สะพานพุทธ

0

“สะพานพุทธ” กับช่วงเวลาสุนทรีย์ของวัยมันส์

“สะพานพุทธ” ถือเป็นแหล่งช้อปปิ้งยามค่ำคืน อันดับต้นๆ ของคนกรุงเทพฯเลยก็ว่าได้ เพราะสถานที่แห่งนี้ถือได้ว่า เป็นแหล่งช้อปปิ้งยามค่ำคืนแห่งแรกๆ ของเมืองกรุงเทพฯ ผมจำไม่ได้แล้วว่า กรุงเทพมหานครมีตลอดแห่งนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่  แต่เท่าที่จำได้สถานที่แห่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยตอนผมเรียนมัธยมแล้ว แต่สมัยนั้นสะพานพุทธไม่ใช่ตลาดช้อปปิ้ง แต่เป็นสถานที่ที่ชุมนุมของนักเรียนหลายสถาบัน ไม่ว่าจะเป็น สวนกุหลาบวิทยาลัย หรือ วิทยาลัยเพาะช่าง สำหรับสองโรงเรียนนี้จะมีเยอะเป็นพิเศษ แต่ก็มีสถาบันอื่นอีกด้วย เนื่องจากตอนนี้ที่แห่งนี้ เป็นที่นั่งพัก กินลมชมวิว หรือชิวๆ กันได้ตามประสาวัยรุ่นนั่นเองแต่ในช่วงหนึ่ง ทางรัฐบาลได้สั่งย้าย ตลาดคลองหลอดมาไว้ที่นี่ ก็เลยทำให้ที่นี่กลายเป็นตลาดนัดย่อม ที่อาจจะมีนักเรียน นักศึกษา ไปขายงานศิลปะกันอยู่บ้างในช่วงแรกๆ แต่พอนานเข้า จากเล็กกลายเป็นใหญ่ จากคนไม่รู้จักก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากถ้าเทียบสมัยก่อนกับตอนนี้ ถ้าจะหาแหล่งเดินเล่น ช้อปปิ้ง ยามค่ำคืนมันก็ยากอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่ในปัจจุบันที่มีตลาดเปิดท้ายตามห้างเป็นว่าเล่นแบบนี้ และ “สะพานพุทธ” ก็เลยกลายมาเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่คนเริ่มหลั่งไหลเข้ามาจนถึงปัจจุบันแต่อย่างที่รู้ๆ กันดีว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเปลี่ยนไปเยอะจากสมัยก่อน  ไม่ว่าจะเป็นสภาพสิ่งแวดล้อมหรือแม้แต่ลักษณะของผู้คน  ถ้าจะพูดถึงสิ่งแวดล้อมที่ “สะพานพุทธ” สถานที่แห่งนี้ก็ยังเป็นสะพานที่คนนิยมมาเดินเล่น และดื่มด่ำบรรยากาศริมน้ำอยู่เหมือนเดิม ต้นไม้ใบหญ้าก็ยังปกคลุมหนาบ้าง ซึ่งถือได้ว่ายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่สภาพของผู้คนที่นี่เปลี่ยนไปเยอะเลยครับ จากที่แต่ก่อนที่ผมบอกว่าเป็นแค่ที่นั่งกินลมชิมวิวของนักศึกษา ตอนนี้นักเรียน นักศึกษาก็ยังมาเหมือนเดิม แต่พฤติกรรมแย่กว่าเดิม เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่มาที่นี่ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์ในการมาเดินช้อปปิ้งแล้ว พวกเค้ายังมาเพื่อเกาะกลุ่มมั่วสุมกันบ้าง เชื่อมั้ยว่าล่าสุดที่ผมไปมา เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานั้น ผมเห็นเด็กสาว เด็กหนุ่ม อายุราวๆ 13-15 ปี  แต่งตัวแปลกๆ เดินอยู่บริเวณนั้นมากมายจนน่าตกใจ ทั้งบนสะพานพุทธ และ ในตลาดช้อปปิ้ง บางคนก็ดื่มสุรา บางคนก็สูบบุหรี่บ้าง เห็นแล้วผมบอกได้เลยคำเดียวว่า สลดใจมากๆ  ภาพของสะพานพุทธสมัยก่อนมันย้อนกลับมาในสมองของผม แล้วก็บอกตัวเองว่า มันไม่มีอีกแล้วครับบรรยากาศที่ผมได้กล่าวไปนี้ อาจจะสร้างความสลด หดหู่ ให้กับผู้อ่าน แต่ผมเพียงแค่อยากสะท้อนให้สังคมเห็นว่า มีอะไรบ้างที่เราจะช่วยกันได้  เพราะส่วนใหญ่ของผู้ที่เดินทางมาที่ “สะพานพุทธ” แห่งนี้ ผมว่า มีเด็กพวกนี้ประมาณ 70 %  อีก 30 % เป็นผู้ใหญ่บ้าง ผสมกับเจ้าหน้าที่และพ่อค้า แม่ค้า แต่นอกจากภาพในด้านที่ผมได้กล่าวไปแล้วนั้น ที่นี่ก็ยังมีความน่าประทับใจ เช่นกัน  สถานที่แห่งนี้ถือเป็นแหล่งค้าขาย หรือช้อปปิ้งยอดนิยม สินค้าของที่นี่ก็นำสมัยเหมือนที่ช้อปปิ้งทั่วไป แต่อาจจะมีเอกลักษณ์ส่วนตัวที่เห็นแล้วต้องร้องออกมา เลยว่า ต้องที่สะพานพุทธเท่านั้น อย่างการวาดภาพศิลปะ ที่นี่เค้ามีศิลปิน วาดภาพมารับจ้างวาดอยู่เป็นประจำ อยากได้ภาพแนวไหนบอกเค้า ก็สามารถเนรมิตให้คุณได้ ทุกครั้งที่ผมไปผมก็จะไปนั่งดูเค้าวาดรูปแต่ละรูป มันต้องใช้เวลานะ กว่าจะได้แต่ละรูปมา อย่างน้อยมันก็ทำให้ได้รู้ว่า ถ้ามาสะพานพุทธเราก็ต้องมาวาดรูปแต่กิจกรรมดีๆ ก็ไม่ใช่แต่เพียงวาดรูปหรอกครับ แนะนำเลยว่า หากอยากเที่ยว สะพานพุทธให้สนุก ต้องไปให้ทั่ว ขึ้นไปบนสะพานพระพุทธยอดฟ้า (สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์) ถ่ายรูปเสร็จ ลงมาด้านลานสวนสาธารณะ ดูเด็ก สเก็ต โชว์ลีลาการเล่นสเก็ตบอร์ด แวะถ่ายรูปสักนิด แล้วมาเดินช้อปปิ้งต่อก่อนกลับ ระหว่างทางก็หาซื้อ ร้านขายไข่ปลาหมึกทอด ที่ “สะพานพุทธ” ถือว่าเป็นที่เดียวที่มี อาหารชนิดนี้เยอะที่สุด แทบทุกระยะ 5 เมตรเลยครับ กลิ่นของมันจะโชยมาให้คุณได้ดอมดมตลอดระยะทางที่คุณเดินอยู่ที่นี่เลยก็ว่าได้ เค้าว่ากันว่า มาสะพานพุทธไม่มากินลาหมึกไข่ผัดเหมือนมาไม่ถึง แต่สำหรับคนที่เค้ามาบ่อยเค้าบอกว่า กินจนเบื่อแล้วทริปนี้ผมขอทิ้งท้ายด้วยประวัติของ “สะพานพุทธ” ที่น่าสนใจ “สะพานพระพุทธยอดฟ้า” หรือชื่ออย่างเป็นทางการ “สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์”  เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธน ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสที่สถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี และมีพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร  ลักษณะของสะพาน เป็นโครงเหล็กขวางยึดข้างบนมีบาทวิถี 2 ข้าง ตัวสะพานแบ่งเป็น 3 ตอน มีความยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ 7.50 เมตร ตอนกลางยกขึ้นให้เรือผ่านด้วยแรงไฟฟ้าเปิดเป็นช่องกว้าง 60 เมตรการเดินทาง

