ตลาดเช้าชาวเชียงราย

0

จะไปเที่ยวที่ไหนๆ ที่ขาดไม่ได้อย่างแน่นอนก็คือ ต้องตื่นแต่เช้ามาเดินเที่ยวตลาดยามเช้าครับ ถึงไม่ว่ายามคำคืนจะดึกแค่ไหนเราก็ยังตื่นมาเก็บภาพสวยๆ บรรยากาศชาวๆบ้านยามเช้ามาฝากกันครับ และวันนี้เราไปเที่ยวตลาดเช้าของชาวเชียงรายกัน ตลาดจะตั้งอยู่ในเมืองหน้าโรงเรียนเชียงรายวิทยาคมครับ ที่นี่ชาวบ้าน ชาวเขา มีของมาขายกัน เราเดินเที่ยวพร้อมกันเลยดีกว่าครับ

วันนี้จุดเด่นที่สุดที่สดุดตาดูเอเซียคือ “สาหร่ายสีเขียว” ที่เขาเรียกภาษาท่องถิ่นว่า “เทา” นิยมไปทานได้หลายอย่าง มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง ข้อมูลจากเว็บไซต์วิชาการ.คอม บอกเราว่า “ตะไคร่น้ำ ส่วนใหญ่ที่เรารู้จักและพบเห็นจะเป็นเทา (spirogyra) หรือสาหร่ายสีเขียว (แต่เคยอ่านเจอว่ามันรวมไปถึงสาหร่ายเกลียวทอง (spirulina ซึ่งเป็น cyanobacteria เลย) ” ตลาดเช้าที่เชียงรายมีขายสาหร่าสีเขียวมากจริงๆครับ

ส่วนของอื่นๆที่ขายที่ตลาดก็จะเป็นผักสดผลไม้สดๆ สีสดใสแบบที่เราถ่ายรูปมาให้ดูครับ ผลไม้เมืองเหนือที่มีเฉพาะอากาศหนาวๆ ผลไม้ที่มาจากประเทศจีนด้วย ชาวบ้านที่ขายก็เป็นทั้งชาวไทยและชาวเขา แบกะดินแบบดั้งเดิมขายกันเลยคนไม่ค่อยมากนัดสบายๆ

เดินไปเดินมาก็จะไปเจอพวกปลาแม่น้ำโขงบ้าง กบ เขียดมีบ้าง เอาเป็นว่าเดินดูพร้อมๆกัน ดูรูปไปเพลินๆเลยนะครับ

ขอขอบคุณขอมูลเพิ่มเติมเรื่องเทาจาก http://www.eduzones.com/knowledge-2-5-28773.html

สาหร่ายสีเขียว (Chlorophytes)

3.1 ลักษณะทั่วไป ลัดดา (2544) กล่าวถึงลักษณะของสาหร่ายสีเขียวไว้ดังนี้คือ คลอโรพลาสต์ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์ a และ b สารสีประกอบได้แก่ carotene (เบต้า-แคโรธีน) ส่วน xanthophyll ได้แก่ lutein, diatoxanthin และ neoxanthin สารสีรวมอยู่ใน คลอโรพลาสต์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน และมีมากกว่า 1 อัน สาหร่ายสีเขียวมีหรือไม่มีผนังเซลล์ ถ้าไม่มีก็จะมีเยื่อหุ้มเซลล์ pellicle, periplast หรือเป็นแบบ scale หนวด (flagella) มีจำนวน 1, 2, 4, 8, 16 เส้น ลักษณะของหนวดมีหลายแบบเช่นแบบ acronematic, pantonematic หรือแบบมีเกล็ดอยู่บนหนวด จุดตั้งต้นของหนวดอยู่ที่ apical cell หรือ subapical cell ความยาวอาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ อาหารสะสม (starch) ได้แก่ true starch หรือ paramylon (แป้งที่พบในพืชชั้นสูง) อยู่ในไซโตพลาส์ซึมหรือคลอโรพลาสต์ รูปร่าง (form) ของเซลล์มีหลายแบบ เช่น กลม รี กระสวย อยู่เป็นเซลล์เดี่ยวๆ โคโลนี บาง ชนิดเป็นเส้นสาย filament บางกลุ่มมี gullet อยู่ที่ด้านบนสุดของเซลล์ เช่น Euglenoids

