วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (Temple of Dawn)

0

วันนี้พาไปเข้าวัด ทำบุญเสริมบารมีให้ตัวเองซะหน่อย แล้ววัดที่ดูเอเซียจะพาไปชมนี้ ก็คือ วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร นอกจากเราจะได้ทำบุญแล้ว ยังจะได้เป็นความยิ่งใหญ่ สวยงามของวัดที่เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานครอีกแห่งหนึ่ง ที่ได้รับความนอยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก เพราะใครที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมที่วัดแห่งนี้แล้ว ก็จะต้องนำความประทับใจกลับไปบอกต่อๆกันอย่างแน่นอน

watarun (32)

หากเราเรียกว่าวัดอรุณ นักท่องเที่ยวต่างชาติคงจะทำหน้างงๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวต่างชาติจะเรียกวัดแห่งนี้ว่า Temple of Dawn ต่อไปหากมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาถามหา Temple of Dawn หวังว่าเพื่อนๆคงจะรู้จักกันแล้วนะครับ

watarun (33) watarun (34) watarun (9)

วัดอรุณฯแห่งนี้สามารถเข้ามาได้ทั้ง 2 ทางบกและทางน้ำ แต่วันนี้ผมมาทางน้ำแล้วกันครับ โดยการโดยสารเรือข้ามฟากมาจากฝั่งท่าเตียน ค่าโดยสารคนละ 3 บาท เท่านั้นครับ ทั้งสองฝั่งก็จะมีจุดจำหน่ายตั๋วให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ราคาคนละ 50 บาท แต่ไม่ต้องห่วงครับ สำหรับคนไทยไม่เสียค่าบริการเลย ฝั่งทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีร้านขายของที่ระลึก และมีร้านให้เช่าชุดไทย พร้อมบริการถ่ายรูปลงกรอบรูปให้นักท่องเที่ยวด้วยครับ แต่ฝั่งถ.อรุณอัมรินทร์ จะค่อนข้างเงียบแล้วของขายก็ไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ จะมีก็แต่นักท่องเที่ยวที่มาโดยรถยนต์ หรือรถตู้ นอกจากนั้นก็มักจะเลือกทางเดินทางทางเรือมากกว่าเพราะจะได้เห็นวัดอรุณฯแบบไกล เต็มๆตา และยังเก็บภาพในมุมที่สวยงามกว่า

การแต่งกายเข้าวัดนี้ ก็เหมือนๆกับการไปวัดอื่นครับ ก็คือ ไม่นุ่งกางเกง หรือกระโปรงสั้นๆ สวมเสื้อมีแขน แต่ถ้านักท่องเที่ยวที่ไม่ได้เตรียมตัวมา ทางวัดก็มีบริการให้เช่าผ้านุ่งได้ครับ

watarun (26)

20 บาทสำหรับคนนุ่งสั้นมา
watarun (14) watarun (16) watarun (13)

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น “วัดมะกอกนอก” เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ “วัดมะกอกใน” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลางพระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา

นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐาน

อุโบสถwatarun (29)
พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก เป็นพระประํธาน
watarun (31)
watarun (30) watarun (28)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง ไว้ในมณฑป  และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง  ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดพระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์)แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทานพระนามวัดว่า “วัดอรุณราชธาราม”

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรดให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้น จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว ฐานกลมวัดโดยรอบได้ ๕ เส้น ๓๗ วา ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔

watarun (10) watarun (22) watarun (23) watarun (24) watarun (27) watarun (4)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง ทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์ทรงพระราชทานนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก” และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า”วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมด โดยได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการบูรณะ และโปรดเกล้าฯให้นำเงินที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่าด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่เป็นตึกใหญ่แล้วพระราชทานนามว่า “โรงเรียนทวีธาภิเศก” นอกจากนั้นยังได้โปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์องค์ใหญ่ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใหญ่รวม ๓ งานพร้อมกันเป็นเวลา

๙ วัน คือ งานฉลองพระไชยนวรัฐ งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือ มีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ งานฉลองพระปรางค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ในวันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๐ และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้

watarun (1) watarun (2) watarun (3) watarun (6)watarun (8)

ชาวต่างชาติมีค่าเข้าคือ 50 บาทwatarun (7)

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์และฉลองวัดและพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ครั้นถึงรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

มีร้านกาแฟในวัดด้วยนะครับ

watarun (19) watarun (20) watarun (21) watarun (17) watarun (18)

การเดินทาง

วัดอรุณราชวราราม ตั้งอยู่ที่ 34 ถ.อรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ สามารถเดินทางโดย

รถประจำทางสาย 19 57 83 ลงป้ายวัดอรุณราชวราราม

ทางเรือข้ามฟากจากท่าเตียน หน้าวัดโพธิ์มายังวัดอรุณฯ หรือนั่งเรือนำเที่ยวมาจากวัดระฆังโฆสิตารามเป็นเส้นทางเรืออีกทางหนึ่ง ต้องการสอบถามเส้นทางรถเมล์ โทร 184 เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 05.30 – 19.30 น. โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่วัดอรุณราชวราราม โทร 02-8911149

เชิญแสดงความคิดเห็น