เวลาที่จะมา”สะพานพุทธ” ถ้าเอารถมา แนะนำให้มาในช่วงก่อนค่ำ ที่นี่จะไม่ค่อยมีรถหนาแน่เท่าไหร่ จะมีที่รับฝากรถอยู่ตามทาง ให้สังเกตดูเอา แต่ถ้ามาดึกล่ะก็ ให้หาที่จอดได้ตามริมฟุตบาท  ต้องดุด้วยนะว่า ที่ไหนเค้ามีให้จอดบ้าง เพราะบางที่ถ้าจอดไว้กลับมาอาจจะเจอใบสั่งแดงเถือกอยุ่หน้ากระจกรถก็เป็นได้ เรื่องนี้ต้องใช้วิจารณญาณ บอกได้คำเดียวว่าเสี่ยงเอ แต่ถ้าให้สะดวกจริงๆ แนะนำรถเมล์ครับ สะดวกมาก มาถึงลงเลย เดินเสร็จเมื่อยก็นั่งแท็กซี่กลับ สบายใจกว่าเยอะเลย ไม่เปลืองน้ำมันด้วย ช่วงนี้ยิ่งเศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีอยู่

สายรถเมล์ที่ผ่านได้แก่ สาย 73, 3, 5, 6, 8, 10, 43, 53,  แต่สำหรับคนที่ไม่กลัวน้ำ ก็มาทางเรือก็ได้ครับ แต่ว่าสำหรับทางนี้อาจจะจำกัดเวลานิดนึง ต้องมาเร็ว กลับเร็ว ซึ่งเรืออาจหมดตอน หัวค่ำ แต่ตลาดยังไม่ทันเปิดแบบนี้ ตลาดนัดสะพานพุทธเปิด เวลา  18.00 น. – 23.00 น. ของทุกวัน ยกเว้น วันพุธนะครับ

ขอบคุณภาพจาก www.smeleader.com

เชิญแสดงความคิดเห็น