ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดตรัง >จวนเจ้าเมืองตรัง/ 

จวนเจ้าเมืองตรัง/

 

จวนเจ้าเมืองตรัง เป็นบ้านพักพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ลักษณะเรือนไม้ 2 ชั้น อยู่บนเนินพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ทายาทตระกูล ณ ระนอง ได้เก็บรักษาสภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งของเครื่องใช้ของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ไว้อย่างครบ

พระยาตรังภูมาภิบาล (เอี่ยม ณ นคร) มารับตำแหน่งปกครองเมืองตรัง เมื่อปี 2431 เมื่อ ปี 2433 ถูกราษฎรจำนวน 6,000 ครอบครัว ถวายฎีกา ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ขณะเสด็จพระภาสภาคใต้ และเสด็จประภาสเมืองตรัง สภาพของเมืองตรังครั้งนั้นปรากฏในพระราชหัตถเลขา ดังนี้

“……… แต่การปกครองในเมืองตรังเดี๋ยวนี้ พระยาตรังเป็นคนอ่อน ไม่พอแก่การไม่มีอำนาจอันใด การที่จะรับเสด็จนี้ก็วิ่งเอง จนหน้าเขียว จะหาผู้ใดช่วยเหลือไม่ได้ พวกจีนก็คิดอ่านจัดการรับของเขาเอง ส่วนหนึ่งต่างหาก ปลูกพลับพลารับทับเที่ยงแห่งหนึ่งต่างหาก แต่ไม่มีพาหนะจะไปด้วยระยะทาง ถึง 280 เส้น จึงบอกเลิกเสีย พระยาตรังไปแต่ไม่มีอำนาจเพระขัดข้องอย่างหนึ่งอย่างใด อย่างเดียวเท่านั้น

ไม่สมารถที่จะทำการให้แข็งแรงได้ เพราะสติปัญญาและความรู้ไม่พอแก่การด้วย แต่เป็นคนซื่อ ไถ่ถามการอันใดก็บอกตรง ๆ ตามความจริง ไม่คิดอ่านแก้ตัวปกปิดเอาแต่ความดีมาพูด ทุกวันนี้เมืองตรัง ราษฎรได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง ด้วยโจรผู้ร้าย แค่ในปีฉลูเอกศก พระยาตรังมาว่าการนี้ มีผู้ร้านปล้นที่ฉกรรจ์ 10 เรื่อง ฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย 5 เรื่อง ไม่ได้ตัวผู้ร้ายเลยสักเรืองเดียว พระยาตรังร้องว่าไม่มีกำลังที่จะติดตาม เป็นผู้ร้ายมาแต่เมืองพัทลุงบ้าง เมืองปะเหลียนบ้าง เพราะระยะทางเดินข้ามแดนไม่ถึง 12 ชั่วโมง แต่ได้ความตามพวกจีนว่า พระยาตรังไม่สันทัดในทางถ้อยความอันใด ตัวเองก็ไม่ได้ว่าถ้อยความมอบให้แก่รมการ กรมการนั้นถึงว่าจะได้ตัวผู้ร้ายมาก็ลงเอาเงินปล่อยเสีย จนพวกชาวเมืองตรังตีราคากันว่า ถ้ามีเงินเพียง 10 เหรียญ เป็นไม่ต้องกลัวอันใด พวกจีนจับผู้ร้ายได้ก็ไม่ส่งเข้าเมือง ชำระว่ากล่าวโทษเสียเอง เพราะว่าถ้าส่งให้กรมการแล้วเป็นหนีได้ทุกคน พระยาตรังบังคับบัญชาอยู่ได้แก่ที่ตำบลควนธานีแห่งเดียว ที่ตำบลทับเที่ยง เกือบจะไม่รู้ไม่เห็นกันเลย เห็นว่าการในเมืองตรัง ถ้าจะให้เป็นอยู่เช่นนี้ คงจะเกิดความใหญ่สักครั้งหนึ่งไม่ช้านักเป็นแน่ ด้านคนในอังกฤษ ไปมาค้าขายมาก ที่เกิดผู้ร้ายฆ่าตายเช่นครั้งพระสุรินทรามาตย์เป็นข้าหลวงแต่ก่อนแล้ว จะเอาอะไรแก่พระยาตรังไม่ได้เป็นอันขาด

