อนุสาวรีย์ค่ายบางระจัน

0

bang-rachan (1) bang-rachan (2)

สถานการณ์สร้างวีรบุรุษเสมอ เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณแล้ว ที่นี่ก็เช่นกัน เป็นสถานการณ์ที่กำเนิดวีรบุรุษ วีรชนผู้กล้าแห่งแผ่นดินศรีอยุธยา  ที่มีความกล้าหาญ และเก่งกล้าในเชิงรบยิ่งนัก  ยอมสละแม้กระทั่งชีวิตเลือดเนื้อ จนกลายเป็นตำนานที่เล่าขาลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ตำนานบทนี้คือ วีรชนผู้กล้าเมืองสิงห์ แห่งค่ายบางระจัน ครับพี่น้อง เราต้องสู้ใช่ไหม ใช่ไหม สู้ตาย

ทริปนี้ดูเอเซีย.คอม พามาย้อนรำลึกถึงวีรชนผู้กล้านักสู้เมืองสิงห์บุรี ที่ค่ายบางระจันแล้วไปตามหาร่องรอยกันที่วัดโพธิ์เก้าต้น ตำนานบทนี้มีนักสู้ผู้กล้าหาญอย่างมากมายหลายท่านรวมถึงพระอาจารย์ธรรมโชติผู้ซึ่งมีวิชาอาคมและวิชาในเชิงรบในสมัยนั้นสุดยอดยิ่งนัก และลืมไม่ได้เลยคือเจ้ากล้าควายไทยผู้กล้าหาญสุดยอดควายไทยครับ  เราพาย้อยร้อยกันถึงที่ครับ การมาครั้งนี้ ทำไห้เรานึกถึงบรรพชนในสมัยก่อนที่เขาก่อร่างสร้างเมืองกันมา เขาต้องใช้ความกล้าหาญเหลือเกิน กว่าจะมาเป็นบ้านเมืองไห้เราได้อยู่อาศัยกันในทุกวันนี้ต้องสู้รบกับศัตรูที่เข้ามารุกรานอย่างมากมาย ต้อง พีชีพ กันไปเพื่อปกป้องบ้านเมืองไห้คงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ดูเอเซีย.คอม ขอน้อมรำลึกถึง พรรพชนทุกท่านด้วยความเคารพและศรัทธายิ่ง

bang-rachan (3) bang-rachan (4) bang-rachan (5) bang-rachan (6) bang-rachan (7)

