ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > ประวัติอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาราชธานีไทย ถึงเคยแตกแยกไปก็ไม่สิ้นคนดี...........
พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงอยุธยา ทรงหลั่งทักษิณาใต้ต้นหมัน...........
กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองโสน ซึ่งอยู่ตรงแผ่นดินที่มีแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ล้อมรอบอยู่สามด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคูแยกจากแม่น้ำลพบุรี ตั้งแต่ตำบลหัวรอไปบรรจบแม่น้ำบางกะจะ ที่ป้อมเพชร เรียกว่า คูขื่อหน้า ทางด้านตะวันออกนี้มีร่องรอยของเมืองเก่า คือ เมืองอโยธยา ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกเก่าว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร มีศิลปวัตถุต่าง ๆ อันเป็นแบบแผนของยุคอู่ทอง และทวาราวดี
พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างพระนครขึ้นที่ตำบลหนองโสนดังกล่าว แล้วตั้งนามพระนครนี้ว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์  เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๓
คนทั่วไปเรียกตัวเมืองอยุธยาว่า เกาะเมือง มีรูปลักษณะคล้ายเรือสำเภา โดยมีหัวเรืออยู่ทางด้านทิศตะวันออก ชาวต่างประเทศในสมัยนั้น กล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาว่าเป็น เวนิสตะวันออก เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีการขุดคูคลอง เชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับแม่น้ำใหญ่รอบเมือง
ชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขาย และผู้คนจากเมืองใกล้เคียง ยอมรับว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าภายใน เพราะเส้นทางคมนาคมติดต่อกับ หัวเมืองต่าง ๆ ได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ติดต่อกับต่างประเทศได้ทางทะเล เรือเดินทะเลแล่นจากปากแม่น้ำ เจ้าพระยาไปจอดได้ถึงหน้าเมือง


สภาพความเป็นอยู่ของกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าปราสาททอง ในมุมมองของพ่อค้าชาวยุโรป
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ พื้นที่รอบนอกเป็นที่ราบแผ่ออกไปทั่วทุกทิศ กำแพงเมือง สร้างด้วยหิน วัดโดยรอบได้ ๒ ไมล์ฮอลันดา นับว่าเป็น นครหลวงที่กว้างขวางใหญ่โตมาก ภายในพระนคร มีวัดวาอาราม สร้างอยู่ติด ๆ กัน มีประชาชนพลเมือง อาศัยอยู่หนาแน่น ในตัวเมืองมีถนนสร้างตัดตรงและยาวมาก มีคลองที่ขุดเชื่อมต่อจากแม่น้ำเข้ามาในตัวเมือง ทำให้สดวกแก่การสัญจรไปมาได้อย่างทั่วถึง
นอกจากถนนหลัก และคลองหลักแล้ว ยังมีตรอกซอย แยกจากถนนใหญ่ และคูเล็กแยกจากคลองใหญ่ ทำให้ในฤดูน้ำ บรรดาเรือพายทั้งหลาย สามารถไปได้ถึงหัวกะไดบ้าน
บ้านที่อยู่อาศัยสร้างตามแบบอินเดีย แต่หลังคา มุงด้วยกระเบื้อง บรรดาโบสถ์ วิหาร ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ๓๐๐ แห่ง ได้ก่อสร้างขึ้น อย่างวิจิตรพิศดาร บรรดาพระปรางค์ เจดีย์ และรูปปั้น รูปหล่อ ซึ่งมีอยู่มากมายใช้ทองฉาบเหลืองอร่าม นับว่าเป็นมหานครที่โอ่อ่า มีผังเมืองที่ วางไว้อย่างเป็นระเบียบ ตั้งอยู่ในทำเลทีเหมาะสม อยู่ในภูมิฐานที่ดีและมั่นคง ยากที่ข้าศึกจะโจมตีได้โดยง่ายเพราะในทุกปีจะมีน้ำท่วมถึง ๖ เดือน ทั่วพื้นที่นอกกำแพงเมือง ทำให้ข้าศึก ไม่สามารถตั้งทัพอยู่ได้
บรรดาถิ่นฐานที่อยู่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังดำรงคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ตลาดขวัญ ปากเกร็ด บ้านกระแซง สามโคก บางไทร บางปะอิน หัวรอและหัวแหลม เป็นต้น
สำหรับย่านชุมชนทั้งในและนอกพระนครมีหมู่บ้านของชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำมาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ร้านค้า และตลาดของ ชาวต่างประเทศเท่าที่ปรากฏหลักฐานก็มี ร้านไทยมอญ ตลาดมอญพม่า ตลาดจัน พวกนี้อยู่ในพระนคร ที่อยู่นอกพระนครก็มี ตลาดบ้านญี่ปุ่น และหมู่บ้านแขก แถบคลองตะเคียน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีพวกเลกที่เป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อยู่อาศัยรวมกันเป็นย่าน เพื่อทำการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ตามที่มีพระราชประสงค์ เท่าที่มีหลักฐานมีอยู่ดังนี้
ย่านสัมพะนี ย่านนี้จะผลิตน้ำมันงา น้ำมันลูกกระเบา ทำฝาเรือนไม้ไผ่กรุ ทำมีดพร้า และหล่อครกเหล็ก เป็นสินค้าออกขาย
ย่านเกาะทุ่งขวัญ แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ บ้านปั้นหม้อ บ้านทำกระเบื้อง บ้านศาลาปูน (เผาปูน) และบ้านเขาหลวงจีน ตั้งโรงต้มเหล้า เป็นสินค้าออกขาย
ย่านเกาะทุ่งแก้ว แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม มีอาชีพหล่อเต้าปูนทองเหลือง ปั้นตุ่มนางเลิ้ง เลื่อยไม้กระดาน ทำตะปูเหล็ก ทำแป้งหอมน้ำมันหอม ธูปกระแจะ ปั้นกระโถนตะคันช้างม้าตุ๊กตา และบ้านโรงฆ้องนำกล้วยมาบ่มเป็นสินค้าออกขาย
พระพุทธศาสนา เป็นเครื่องหล่อหลอมวิถีชีวิตไทย
วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่มาของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมทุกแขนง เป็นศูนย์กลางของการศึกษา ที่ไม่มีพรมแดน พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก หลายพระองค์ได้ทรงผนวช ในพระศาสนา เป็นระยะเวลานาน ได้ทรงสร้าง ประเพณีทางพุทธศาสนาผสมกับศาสนาพราหมณ์ไว้มาก และได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มีพระราชพิธีสงกรานต์ในเดือนห้า
พระราชพิธีจรดพระนังคัล ในเดือนหก และพระราชพิธีจองเปรียง ตามพระประทีปในเดือนสิบสอง  เป็นต้น สำหรับประเพณี ที่เป็นของทางศาสนาพุทธแท้ ๆ ก็มีอยู่มาก เช่น ประเพณีการไปไหว้พระพุทธบาท ประเพณีเทศน์มหาชาติ พระเพณีสวดพระมาลัย เป็นต้น