ยังเรื่องเจ้าภาษีกับจีนในพื้นเมืองนั้นก็อีกอย่างหนึ่ง น่าจะเป็นเหตุขึ้นได้ เหมือนอย่างเมื่อครั้งหลวงวิเศษสงกากร แต่ก่อนพวกจีนก็พากันร้องว่า เจ้าภาษีกดขี่ข่มเหง เป็นที่สอง หรือเป็นอีกอย่างหนึ่ง นอกจากกรมการที่คอยปล่อยผู้ร้าย ครั้นพวกจีนในเมืองนี้จะไปผูกภาษีเองจากที่กรุงเทพ ก็ต้องลงทุนกู้เงินไป สำหรับล่วงหน้า และใช้สอย เมื่อไม่ว่าภาษีไม่ได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยเปล่า บางทีผู้ที่รับธุระเข้าไปว่าภาษีนั้นโกงกันเอง เอาเงินไปจำหน่าย สาบสูญเสียก็มี จึงไม่อาจที่จะคิดว่ากล่าว ทนความข่มเหงของเจ้าของภาษี ซึ่งออกมากรุงเทพ ข้างฝ่ายจีนป่านเจ้าของภาษี ก็นำเรื่องราวมากล่าวโทษ พวกจีนว่าขัดแข้งในการภาษีต่างๆ การก็เป็นจริงทั้ง 2 ฝ่าย เพราะไม่มีอำนาจกลาง กล่าวคือ ผู้รักษาเมือง กรมการที่พอจะปราบปรามการที่ผิดล่วงเกินต่อกัน ในพวกเจ้าภาษีและพวกจีนทั้งสองฝ่ายได้ จึงได้ต่างคนต่างหาประโยชน์ของค่าให้อย่างยิ่ง ไม่มีบันทัดที่จะตัดเป็นเส้นกวางลงไปได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งควรคิดอ่านแก้ไข ในการเจ้าเมืองไม่มีอำนาจจะปกครองรักษาบ้านเมืองนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งพระอัสดงคตทิศรักษา เจ้าเมืองกระบุรี มาเป็นเจ้าเมืองตรัง ในตำแหน่งพระยารักษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ในปี 2434 ในช่วงนี้ เมืองตรังเจริญมาก เพราะเจ้าเมืองส่งเสริมการเกษตรให้ราษฎรปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ โดยบังคับให้ปลูกขมิ้น ตะไคร้ พริก มะเขือ มะกรูด มะนาว มะพร้าว มะละกอ อย่างละ 5 ต้น หรือ 5 กอ แม่ไก่ ครัวละ 5 แม่ จำนวน แม่ไก่เพียง 5 แม่ที่ท่านว่าจะช่วยให้ครอบครัวหนึ่งไม่ต้องหาเงินอื่นมาชำระรัชชูปการและเงินบำรุงการศึกษา บางคน เลี้ยงไว้มากกว่านั้นก็ทำเงินได้มาก ในสมัยนั้น จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่มีพริกไทยมาก เมื่อพริกไทยราคาตกต่ำน่าเห็นว่าจะฟื้นได้ยาก ท่านจึงไปศึกษาการปลูกต้นยางและทำยางพารารับเบอร์ที่มะลายู ในที่สุดท่านก็ได้นำพันธุ์ยางมาปลูกแทนพริกไทย ซึ่งสมัยนั้นเมล็ดพันธุ์ยางของมะลายู

เขาหวงแหนกันมาก เพื่อเป็นการนำร่องท่านได้ชักชวนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีทรัพย์ ทำสวนยาง เป็นตัวอย่างเพื่อเป็นผลได้ ทั้งส่วนตัวและบ้านเมือง เช่น กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สร้างสวนยางที่ ตำบลกะช่อง พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษฏาญณ์ ทำสวนยางที่กันตัง จนกลางเป็นพืชเศรษฐกิจ แพร่กระจายไปสู่ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบัน รวมทั้งการตั้งกองตำรวจหลวงขึ้น มีตำรวจม้าด้วย ซึ่งมี พ.ท. ออกัส ฟิกเกอร์ เฟรดเดอริก คอลส์ นายตำรวจเดนมาร์ก เป็นผู้มาให้การฝึกสอนตำรวจที่จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก และซื้อกลไฟ ไว้ลาดตระเวนให้ความปลอดภัยทางน้ำ การคมนาคมได้ตัดถนนผ่านเขาพับผ้าไปพัทลุงถึงกันตัง ไปห้วยยอด (เขาขาว) การค้ากับต่างประเทศส่งสินค้าไปขายปีนัง

ในปี พ.ศ. 2436 ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอย้ายเมืองตรังไปตั้งที่กันตัง โดยให้เหตุผลว่า เมืองตรัง ที่ควนธานีไม่เหมาะสมที่จะตั้งทำการค้า เนื่องจากอยู่ไกลจากปากอ่าว ทำนุบำรุงให้เจริญได้ยาก ที่กันตังนั้นเหมาะแก่การสร้างท่าเรือ ที่มีเรือน้ำลึกเข้าถึง จึงได้ย้ายเมืองตรังไปตั้งที่กันตัง สร้างศาลากลางเป็นตึกใหญ่ 2 ชั้น สองข้าศาลากลางมีตึกชั้นเดียว 2 หลัง เป็นศาลหลังหนึ่ง ที่ว่าการอำเภอหลังหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2439 สร้างจวนเจ้าเมืองที่ควนรัษฎา ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้แบ่งท้องที่การปกครองเรียกว่า ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ รศ 115 ได้รวมเมืองตรัง และเมืองปะเหลียนเข้าด้วยกัน แบ่งเป็น 5 อำเภอ คือ อำเภอบางรัก (ทับเที่ยง) อำเภอเมือง (กันตัง) อำเภอเขาขาว (ห้วยยอด) อำเภอปะเหลียน (เมืองปะเหลียนเดิม) อำเภอสิเกา มี 109 ตำบล สำหรับท่าเทียบเรือ เพื่อป้องกันการปล้นเรือ การสาธารณสุข ได้ให้มิชชันนาริอเมริกัน มีหมอดันแล็ปเป็นหมอประจำ ตั้งโรงพยาบาลทับเที่ยง ที่ทับเที่ยง จนกระทั้งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ย้ายไปเป็นเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต ในปี 2445 ซึ่งยังมีผลงานไว้อีกมากมาย



Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวจวนเจ้าเมืองตรัง

 
ตรัง/Information of TRANG

  จวนเจ้าเมืองตรัง

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ตรัง แผนที่จังหวัดตรัง ถ้ำเลเขากอบ หมูย่างเมืองตรัง เขาหลัก หาดเจ้าไหม หาดยาว เกาะมุกและถ้ำมรกต เกาะลิบง เกาะกระดาน เกาะไหง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกันตัง



ถ้ำมรกต
Morakot Cave
(ตรัง)

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปะเหลียน
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอสิเกา
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอห้วยยอด
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดตรัง/map of TRANG
โรงแรมจังหวัดตรัง เกาะไหง/Hotel of TRANG

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์