ตามไปสักการะกราบไหว้อนุสาวรีย์ วีรชนผู้กล้า ที่ตั้งอยู่ภายในสวนสุขภาพอุทยานบางระจัน ซึ่งเป็นสวนรุกชาติเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจตรงตอนกลางมีอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน ตั้งตระหนาดอยู่บนแท่นเนินดินเป็นอนุสรณ์สถานที่งดงามยิ่ง  แสดงถึงวีรกรรมอันตรึงใจเป็นอย่างยิ่ง  ถึงแม้ว่าค่ายบางระจันจะแตกและต้องพ่ายแพ้ให้กับทัพพม่า แต่วีรกรรมครั้งนั้นได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์และจิตใจของประชาชนชาวไทยมาตลอด นามของวีรชนและค่ายบางระจัน  มักจะได้รับการยกย่องเสมอว่าเป็นตัวอย่างแห่งความกล้าหาญความสมัครสมานสามัคคีและความเสียสละแม้กระทั่งชีวิตเลือดเนื้อเพื่อประเทศชาติอันเป็นที่รัก อนุสาวรีย์สร้างขึ้นเมื่อ ปี 2519 เพื่อน้อมรำลึกถึง เมื่อเดือน 3 ปีระกา พุทธศักราช  2308 มีผู้กล้า คือนายอิน,นายจันนวดเขี้ยว,นายโชติ,นายดอก,นายทองแก้ว,นายทองเหม็น,ทานแท่น,นายเมือง,พันเรือง,ขุนสรรค์ ไดเป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้กับทัพพม่าที่บ้านบางระจัน มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม บำรุงขวัญ เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืน ชั่วกาลนาน บนอนุสาวรีย์จะมีรูปปั้นของวีรชนผู้กล้าทั้งหมดศิลปะการปั้นสวยงามเหมือนจริงครับ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ กองทัพพม่าได้ออกราดตระเวนปล้นสะดมข่มเหงชาวไทยฉุดคร่าอนาจาร เผาบ้านเรือน ทำให้ชาวสิงห์บุรีโกรธแค้นยิ่งนัก ได้รวบรวมสมัครพักพวกต่อสู้กับทหารพม่าจนเกิดเป็นค่ายบางระจันขึ้นโดยนายอิน,นายจันนวดเขี้ยว,นายโชติ,นายดอก,นายทองแก้ว,นายทองเหม็น,ทานแท่น,นายเมือง,พันเรือง,ขุนสรรค์เป็นผู้นำใรการรบ   พวกชาวบ้านบางระจันได้สู้รบกับทหารพม่าถึงแปดครั้ง จนในครั้งสุดท้ายทหารพม่าต้องใช้ปืนใหญ่ยิงถล่ม ชาวบ้านบางระจันได้ขอปืนใหญ่ไปทางกรุงศรีอยุธยาแต่ไม่เป็นผล ชาวบ้านจึงรวมใจกันหล่อปืนใหญ่ใช้เอง แต่ด้วยความที่ไม่ชำนาญในการทำ  ปืนใหญ่จึงร้าวและแตกไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป จึงเป็นที่มาของนักรบปืนแตกแห่งแผ่นดินศรีอยุธยาครับ   แต่กระนั้นชาวบ้านบางระจันก็ต่อสู้กับทหารพม่าอย่างไม่คิดชีวิต จนในที่สุด น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟที่กำลังแรงกล้าครับ ค่ายบางระจันก็ถูกทำลายลงด้วยน้ำมือทหารพม่า ในวัน จันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309รวมเวลาที่ชาวบ้านบางระจันรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือนเศษ  นี่แหละครับคือตำนานและประวัติศาสตร์ที่ยากจะลืมเลือนของพวกเราชาวไทย และจะยังคงอยู่อย่างนี้ตลอดไปตราบนานเท่านาน   ทำเอาดูเอเซีย.คอม รู้สึกรักชาติยิ่งชีพ มากขึ้นกว่าเดิม สุดยอดครับเหล่านักรบผู้กล้าอยู่ในหัวใจคนไทยทุกคนแน่นอน

หลังจากกราบไหว้สักการะวีรชนผู้กล้าแห่งค่ายบางระจันเรียบร้อย เราก็เข้ามายังวัดโพธิ์เก้าต้น  ซึ่งใช้เป็นที่ตั้งค่ายใช้ในการรบกับพม่าของชาวบ้านบางระจัน  ซึ่งด้านในมีศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบางระจันคือกุฏิของพระอาจารย์ธรรมโชติที่ศักดิ์สิทธิ์และมีบ่อน้ำมนต์ ของพระอาจารย์ธรรมโชตินาดใหญ่ พร้อมกับเป็นสถานที่ศูนย์รวมวิญญาณวีรชนแห่งค่ายบางระจันทั้งหมด ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ในการรบของค่ายบางระจัน ที่ค้นพบภายในวัดโพธิ์เก้าต้น แห่งนี้  เดี๋ยวเราเข้าไปตามดูกันเลยครับ
bang-rachan (40) bang-rachan (45) bang-rachan (41) bang-rachan (44)

พระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นพระที่มีอาคมชั้นเลิศ และชำนาญเรื่องเกี่ยวกับยาสมุนไพร พระองค์นี้เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจให้ของเหล่านักรบแห่งค่ายบางระจัน  พระอาจารย์ธรรมโชติเดิมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบางนางบวช เมืองสุพรรณบุรี พอเกิดสงคราม ชาวบ้าน ศรีบัวทองโดยมีนายเมืองเป็นผู้ไปนิมนต์ท่านมาอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้นแห่งนี้

