเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2532 โดยบริษัทแทคทีม จำกัด ใช้เวลาในการรื้อถอนทั้งสิ้น 2 เดือน เสร็จสิ้นจึงส่งมอบพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้กรมศิลปากร ในวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2532 เพื่อดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณนี้ต่อไป

ภายในบริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เนื่องจากทรงสถาปนาวัดราชนัดดารามวรวิหาร และโลหะปราสาท ลักษณะของพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นพระบรมรูปขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับพระที่นั่งกง มีแท่นฐานหินอ่อนรองรับ ๒ ชั้น ด้านหลังพระบรมรูปเป็นฉากรูปพระวิมาน อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พื้นฉากด้านหน้าเป็นหินอ่อนเรียบ ฉากด้านหลังเป็นหินอ่อนจารึกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ลวดลายรูปพระวิมานเป็นกระเบื้องเคลือบ พื้นลานที่รองรับแท่นฐานรวมทั้งกระถางต้นไม้ตามมุมเป็นหินแกรนิต ประติมากรผู้ปั้นหล่อพระบรมรูปคือ นายสุภร ศิระสงเคราะห์

pubpla (13)

พระบรมราชานุเสาวรีย์ ร.3
pubpla (14) pubpla (18) pubpla (12)

พลับพลาที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชพิธีต้อนรับราชอาคันตุกะ หรือประมุขของต่างประเทศ เนื่องจากเดิมสร้างเป็นพลับพลาที่ประทับชั่วคราว บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ซึ่งไม่เป็นการสมพระเกียรติและไม่มีความสง่างาม ลักษณะของพลับพลาเป็นพลับพลาโถงจตุรมุขหลังคาลด ๒ ชั้น มีพาไลปีกนกโดยรอบ หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีประดับช่อฟ้า ใบระกาหน้าบันปั้นลายปิดทอง ประดับกระจก เพดานปิดทองลายฉลุประดับดาวเพดาน เสาในเขียนลายรดน้ำ เสานอกบุหินอ่อนปั้นบัวหัวเสา และบัวตีนเสาปิดทอง พื้นเป็น ๒ ระดับ ในส่วนที่ประทับและที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เฝ้า ยกพื้นสูง ๔๕ เซนติเมตร ปูหินอ่อนทั้ง ๒ ระดับ ขนาดของพลับพลากว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๕.๕ เมตร โครงสร้างทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก

พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวpubpla (21) pubpla (20) pubpla (11) pubpla (17) pubpla (19)

ศาลาราย สำหรับข้าราชการแขกผู้มีเกียรติเฝ้ารับเสด็จ และร่วมพิธีจำนวน ๓ หลัง อยู่ทางทิศใต้ของพลับพลา ลักษณะเป็นศาลาโถงกว้าง ๕ เมตร ยาว ๘ เมตร หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันปั้นปูน พื้นปูหินอ่อนเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวขัดปูนดำ

ศาลารายpubpla (8)

พื้นที่เปิดโล่ง และ สวนสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่น เนื่องจากบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ขาดพื้นที่สีเขียว และสวนสาธารณะพื้นลานทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูด้วยหินแกรนิต จัดเป็นที่นั่งพักผ่อนของประชาชนมีรั้วรอบบริเวณเป็นรั้วเตี้ย กรุกระเบื้องปรุเคลือบสีมีเสาประทีป และกระถางต้นไม้สลับกัน บริเวณพื้นลานจัดเป็นสวนปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สถาปนิกผู้ออกแบบผังบริเวณ รับผิดชอบการก่อสร้างพลับพลา ศาลาราย และการจัดภูมิทัศน์ คือ นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ

เนื่องในวโรกาส ที่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งตรงกับวันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครบ ๑๖๖ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ และได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปพักผ่อนหย่อนใจในสวนสาธารณะ ซึ่งได้พระราชทานนามใน พ.ศ.๒๕๓๕ ว่า ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

pubpla (23) pubpla (24) pubpla (9)

ต่อมาคณะรัฐมนตรีมติเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ กำหนดให้วันที่ ๓๑ มีนาคม ทุกปีเป็นวันสำคัญของชาติ เรียกว่า “วันที่ระลึกมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” และในโอกาสวันสำคัญดังกล่าวได้เชิญชวนให้ประชาชนข้าราชการ ประกอบพิธีถวายราชสักการะด้วยพานพุ่ม ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ในวันสำคัญนั้นด้วย

ว้าว!!!นอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังมีความสัมคัญในระดับการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับนานาชาติอีกด้วย มิหนำซ้ำยังเป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไปอีกด้วย ขอบอกว่าตอนกลางคืนสวยมากครับเพราะจะมีการประดับไฟเหลืองนวล และยังมีโลหะปราสาท อยู่ใกล้ ทำให้ทัศนียภาพน่าดูชมจริงๆ 

การเดินทาง

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ตั้งอยู่ช่วงต้นถนนราชดำเนินกลาง ติดกับวัดราชนัดดารามวรวิหาร ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีรถเมย์หลายสายวิ่งผ่านบริเวณนี้

เชิญแสดงความคิดเห็น