จวนโบราณเจ้าเมืองระนอง

0

ทริปนี้ดูเอเซียดอทคอมขอเปลี่ยนบรรยากาศพาไปเที่ยวชมและศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดระนองกันค่ะ โดยทางดูเอเซียดอทคอมของเรามีโอกาสมาเที่ยวที่จังหวัดระนอง แน่นอนค่ะว่า ถ้าเราจะไปเที่ยวถิ่นเค้า ถิ่นใคร เราก็ควรไปศึกษาประวัติศาสตร์หรือที่มาที่ไปของท้องถิ่นนั้น ๆ เอาไว้ด้วยก็ดีน่ะค่ะ โดยทริปนี้เราพาเพื่อน ๆ ไปศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองระนองกันที่ “จวนเก่าเจ้าเมืองระนอง” เพื่อศึกษาประวัติศาสตรที่มาของเมืองระนองแห่งนี้ โดยมี นาย โกศล ณ ระนอง ทายามรุ่นที่ 5 มาให้ความรู้ ความเข้าใจและที่มาที่ไปของต้นตระกูล ณ ระนอง

 

จังหวัด “ระนอง” หรือ เมืองแร่นอง เป็นจังหวัดซึ่งเปรียบเหมือนประตูสู่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก หรือฝั่งทะเลอันดามัน แม้ระนองจะเป็นเพียงจังหวัดเล็กๆแต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย โดยเ©พาะบ่อน้ำร้อนรักษะวาริน ที่เลื่องชื่อ อีกทั้งตัวจังหวัดระนองยังมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองที่สำคัญและน่าสนใจเป็นอย่างมาก สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญและผูกพันกับชาวระนองมานานแสนนานได้แก่ “สุสานเจ้าเมืองระนอง” ซึ่งเป็นที่ฝังศพของ”พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง)” เจ้าเมืองระนองคนแรก และต้นสกุล ณ ระนอง ที่ดินบริเวณสุสานประมาณ 450 ไร่ บนเขาระฆังทองนี้ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นสุสานประจำตระกูลเมื่อปี พ.ศ.2426


ตัวสุสานแห่งนี้สร้างเป็นสุสานแบบจีน มีรูปสลักลอยตัวลวดลายจีนที่สวยงาม และได้ขึ้นทะเบียนจากกรมศิลป์ ด้านหลังของสุสานมีลักษณะเหมือนกระดองเต่าหมายถึงความมีอายุยืน ด้านบนมีรูปสัญลักษณ์หยินหยางของจีน พื้นของสุสานปูด้วยศิลา 3 ชั้น สองข้างมีตุ๊กตาแกรนิตโบราณนำมาจากประเทศจีน ประกอบด้วยรูปขุนนางจีน 2 คน หมายถึงฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น คือ นักรบและนักปราชญ์ รูปม้า 2 ตัว หมายถึง บริวารข้าทาส รูปเสือ 2 ตัว หมายถึง อำนาจบารมี และรูปแพะ 2 ตัว หมายถึง ทรัพย์สมบัติ นอกจากนี้ด้านหน้าของสุสานยังมีเสาสูง 2 ต้น ซ้าย-ขวา สลักตัวอักษรจีน ต้นซ้าย มีความหมายว่า ระนองมีภูเขาสลับทับซ้อนสวยงาม ต้นขวา มีความหมายว่า ระนองมีน้ำเป็นสีทอง เป็นที่ทำมาหากิน มีภูมิประเทศสวยงาม และเป็นแหล่งกำเนิดอัจฉริยะบุคคล

 

นอกจากสุสานเจ้าเมืองระนองแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองระนองได้แก่ “จวนเจ้าเมืองระนอง” หรือ บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2420 ในสมัย พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ผู้สร้างคือ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง) บุตรชายคนที่ 2 ของคอซู้เจียง จวนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองระนอง ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว สิ่งสำคัญๆในจวนเจ้าเมืองระนองมี 3 แห่ง ได้แก่ กำแพง ทำด้วยอิฐสอปูนสูงประมาณ 5 เมตร ยาว 955 เมตร ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียง 700 กว่าเมตรเท่านั้น มีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บริเวณประตูด้านหน้ายังมีเรือนหอรบขนาดใหญ่ทำด้วยไม้ ซึ่งปัจจุบันไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว รอบๆกำแพงจะมีป้อมยื่นออกไปนอกกำแพงทุกด้านจำนวน 4 ป้อม ตลอดแนวกำแพงมีช่องสำหรับยิงปืนอยู่เป็นระยะ ความสำคัญของกำแพงป้อมจวนเจ้าเมืองนี้ สร้างขึ้นเพื่อล้อมรอบพื้นที่ชั้นในเพื่อเป็นที่อาศัยหลบภัยของราษฎร เ©พาะเวลาเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเช่นเดียวกับกำแพงเมืองอื่นๆ อีกหลายเมือง