ในสมัยที่พม่ายกทัพเข้ามาประชาชนต่างหนีเอาตัวรอดและเข้ามาอยู่รวมตัวกันที่วัดโพธิ์เก้าต้นเป็นจำนวนมากทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมาก ความต้องการยาสมุนไพรและน้ำมนต์ของพระอาจารย์ธรรมโชติก็มากขึ้นด้วย พระอาจารย์ท่านไม่มีภาชนะที่ใหญ่พอกับความต้องการ ของชาวบ้านโดยเฉพาะเหล่านักรบที่ต้องการน้ำมนต์เพื่อเป็นกำลังใจในการรบ พระอาจารย์ท่านจึงทำน้ำมนต์ใส่สระขนาดใหญ่ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของชาวบ้าน น้ำในสระจึงมีความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน สุดท้ายไม่มีใครทราบว่าท่านมรณภาพ ในวัดโพธิ์เก้าต้นหรือว่าหลบหนีไปได้

bang-rachan (34) bang-rachan (36)bang-rachan (35) bang-rachan (37) bang-rachan (38) bang-rachan (33)

บริเวณกุฏิพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นสถานที่ ที่ประชาชนเข้ามากราบไหว้บูชาขอพรบนบานศาลเกล่า ศักดิ์สิทธิ์มากครับเห็นประชาชนที่เข้ามาหาบน้ำลงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์กันเต็มไปหมดเลย ก็คือเขามาขอพรแล้วถ้าได้ตามประสงค์ก็จะมาแก้บนโดยการหาบน้ำลงบ่อ คนละกี่หาบก็ว่ากันไป ดูเอเซีย.คอม ขอพรว่า ขอให้คนไทยสามัคคีกันเหมือนชาวบ้านบางระจันแห่งนี้ ชาติไทยคงเจริญขึ้นเยอะครับ(พูดมากอีกแล้วเรา)

ด้านข้างกุฏิเป็นศาลศูนย์รวมวิญญาณ วีรชนผู้กล้าแห่งค่ายบางระจันทั้งหมด  ไห้พวกเราไก้สักการบูชา และย้อนรำลึกถึงพวกเขาเหล่านั้น กันทุก ๆคน และขาดไม่ได้เลยคือ เจ้ากล้าควายไทยผู้กล้าหาญครับ  บริเวณตรงนี้ถือว่าเป็นที่รวมตัวกันของชาวบ้านบางระจัน เพราะก่อนออกรบต้องมาขอพรจากพระอาจารย์ธรรมโชติก่อนเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ภายในวัดร่มรื่นและเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่ เรียงรายอยู่เต็มพื้นที่  มีศาลศักดิ์สิทธิ์ให้กราบไหว้เช่น ศาลปู่ทองเหม็น,ศาลปู่จันหนวดเขี้ยว,ศาลพระเจ้าตากสิน,ศาลพระยาพิชัยดาบหัก เชิญกราบไหว้นมัสการกันตามอัธยาศัยครับทุกท่าน

ตรงบริเวณสนามด้านนอกจัดเป็นศูนย์อาหารเครื่องดื่มเล็ก ๆ และของที่ระลึกต่าง ๆที่มีไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวแบบชาวบ้านและเป็นกันเอง ที่จอดรถสะดวกสบายครับ