/heritage/nation/ayutaya/index1, Fri, 18 Dec 2009 05:23:54 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index2, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 2 /heritage/nation/ayutaya/index2, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index3, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 3


ภายหลังที่กรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ ๒ ถึงแม้ว่าผู้คนจะล้มตายมากมายและถูกกวาดต้อนไปพม่า ก็ยังมีพวกที่หนีตาย เข้าไปอยู่ในป่าอีกไม่น้อย ส่วนเชลยไทยที่ถูกพม่าต้อนไปพม่า ปัจจุบันยังตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองชะเวตาชอง หรือ คลองทองคำ ห่างจากเมืองมัณฑเลย์ ประมาณ ๑๓ กม. มีวัดระไห่เป็นศูนย์กลางหมู่บ้านและมีตลาดโยเดีย (เป็นคำที่ชาวพม่าเรียกคนอยุธยา) รวมทั้งมีการรำโยเดีย คล้ายท่าพรหมสี่หน้าแบบไทย ปรากฏอยู่เป็นหลักฐาน
ส่วนพวกคนไทยที่หนีตายไปอยู่ป่าและได้กลับมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น จึงน่าจะเป็นหลักฐานว่าคนฝั่งธนบุรีส่วนใหญ่จะเป็นคนกรุงเก่านั่นเอง นอกจากกลุ่มคนไทยส่วนแรกนั้น ก็ยังมีบางส่วนกลับมาทำมาหากินอยู่ในชุมชนเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า โดยอาศัยอยู่ทั้งในตัวเกาะเมือง และนอกเกาะเมือง และได้แบ่งการปกครองออกเป็น ๔ แขวง คือ แขวงรอบกรุง แขวงนคร แขวงอุทัย และแขวงเสนา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕


 

ศิลปวัตถุจากกรุ
มีการพบกรุสมบัติในสมัยกรุงศรีอยุธยา นับเป็นหลักฐานยืนยันถึงความรุ่งเรืองมั่งคั่ง ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และจากการที่จับคนร้ายที่ลักลอบขุดกรุที่วัดราชบูรณะ รวมกับที่กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นต่อไปอีก หลังจากนั้นได้พบเครื่องทอง และสมบัติต่าง ๆ มากมาย

 

