วัดระฆังโฆสิตาราม

0

เที่ยววัดระฆัง วัดดังที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาดูเอเซีย.คอมพาเที่ยววัดสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัดนี้เราจะพามากันที่วัดชื่อดัง ดังจริงๆ เพราะชื่อว่าวัดระฆัง นั่นเอง วัดระฆังถือว่าเป็นวัดชื่อดังและวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลายๆคนคงรู้จักวัดระฆังเป็นอย่างดี หรือบางคนอาจจะไม่รู้รายละเอียดว่าอยู่ที่ไหนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่เชื่อว่าคงจะได้ยินผ่านๆหูกันมาบ้าง ยิ่งถ้าเป็นคนที่เล่นพระเครื่องด้วยแล้วคงจะปฎิเสธไม่ได้ว่า พระสมเด็จวัดระฆังนั้นเป็นที่หมายปองต่อเซียนพระทั้งหลาย ที่อยากจะมีไว้ในครอบครองแม้ว่าจะมีราคาสูงนับ สิบล้านบาทเลยทีเดียว และยังเป็นพระเครื่องหนึ่งในชุดเบญจภาคีสุดยอดพระเครื่องของไทยอีกด้วยประวัติวัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คู่กับวัดบางหว้าน้อย คือ วัดอมรินทราราม ปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกู้อิสรภาพของไทยกลับคืนมาได้ และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับตั้งพระนครหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๑ พุทธศักราช ๒๓๑๒ หลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงใฝ่พระทัยเป็นธุระในพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ยกวัดบางหว้าใหญ่ซึ่งเดิมเป็นวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง และทรงมีพระราชปรารภว่า พระไตรปิฎกคงกระจัดกระจายเสียหายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า เพราะพม่าได้เผาบ้านเมืองและวัดวาอารามพินาศลง จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมชำระสอบทานพระไตรปิฎกนั้นให้ถูกต้องครบถ้วนตามเดิม และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยังมีบริบูรณ์อยู่เพราะพม่ายังไปทำลายไม่ถึง ประจวบกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องเสด็จพระราชดำเนินไปทำสงครามที่เมืองนครศรีธรรมราชเมื่อเสร็จราชการสงครามแล้วได้ทรงพบพระอาจารย์รูปหนึ่งมีชื่อว่า พระอาจารย์สี แต่เดิมพระอาจารย์สีรูปนี้อยู่ประจำที่วัดพนัญเชิง แขวงเมืองกรุงเก่า เป็นผู้มีความสามารถแตกฉานในพระไตรปิฎก ทั้งเป็นผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ ซึ่งพระองค์ทรงรู้จักดี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว ท่านได้หลีกไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชได้แล้ว เสด็จกลับกรุงธนบุรีพร้อมกันนั้นก็ได้อาราธนาพระอาจารย์สีร่วมมาในขบวนนั้นด้วยและโปรดเกล้าฯ ให้ครองวัดบางหว้าใหญ่ พร้อมทั้งทรงตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชด้วย

กาลต่อมาได้มีพระราชดำรัสสั่งให้พระเถรานุเถระมาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่อีก แล้วทรงอาราธนาให้พระเถรานุเถระทั้งหลาย มีสมเด็จพระสังฆราช (สี) เป็นประธาน ทรงขอให้รับธุระสอบทานพระไตรปิฎกจึงได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกจนสำเร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ เป็นต้นฉบับที่ถูกต้องตามพระราชประสงค์ ณ วัดบางหว้าใหญ่

สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระชนม์ได้ ๓๓ พรรษา รับราชการอยู่ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ทรงย้ายจากบ้านอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มาตั้งนิวาสสถานอยู่ใกล้ๆ กับพระราชวังของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ปัจจุบันคือกรมอู่ทหารเรือ) ต่อมาได้รับพระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้เป็นแม่ทัพไปตีเมืองโคราช ท่านจึงสั่งให้รื้อหอพระตำหนักกับหอประทับนั่งมาปลูกถวายไว้ที่วัดบางหว้าใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ หลังคามุงจาก ฝาสำหรวดกั้นห้องด้วยกระแชง ทั้งนี้ตามความตั้งพระทัยไว้แต่เดิมว่าจะยกถวายวัด (ปัจจุบัน พระอุโบสถหลังเก่ายกขึ้นเป็นพระวิหาร เป็นสถานที่ให้เช่าพระ) เมื่อล่วงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราช (สี) ที่ถูกถอดยศในสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี มาครองวัดบางหว้าใหญ่ตามเดิม และรับสั่งให้พระสงฆ์วัดบางหว้าใหญ่และวัดโพธาราม (ปัจจุบัน คือ วัดพระเชตุพน อยู่ตรงท่าเตียน) เข้ารับบิณฑบาตในพระราชวัง ผลัดเวรกันวัดละ ๗ วัน สมเด็จพระสังฆราช (สี) นี้ จึงนับว่าเป็นปฐมสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

การเดินทางประวัติโดยละเอียดอ่านด่อได้ที่  www. watrakang.com

เชิญแสดงความคิดเห็น