เก็บแร่เหล็กน้ำพี้ ณ บ่อพระแสง บ่อพระขรรค์

0

เพื่อนๆ รู้จักเหล็กน้ำพี้กันมั้ยครับ ?

เหล็กน้ำพี้ โลหะมหัศจรรย์อานุภาพ ที่เค้าบอกว่ามีพลังในตัว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ทุก ๆ อณูสามารถป้องกันคุณไสยและสิ่งเลวร้ายที่มองไม่เห็นด้วยตาดำได้ ทริปนี้ดูเอเซียจะพาไปดู..เหล็กน้ำพี้ ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ กันครับ

leknamphi

บ่อเหล็กน้ำพี้ เป็นแหล่งสินแร่เหล็กตามธรรมชาติ อยู่ในตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ 56 กิโลเมตร โดยเป็นบ่อเหล็กกล้า มีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ และปรากฏเตาถลุงเหล็กโบราณนับพัน ๆ แห่งในพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร

leknamphi (3) leknamphi (7) leknamphi (8)

ภายในบริเวณมี  พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้ รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติเหล็กน้ำพี้ โดยจัดแสดงและจำลองให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอนการตีเหล็กน้ำพี้ ตั้งแต่การขุดแร่เหล็กน้ำพี้จนตีเป็น ดาบที่มีความแกร่งและความคมเป็นเลิศ ดาบน้ำพี้จึงเป็นอาวุธคู่กายของขุนศึกและนักรบไทยในสมัยโบราณตลอดมา บริเวณโดยรอบตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับ มีร้านขายของที่ระลึกและเครื่องรางที่ทำจากเหล็กน้ำพี้ รวมถึงร้านขายของว่างและ น้ำดื่มไว้บริการ

บ่อที่สำคัญและสงวนใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ มีอยู่ 2 บ่อ คือ บ่อพระแสง และ บ่อพระขรรค์ มีการนำแร่เหล็กจากบ่อเหล็กน้ำพี้ไปถลุงทำอาวุธเพื่อใช้ในการศึกสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาตร์มากมายถึงความสำคัญของเหล็กน้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าเหล็กจากแหล่งแร่เหล็กน้ำพี้มีความแข็งแกร่ง ความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์ในตัวโดยจัดให้เหล็กน้ำพี้อยู่ในโลหะธาตุตระกูลเดียวกับ เหล็กไหล

ใช้ไม้ยาวๆ ยื่นลงไปในบ่อเหล็กคล้ายๆ กับเบ็ดตกปลา เพื่อให้แร่เหล็กเกาะแม่เหล็กขึ้นมาได้leknamphi (9) leknamphi (11) leknamphi (12)
แบบนี่ไงครับ เหล็กน้ำพี้เกาะกับแม่เหล็กขึ้นมาแล้วleknamphi (14)

ปัจจุบันบ่อเหล็กน้ำพี้ได้รับงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสร้างอาคารและปรับภูมิทัศน์ โดยจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้

บ่อพระแสงและบ่อพระขรรค์
           บ่อพระแสง เป็นบ่อดินขนาดใหญ่ ลึก 10 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร เป็นบ่อที่มีคุณภาพของสินแร่ดีกว่าบ่ออื่นๆ ในบริเวณแหล่งแร่น้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อนี้สงวนไว้สำหรับทำพระแสงดาบถวายสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น จึงได้ชื่อว่า “บ่อพระแสง”
          บ่อพระขรรค์ เป็นบ่อดินขนาดย่อมกว่าบ่อพระแสง มีความลึกประมาณ 7 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 เมตร บรรพบุรุษได้สงวนบ่อนี้ไว้เพื่อนำเอาเหล็กจากบ่อนี้ไปถลุงทำพระขรรค์ถวายพระมหากษัตริย์เท่านั้น จึงเรียกกันมาแต่โบราว่า “บ่อพระขรรค์”
         บ่อขุดสินแร่เหล็กทั้งสองบ่อนี้ เป็นบ่อเหล็กที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณแหล่งแร่เหล็กน้ำพี้ และเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด และเป็นบ่อเหล็กที่มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย
            ภายในศาลเจ้าพ่อบ่อเหล็กน้ำพี้ ตั้งรูปเจ้าพ่อ 3 ตน เชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์รักษาเหล็กน้ำพี้มาตั้งแต่โบราณ

leknamphi (15)

ความเชื่อเรื่องอำนาจศักดิ์สิทธิ์
leknamphi (17)เหล็กจากบ่อเหล็กน้ำพี้เป็นเหล็กที่มีความแกร่ง มีความเหนียวและเกิดสนิมยาก จากตำราพิชัยสงครามได้กล่าวไว้ว่า เหล็กน้ำพี้เป็นโลหะมหัศจรรย์อานุภาพ มีพลังในตัว มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ทุก ๆ อณูสามารถป้องกันคุณไสยและสิ่งเลวร้ายที่มองไม่เห็นด้วยตาดำได้ ปัจจุบันแร่เหล็กน้ำพี้ ถือว่าเป็นวัตถุมงคล โดยเชื่อกันมาแต่โบราณว่าเหล็กน้ำพี้อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเหล็กไหล เมื่อจะนำไปใช้งานต้องตั้งศาลบวงสรวงขออนุญาตจากเจ้าพ่อที่ดูแลปกปักษ์รักษาเสียก่อน จึงจะทำการขุดหรือตัดเหล็กไปใช้งานได้

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวน้ำพี้และผู้ศรัทธาต่างเชื่อถือกันมาโดยตลอดด้วยความศรัทธาว่า เหล็กน้ำพี้มีเจ้าพ่อปกปักษ์รักษาดูแลอยู่ หากผู้ใดจักนำสินแร่เหล็กน้ำพี้ไปใช้ ต้องทำการตั้งศาลบรวงสรวงสักการะและเปล่งวาจาขอต่ออำนาจศักดิ์สิทธิ์ก่อน

ตอนนี้ทางพิพิธภัณฑ์ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ฟรีทุกวัน และให้เราได้มีโอกาส ตกแร่เหล็กน้ำพี้ ทั้งสองบ่อ เพื่อเก็บไปไว้บูชาที่บ้านด้วยนะครับ นอกจากจะได้ชมความอัศจรรย์และความสวยงามของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้แล้วยังได้ ของดีติดไม้ติดมือกลับไปด้วย แบบนี้พลาดไม่ได้แล้วนะครับ

leknamphi (19) leknamphi (20) leknamphi (21) leknamphi (22) leknamphi (23) leknamphi (24)

การเดินทางไปบ่อเหล็กน้ำพี้

ห่างจากตัวจังหวัด 56 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และเข้าทางหลวงจังหวัด 1245

 

การเดินทางไปจังหวัดอุตรดิตถ์

รถยนต์

จังหวัดอุตรดิตถ์ห่างจากกรุงเทพฯ 491 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปได้ 2 เส้นทาง คือ

  1. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ จากนั้นใช้เส้นทาง 117 เข้าพิษณุโลก และทางหมายเลข 11 จนถึงอุตรดิตถ์
  2. ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ – สิงห์บุรี แล้วขับเลยไปถึงอำเภออินทร์บุรี (ทางหลวงหมายเลข 311) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 11 (สายอินทร์บุรี-ตากฟ้า) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) เลี้ยวซ้ายไปอีก 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 11 จนถึงอุตรดิตถ์

รถโดยสารประจำทาง

บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสาร ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถยนต์โดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศ จากกรุงเทพฯ สู่อุตรดิตถ์ทุกวัน

เชิญแสดงความคิดเห็น