ทรัพย์สมบัติที่ขุดพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ มีหลายประเภทส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องราชูปโภคที่ทำเป็นชุดเชี่ยนหมาก ตัวถาดรูปยาวรีคล้ายใบพลู หูล้อมสุพรรณศรี จอกน้ำและลูกหมากทองคำ เครื่องตันหรือเครื่องทรง สำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น กรองศอ สร้อยข้อมือ สร้อยคอ กำไล พาหุรัด ทองพระกรที่ล้วนแต่ทำเป็นลวดลายและฝังอัญมณีต่าง ๆ ที่วิจิตรงดงาม

รูปเคารพในทางศาสนา เช่น สถูปจำลองทำเป็นเจดีย์ทรงลังกา พระพุทธรูปปางมารวิชัยในซุ้มเรือนแก้ว ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ พระพุทธรูปทองคำดุน ปางมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้วและพระคชาธาร ทรงเครื่องพร้อมสัปคับ ประดับพลอยสี เป็นต้น

/heritage/nation/ayutaya/index3, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index4, Fri, 18 Dec 2009 05:25:28 GMT --> Ayuthaya 4


จากหลักฐานข้อมูลการค้นพบทั้งหมด สามารถจำแนกเครื่องทองที่ขุดได้จากกรุ พระปรางค์วัดราชบูรณะได้เป็น ๔ ส่วน
ส่วนที่ 1   ทองจากที่คนร้ายขุดได้ จะเป็นทองคำหนักทั้งสิ้น ประมาณ ๗๕ กก.
ส่วนที่ 2   เป็นเครื่องทองที่เป็นกองกลาง เนื่องจากเป็นวัตถุสิ่งของขนาดใหญ่ มีน้ำหนักไม่ตำกว่า ๑๐ กก.
ส่วนที่ 3   เป็นเครื่องทองที่กรมศิลปากรขุดได้ภายหลังเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๒,๑๒๑ ชิ้น ทั้งที่ทำด้วยทอง นาค เงิน รวมทั้งเพชรนิลจินดา มีน้ำหนักรวมทั้งสิ้นประมาณ ๑๙,000 กรัม พลอยหัวแก้วหัวแหวนและทับทิมหนัก ๑,๘๐๐ กรัม แก้วผลึกชนิดต่าง ๆ หนัก ๑,๐๕๐ กรัม และลูกปัดเงินกับทับทิมปนกันหนัก ๒๕๐ กรัม
ส่วนที่ 4   เป็นเครื่องทองส่วนที่ตกสูญหาย ประมาณว่าไม่ต่ำกว่า ๑๐ กก. รวมทั้งเครื่องทองที่ยึดคืนมาได้ ที่ไม่ถึง ๑ ใน ๑๐ ส่วน

จากที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องทองที่บรรจุในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะแห่งเดียว นั้นมีทองคำหนักกว่า ๑๐๐ กก. นอกจากนั้นการที่กรุงศรีอยุธยามี พระปรางค์ เจดีย์ ศาสนวัตถุมากมาย ประกอบกับอดีตนั้นคนกรุงเก่ามีความเชื่อในเรื่อง การสืบอายุพระพุทธศาสนา โดยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วย ทอง เงิน นาค แก้วแหวนต่าง ๆ น่าจะทำให้กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยอุดมสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ และปัจจัยที่ทำให้ผู้คนในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา มีความพรั่งพร้อมก็คือ


ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้ง

เนื่องจากกรุงศรีอยุธยา เป็นที่รวมหรือชุมทางของ แม่น้ำลำคลองหลายสิบสาย เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ทั้งที่เป็น ธรรมชาติและที่ขุดขึ้นใหม่ภายหลัง ทำให้กรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งชุมชนทางน้ำ ซึ่งพงศาวดารเหนือได้กล่าวไว้ว่า "กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา เป็นเมืองท่าสำเภา และเมืองท่าน้ำ" ส่วนชาวเปอร์เซีย กล่าวว่า "เป็นเมืองแห่งนาวา"

ปัจจัยด้านศิลปะวัฒนธรรม

เนื่องจากกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ท่ามกลางอาณาจักรเก่าแก่โบราณมากมาย เช่น ทวาราวดี ขอม และสุโขทัย เป็นต้น แม้ว่าบางแห่งจะล่มสลายไปแล้ว แต่แบบอย่างแนวทางในการศึกษาเรียนรู้ในมรดกทางศิลปะวัฒนธรรม ยังคงอยู่ เช่น สุโขทัยจะมีฝีมือเป็นเอกทางด้านงานประติมากรรม ส่วนกรุงศรีอยุธยาเองนั้นจะเป็นเอกในด้านงานประณีตศิลป์ เป็นต้น



/heritage/nation/ayutaya/index4, Fri, 18 Dec 2009 05:25:28 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index5, Fri, 18 Dec 2009 05:25:28 GMT --> Ayuthaya 5


