ประเพณีผีตาโขน เมืองเลย แห่ผีตาโขน เทศกาลผีตาโขน พระธาตุแห่งสัจจะ และไมตรีจังหวัดเลย

0

ไหว้พระธาตุแห่งสัจจะ เยือนถิ่น ผีตาโขน ที่ด่านซ้าย เมืองเลย

peetakhon-musuem (13) peetakhon-musuem (14) peetakhon-musuem (15) peetakhon-musuem (3) peetakhon-musuem (4) peetakhon-musuem (5)

หากกล่าวถึงวัฒนธรรมผีตาโขนคงหนีไม่พ้นแดนดินถิ่นอีสาน โดยเฉพาะถิ่นอีสานเหนือที่ชื่อว่า ด่านซ้าย  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดสืบต่อกันมาอย่างยาวนานนับร้อย ๆปี และยังคงเอกลักษณ์ความเป็นวัฒนธรรมลูกอีสานมาจวบจนปัจจุบันเป็นทีรู้จักกันดีทั้งในและต่างประเทศ เป็นวัฒนธรรมการละเล่นที่สวยงามเต็มไปด้วยพลังแห่งความเชื่อศรัทธาวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ที่ใครหลาย ๆคนอยากมาสัมผัสสักครั้งในชีวิต นอกจากเป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมแล้ว ที่แห่งนี้ยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจองย่างยิ่งเคยเป็นดินแดนแห่งสัจจะและมีองค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเลยตั้งอยู่ก็คือองค์พระธาตุศรีสองรัก ซึ่งเป็นหนึ่งขององค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องเข้ามา กราบไหว้ขอพรซักครั้งในชีวิตครับ  แม้วันนี้หมู หิน.คอม ไม่ได้เดินทางมาในช่างบุญหลวงหรือประเพณีการเล่นผีตาโขน แต่คราวนี้เราก็มีพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนให้ได้ชมกันแบบเต็มอิ่ม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาจนกลายเป็นสมบัติของท้องถิ่นที่ชาวด่านซ้ายเขาร่วมแรงร่วมใจกันรักษาไว้ให้คงอยู่กับสังคมไทยต่อไปครับ สุดยอดไปเลยพี่น้องเรา ชาวไทยด่าน

 วัดโพนชัย ภายในมีพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนpeetakhon-musuem peetakhon-musuem (8) peetakhon-musuem (6)

ทริปนี้ ดูเอเซีย พาเพื่อนๆ  มาเที่ยวชิมรางกันแบบเต็มอิ่มก่อนที่ประเพณีบุญหลวง หรือประเพณีเล่นผีตาโขนของชาวด่านซ้ายจะวนเวียนมาถึงอีกครั้งในปีนี้ครับ เราเริ่มด้วยการเข้าไปชมและศึกษาวัฒนธรรมผีตาโขนที่พิพิธภันฑ์ท้องถิ่นภายในวัดโพนชัย จากนั้นเดินทางเพียงไม่กี่ก้าวเพื่อไปกราบไหว้ขอพรองค์พระธาตุศรีสองรัก สัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างลาวกับไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นองค์พระธาตุที่เชื่อกันว่าได้มาไหว้ขอพรแล้วจะสมดังใจปารถนา แต่คุณผู้หญิงต้องทำใจก่อนนะครับเพราะภายในบริเวณฐานองค์พระธาตุไม่อนุญาต ให้คุณผู้หญิงเข้าไปกราบไหว้ได้ ไหว้ขอพรได้เฉพาะด้านนอกเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญใช่ไหมครับ สิ่งสำคัญมันอยู่ที่จิตใจอันบริสุทธิ์บวกกับพลังศรัทธาของเราเท่านั้นครับ ไปกันเลย

peetakhon-musuem (19)

พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน วัดโพนชัย (ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดโพน) ตั้งอยู่บนเนินสูงทางทิศใต้ของอำเภอด่านซ้าย  ห่างจากลำน้ำหมันประมาณ  300  เมตร  สำหรับน้ำหมันตรงนั้น เรียกว่าวังเวิน บริเวณที่ตั้งวัดเป็นรูปเนิน มีเรื่องเล่าว่าดินเนินเป็นมูลขุยของพญานาค  มีรูจากศูนย์กลางลงไปที่ท่าวังเวิน  รูนี้เรียกว่ารูพญานาค  ที่รูนี้สมัยเก่าแก่ได้สร้างพระวิหารครอบเอาไว้ และสร้างพระพุทธรูปประธานองค์ใหญ่ตรงรูพญานาคนั้นไว้   วัดโพนชัย เป็นวัดคู่เมืองของอำเภอด่านซ้ายสร้างขึ้นพร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก  ประมาณ  พ.ศ. 2103 เข้าใจว่าพระเถระของกรุงศรีอโยธยา  5  ตน  และจากกรุงศรีสัตนาคณหุต  5  ตน ที่ทำสัตยาบัน (หล่อน้ำสัจจาตามศิลาจารึก) สร้างพระธาตุศรีสองรักได้มาพำนักอยู่ที่วัดนี้  จึงมีพระธาตุศรีสองรักจำลอง  อยู่ทางทิศใต้ของพระวิหาร  1  องค์ ขนาดกว้าง  3.75 เมตร  สูง  15  เมตร ที่วัดนี้มีการทำบุญมหาชาติในเดือน 7 หลังจากเสร็จงานพระธาตุศรีสองรักเป็นประจำทุกปีไม่ ชาวบ้านเรียกว่าบุญหลวง ในงานนี้จะมีผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนน้อยมาเล่นในงานนับร้อย ปัจจุบันวัดโพนชัยเป็นสถานที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน สถานที่จัดแสดงเป็นบ้านเรือนไม้ขนาดพอประมาณ ซึ่งชาวด่านซ้ายได้ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้น ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองด่านซ้าย นิทรรศการผีตาโขน การสาธิตทำหน้ากากผีตาโขนและมีสินค้าของที่ระลึกผีตาโขนในรูปแบบต่างๆ สามารถเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น.

 

ประเพณีผีตาโขนเป็นประเพณีการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมอันดีงามน่าภูมิใจของชาวไทยด่าน หรือพี่น้องชาวด่านซ้ายในปัจจุบัน  เทศกาลงานบุญผีตาโขนเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญหลวง ซึ่งถือเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของชาวท้องถิ่น ซึ่งเป็นการรวมเอางานบุญพระเวสและบุญบั้งไฟเขามาไว้เป็นงานบุญเดียวกันและในช่างถึงงานบุญ ตามขบวนแห่และตามท้องถนน ในเมืองด่านซ้ายก็จะมีกองทัพผีตาโขนออกมาเต้นวาดลวดลายให้ชมกันอย่างมากมาย 

 peetakhon-musuem (10)

ที่มาของการแห่ผีตาโขนนั้น ชาวบ้านเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนางผุสดีไปเชิญเสด็จพระเวสสันดรกับพระ นางมัทรีกลับเมืองนั้น คนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดรได้ร่วมขบวนแห่แหนไป ด้วย ผีตาโขนก็คือภาพจำลองของคนป่าหรือผีป่าเหล่านั้นและมีการละเล่นสืบต่อกันจนถึงปัจจุบัน  ปัจจุบันงานแห่ผีตาโขนจึงจัดให้มีขึ้นในงานประเพณีบุญพระเวสและงานบุญบั้งไฟ ในช่วงเดือน 7  หรือราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ของทุกปี

peetakhon-musuem (9) peetakhon-musuem (22) peetakhon-musuem (18)peetakhon-musuem (2)peetakhon-musuem (20)peetakhon-musuem (7)peetakhon-musuem (11)

ผีตาโขนมีสองแบบ แบบแรกคือผีตาโขนเล็ก เป็นแบบที่เราเห็นชาวด่านซ้ายจำนวนมากแต่งร่วมไปในขบวนแห่ อีกแบบคือผีตาโขนใหญ่ เป็นหุ่นโครงไม้ไผ่สานขนาดใหญ่กว่าตัวคนประมาณ 2  เท่า เวลาแห่ต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่น แต่ละปีจะมีการทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2  ตัว เป็นเพศชาย 1  ตัว และหญิง 1 ตัว ส่วนหน้ากากผีตาโขนทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น คือหวดนึ่งข้าวเหนียวที่นำมาหักพับให้มีลักษณะคล้ายโครงหมวกเพื่อสวมครอบ ศีรษะได้ แล้วนำหน้ากากที่ทำจากส่วนโคนกาบมะพร้าวมาเย็บติดกับโครงหวด จากนั้นก็เจาะช่องตา ติดจมูก ติดเขา ตกแต่งให้สวยงามด้วยสีน้ำมันและเศษผ้าสีสันฉูดฉาดเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผีตาโขน คือดาบไม้และหมากกะแล่งลักษณะคล้ายกระดิ่งซึ่งจะแขวนไว้บริเวณบั้นเอว เมื่อผีตาโขนโยกตัวส่ายสะโพกจะเกิดเสียงดังเข้ากันเป็นจังหวะ