 

ranong_house_31

บริเวณมุมกำแพงด้านทิศเหนือมีอาคารก่ออิฐชั้นเดียวสิบห้าห้อง เคยใช้เป็นอาคารสำนักงานของหน่วยราชการ เช่น ตำรวจ ไปรษณีย์ และหน่วยงานด้านการปกครองในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีอาคารเก้าห้อง อยู่บริเวณมุมกำแพงด้านทิศเหนือต่อทิศตะวันตกเป็นอาคารก่ออิฐ 2 ชั้น ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและโกดังเก็บสินค้า

 

จวนเจ้าเมืองและเรือนรับรอง สร้างด้วยอิฐสอปูน โครงบนทำด้วยไม้หลังคามุงกระเบื้อง ใช้เป็นเรือนรับรอง ต่อมาได้สร้างจวนเจ้าเมืองหลังใหม่อยู่ถัดจากเรือนรับรองหรือจวนเจ้าเมืองหลังเดิม ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากเสาและพื้นหิน บุตรหลานรุ่นหลังจึงได้สร้างศาลบรรพบุรุษไว้บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของจวนหลังใหม่เพื่อสักการบูชา ก่อนจะเข้าไปยังด้านในของศาล ด้านบนประตูทางเข้ามีป้ายแผ่นไม้สีทองเขียนสีดำอักษรจีน อ่านว่า เถา-หยัง แปลว่า ดวงตะวันอันสูงส่ง ตัวอักษรเล็กๆมุมด้านซ้ายมีความหมายว่า บ้านหลังนี้มากไปด้วยแก้วแหวนเงินทอง บ้านหลังนี้มากไปด้วยขุนนาง ลายสีทองบนแผ่นไม้มีรูปค้างคาวมากมายเพราะถือว่าค้างคาวเป็นสัตว์สูง และภายในมีรูปภาพตระกูล ณ ระนองตั้งแต่รุ่นแรกคือ คอซู้เจียง จนปัจจุบัน และประวัติคร่าวๆ อีกทั้งยังมีป้ายศิลาหน้าสุสานพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ซึ่งเคยถูกรถชนหักแล้วนำมาเก็บรักษาไว้ที่นี่ อีกหนึ่งส่วนที่น่าสนใจในบริเวณจวนเจ้าเมืองระนองก็คือ บ่อน้ำและบ่อพักน้ำร้อน บ่อน้ำทำไว้เพื่อใช้ภายในบริเวณจวนมี 7 บ่อ และที่สำคัญคือ บ่อพักน้ำร้อน ซึ่งก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กมีทางน้ำไหลเข้าและออกไปนอกกำแพง เนื่องจากมีความเชื่อของคนจีนว่า บริเวณพื้นที่อาศัยนั้นเป็นพื้นที่ร้อน จึงต้องทำทางน้ำไหลผ่านพื้นที่เพื่อให้พื้นที่มีความเย็น และผู้อยู่อาศัยจะอยู่เย็นเป็นสุข

 

อย่าลืมน่ะค่ะ หาก เพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวที่จังหวัดระนอง อย่าลืมแวะไปศึกษาประวัติศาสตร์ที่ “จวนเก่าเจ้าเมืองระนอง” กันซะหน่อย ได้ทั้งความรู้ความเข้าใจเมืองระนองอย่างลึกซึ้งแน่นอน ไว้ทริปหน้าหมุหินดอทอคมจะพาเพื่อน ๆ ไป กิน เที่ยว ที่ไหนอีก อย่าลืมติดตามกันต่อไปน่ะค่ะ

เชิญแสดงความคิดเห็น