3.2 การจำแนกหมวดหมู่ Christensen (1962, 1966) จำแนกหมวดหมู่ของสาหร่ายสีเขียว ตามรูปร่างลักษณะของเซลล์ ได้ 3 Class ได้แก่ Class Chlorophyceae, Class Prasinophyceae และ Class Euglenophyceae

3.2.1 Class Chlorophyceae สาหร่ายสีเขียว (green algae)ลักษณะสำคัญประจำคลาส (ลัดดา, 2544)สารสีสำหรับการสังเคราะห์แสงประกอบด้วยคลอโรฟิลล์ a และ b ส่วน carotene ได้แก่ แอลฟา-แคโรธีน, เบต้า-แคโรธีน และ แกรมม่า-แคโรธีน ส่วน xanthophyll ได้แก่ lutein, violaxanthin และ neoxanthin สารสีจะอยู่ในคลอโรพลาสต์ซึ่งมีหลายแบบเช่น cup-shape (รูปถ้วย) girdle-shape (รูปเกือกม้า) reticulate (เป็นตาข่าย) spiral (ขดเป็นเกลียว) stellate (แฉกรูปดาว) และ band-shape (เป็นแถบ) ผนังเซลล์ ส่วนใหญ่มี 2 ชั้น ชั้นในเป็นพวกเซลลูโลส ชั้นนอกเป็นพวกเพคติน บางชนิดเช่น Volvox เป็นโคโลนี ไม่มีเซลลูโลส มีแต่เพคติน Desmids สามารถผลิตสารเมือก (mucilaginous substances) มาห่อหุ้มเซลล์ หนวดพบเฉพาะพวกที่เคลื่อนไหวได้มีจำนวน 1, 2, 4, 8 เส้น หรือเป็นวงรอบเซลล์ มีลักษณะคล้ายแส้ (acronematic) ถ้ามีหนวดมากกว่า 2 เส้น ความยาวหนวดจะเท่ากัน ตำแหน่งของหนวดมี 2 ตำแหน่งคือ apical และ subapical cell อาหารสะสม ส่วนใหญ่คือแป้ง amylose และ amylopectin สะสมอยู่ใน pyrenoid ซึ่งอยู่บนคลอโรพลาสต์ ที่เหลือจะสะสมอาหารอยู่ในรูปน้ำมันและกลีเซอรอล

รูปร่างลักษณะ

สาหร่ายสีเขียวมีรูปร่างหลายแบบ มีทั้งเซลล์เดี่ยว (unicell) โคโลนี (colony) และเส้นสาย (filament) พวกที่เป็นเซลล์เดี่ยวหรือโคโลนีมีทั้งที่เคลื่อนไหวได้และไม่ได้ พวกที่เป็นเส้นสายมีทั้งที่แตกแขนงและไม่แตกแขนง สาหร่ายสีเขียวมีนิวเคลียส 1 อันหรือบางชนิดมีมากกว่า 1 พวกที่มีหนวดจะมีออร์กาเนลล์ที่มีสีเรียกว่าตา (eye spot or stigma) ทำหน้าที่รับแสงแล้วส่งไปยังหนวด

วัฏจักรชีวิต (Life cycle)  วัฎจักรชีวิตมี 2 แบบคือ แบบ แฮพลอนติก (heplontic type) การลดจำนวนโครโมโซมเกิดในระยะไซโกตแบ่งตัวเพื่อสร้างสปอร์ พบใน Order Volvocales และแบบ ดิบพลอนติก (diplontic type) การลดจำนวนโครโมโซมเกิดในระยะสร้างแกมีตพบในบางสกุลของ Order Chlorococcales

การสืบพันธุ์  การสืบพันธุ์ของสาหร่ายสีเขียวมีทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศกล่าวคือแบบอาศัยเพศ โดยการรวมกันของแกมีต ซึ่งมีทั้งแบบ isogamy, anisogamy และ oogamy ส่วนแบบไม่อาศัยเพศ มีทั้งการแบ่งเซลล์, สร้างสปอร์ และสร้าง akinete

เชิญแสดงความคิดเห็น