 

หลังจากที่เราชื่นชมและศึกษาวัฒนธรรม พื้นบ้านอย่างผีตาโขนกันแบบถึงแก่นแล้ว เราก็เดินทางไปยังพระธาตุศรีสองรัก  ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอด่านซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้น  พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้าง องค์พระธาตุสูง 19.19 เมตร ฐานกว้างด้านละ 10.89 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมไม้สิบสอง องค์ระฆังทรง  บัวเหลี่ยม  คล้ายพระธาตุพนม พระธาตุหลวง (เวียงจันทน์)  

พระธาตุศรีสองรัก
peetakhon-musuem (29)

พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นถวายเป็นอุเทสิกเจดีย์ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2103 เสร็จในปี พ.ศ.2106 พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระมหาจักรพรรดิ)และกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  สมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆเพื่อขยายอำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงเห็นตรงกันที่จะรวมกำลังเป็นพันธมิตร เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ทรงร่วมกันสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองอาณาจักร โดยการสร้างเจดีย์ขึ้นและให้ใช้ชื่อว่า  พระธาตุศรีสองรัก ซึ่งตั้งเด่นเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ มาจนถึงปัจจุบัน

ทางขึ้นไปสักการะพระธาตุศรีสองรัก
peetakhon-musuem (26) peetakhon-musuem (27) peetakhon-musuem (28)

นอกจากนี้ ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ชาวด่านซ้ายหรือ ลูกผึ้งลูกเทียน  จะร่วมกันจัดงานสมโภชพระธาตุศรีสองรักขึ้นโดยจะนำต้นผึ้ง (ประดิษฐ์จากโครงไม้ไผ่เป็นทรงหอปราสาทขนาดกว้าง 2 ฟุต สูง 2 ฟุตเศษ กรุรอบด้วยลวดลายงานแทงหยวกจากนั้นประดับด้วย ดอกผึ้ง  ซึ่งทำจากแผ่นเทียนกลม ๆ บาง ๆ ตากแดดแล้วจับเป็นกลีบ ตรงกลางติดดอกบานไม่รู้โรย หรือขมิ้นหั่นเล็ก ๆ ต่างเกสรดอกไม้สีสดใส) เทียนเวียนหัว (เทียนแท่งที่ฟั่นยาวพอคาดได้รอบศีรษะ) มาถวายองค์พระธาตุถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมจะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุศรีสองรักขึ้นทุกปี ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับองค์พระธาตุศรีสองรัก คือ ไม่ควรนำสิ่งของหรือดอกไม้สีแดงขึ้นบูชา ไม่ควรแต่งกายด้วยชุดสีแดงขึ้นไปนมัสการ เพราะองค์พระธาตุสร้างขึ้นเพื่อสัจจะและไมตรี สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของเลือดและความรุนแรง ไม่ควรกางร่ม สวมหมวกและสวมรองเท้าขึ้นไปบนพระธาตุ ไม่ควรนำเด็กต่ำกว่า 3 ปีขึ้นไปนมัสการ   ถ้ามีโอกาสได้ไปสักการะองค์พระธาตุศรีสองรัก  ก็อย่าลืมธรรมเนียมปฏิบัติ จะได้ไม่ไปเก้อกันนะครับผม 

peetakhon-musuem (31) peetakhon-musuem (33)

พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนตั้งอยู่ภายในวัดโพนชัย ตั้งอยู่ที่เลขที่  85 บ้านเดิ่น ถนนแก้วอาสา หมู่ที่3  อ.ด่านซ้าย  จ.เลย พระธาตุศรีสองรัก ตั้งอยู่ที่รัก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอด่านซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร

 

การเดินทาง สู่ อ.ด่านซ้าย  

เดินทางสะดวก  ตลอดเส้นทางเดินทางโดยรถยนต์ หากมาจากเพชรบูรณ์ ใช้เส้นทางหมายเลข 21 ผ่าน อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า จากนั้นเดินทางบนทางหมายเลข 203 สู่ อ.ด่านซ้าย  เดินทางมาจากพิษณุโลก ใช่ทางหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหมายเลข 2013 ผ่านอ.นครไทยมุ่งสู่ อ.ด่านซ้ายได้เลย ครับ

เชิญแสดงความคิดเห็น