ตามไปดูศาลานิทรรศการประวัติศาสตร์ชาวบ้านบางระจัน  ทางด้านในจัดแสดงประวัติและรูปภาพของผู้นำการรบแห่งค่ายบางระจัน ทุกท่านไว้ มีรูปภาพเก่าหลายชิ้นให้เราได้ศึกษา มีรูปต้นโพธิ์ต้นสุดที่เหลืออยู่จากเก้าต้น  เขาไปในห้องจัดแสดง จะมีอาวุธต่าง ๆ ที่ชาวบ้านบางระจัน ใช้ในการรบกับทหารพม่า เช่น  ดาบ,หอก,ปืน,มีด,กระสุนปืนใหญ่(ดาบขนาดใหญ่และยาวมาก  ๆ ถือได้ไงสุดยอดคน) มีของเก่าของโบราณอีกหลายชิ้นที่ค้นพบในวัดโพธิ์เก้าต้น และที่สำคัญที่สุดคือกระดูกวีรชนค่ายบางระจันที่ขุดพบจัดแสดงให้เราดูอีกด้วย เชิญเดินชมคันหาประวัติศาสตร์บ้านบางระจันกันได้ตามสบาย  ถัดออกมาด้านนอกศาลาเป็นคลองน้ำ จุดนี้คือจุดที่ทหารพม่าบุกค่ายบางระจันโดยข้ามน้ำมาตรง บริเวณศาลาแสดงนิทรรศการ  การเข้ามาที่วัดโพธิ์เก้าต้นแห่งนี้ทำให้เรารู้จักประวัติศาสตร์วีรชนผู้กล้าแห่งค่ายบางระจันได้มากขึ้นจริง ๆครับพี่น้อง

bang-rachan (11)bang-rachan (31) bang-rachan (17) bang-rachan (14)bang-rachan (13) bang-rachan (12)bang-rachan (29) bang-rachan (27) bang-rachan (26) bang-rachan (24)bang-rachan (18) bang-rachan (19) bang-rachan (21)

ที่วัดโพธิ์เก้าต้นแห่งนี้ถือเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกแห่งหนึ่งครับ สมควรที่เราชาวไทยจะเข้ามาสัมผัส สักการะ บูชาและรำลึกถึง เพื่อที่จะได้นำเรื่องราวเหล่านี้ไปเล่าให้กับลูกหลานจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป  ประวัติศาสตร์บทนี้จะได้อยู่คู่กับชาติไทยและหัวใจของคนไทยทุกคนชั่วกัลป์ปาวสาร

อนุสาวรีย์และวัดโพธิ์เก้าตัน ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญของเมืองสิงห์บุรี เช่น วัดพระนอนจักรสีห์ ,วัดพิกุลทองอุทยานแม่ลา,เมืองโบราณบ้านคูเมือง เชิญแวะชมกราบไหว้กันต่อตามสบายครับ อนุสาวรีย์ค่ายบางระจันและวัดโพธิ์เก้าต้น ตั้งอยู่ที่ ต.บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

การเดินทาง

อยู่ใกล้กรุงเทพ เดินทางจากกรุงเทพ โดยใช้ถนนสายเอเชีย ผ่านอยุธยา เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมืองสิงห์บุรี  ข้ามสะพานแม่น้ำเจ้าพระยาเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 3032 ตรงไปยังอำเภอค่ายบางระจัน ก่อนเข้าตัวอำเภอ วัดโพธิ์เก้าต้นจะอยู่ด้านซ้ายมืออนุสาวรีย์จะตั้งอยู่ทางขวามือ ของท่าน มีป้ายบอกตลอดทาง ครับรับรองไม่หลงทางแน่นอน  หรือโทรไปที่ศูนย์ท่องเที่ยวสิงห์บุรีสอบถามข้อมูลก่อนเดินทาง 036-507135

เป็นอย่างไรครับทริปนี้ดูเอเซีย.คอม พามาย้อนรำลึกถึงประวัติศาสตร์เมืองสิงห์บุรีของไทย คงรักชาติไปตาม ๆกัน เอาเป็นว่า ใครที่มาสิงห์บุรีอย่าลืมเข้ามาสักการะและศึกษาประวัติผู้กล้าแห่งค่ายบางระจันกันนะครับ 

เชิญแสดงความคิดเห็น