ปัจจัยทางด้านการปกครองและการเมือง
              ตามจดหมายเหตุจีนกล่าวว่า "กรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นเพราะเมืองใหญ่ ๒ เมือง รวมกันด้วยการสมรส คือ ดินแดนฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (เสียนก๊ก หรือ สุพรรณภูมิ) กับ ดันแดนฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (หลอหู หรือละโว้) โดยรวมกันเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๒ จนกลายเป็นอาณาจักรใหญ่ที่เข้มแข็ง มีกำลังทัพใหญ่ และคนหลายเชื้อชาติด้วยปัจจัยนี้ กรุงศรีอยุธยาจึงมั่งคั่งด้วยสมบัติ เพราะทองคำ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด และการถวายบรรณาการในการติดต่อ สร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ มักใช้ทองเป็นเครื่องประสาน การให้บำเหน็จรางวัล เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย หรือข้าวของที่ถวายเป็นพุทธบูชา ล้วนทำจากทองทั้งสิ้น
จะเห็นได้ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ทองคำจะนิยมมาใช้งานใน ๔ ประเภท ได้แก่
 
๑. เครื่องราชูปโภค

เป็นเครื่องใช้สิ่งของต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เครื่องต้น เครื่องทรงเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชกุธภัณฑ์ จารึกพระสุพรรณบัฎ เครื่องประดับสำหรับเกียรติยศหรือเครื่องราชูปโภค พระพิชัยสงคราม เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อาทิ เช่น พระสังวาลย์นพรัตน์ สร้อยอ่อน และอื่น ๆ
 
๒. เครื่องประดับ

เครื่องประดับโดยทั่วไป ได้แก่ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไลแขน กำไลเท้า ตุ้มหู แหวน ปิ่นปักผม จี้ เข็มขัด ลูกปัด ลูกกระพรวน เข็มกลัด เป็นต้น และเนื่องจากกรุงศรีอยุธยา มีคนจีนแล่นเรือมาติดต่อค้าขายมากกว่าชาติอื่น บางอย่างจึงได้รับอิทธิพลจากจีนและมีตลาดค้าขายทอง เรียกว่าย่านป่าทอง ซึ่งเป็นแหล่งขายทองคำเปลว และเครื่องทองรูปพรรณ ตลอดจนเครื่องเงิน นาค และย่านนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตลาดถนนตีทอง" และแก้วแหวนเงินทองที่พบจากซากโบราณสถาน เจดีย์วิหาร มีไม่น้อยที่เป็นของพลเมืองทั่วไปที่ถวายเป็นเครื่องอุทิศบูชาแด่พระศาสนาที่ตนศรัทธา
๓. รูปเคารพในทางศาสนา

เนื่องจากความศรัทธาอันแรงกล้าของพลเมืองต่อพระศาสนา จึงได้นำทองคำมาสร้างงานประติมากรรม หรือรูปเคารพในทางศาสนาเป็นอันมาก เช่น พระพุทธรูป เทวรูป พระโพธิสัตว์ พระพิมพ์ พระพุทธบาทจำลอง สถูป เครื่องอลังการ เครื่องพลีกรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ลพบุรี สุโขทัย และอยุธยา


๔. เครื่องสถาปัตยกรรมและศิลปะกรรม
สมัยโบราณนิยมนำทองคำมาประกอบตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้วิจิตรงดงาม โดยใช้เป็นทองคำเปลว และจากการตรวจสอบพบว่าทองคำเปลวนั้นรู้จักทำ และใช้กันแพร่หลายตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖) ในจดหมายเหตุจีนกล่าวไว้ว่า "บัลลังก์บ้าง มณฑปบ้าง ปราสาทราชวัง และคานหามบ้าง รวมทั้งเครื่องใช้อื่น ๆ ของกษัตริย์ในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ล้วนทำด้วยทองคำ" อาณาจักรทวาราวดี หรือศูนย์กลางของดินแดนที่ชาวอินเดียโบราณขนานนามว่า "สุวรรณภูมิ" (หมายถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด) จะเป็นถิ่นที่มีทองคำหรือโภคทรัพย์อุดมสมบูรณ์มาก และกรุงศรีอยุธยา หรือ "กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา" ซึ่งตั้งขึ้นภายหลัง น่าจะมีทองมาก เพราะทั้งชื่อกรุงและปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนากรุง ล้วนเกี่ยวข้องกับทองทั้งสิ้น
  /heritage/nation/ayutaya/index5, Fri, 18 Dec 2009 05:25:28 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index6, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 6

พื้นเพของคนอยุธยาอาจไม่ต่างจากคนพื้นเพในจังหวัดต่าง ๆ แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น อ่างทอง สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี เท่าใดนัก เนื่องจากชาวจังหวัดต่าง ๆ แถบนี้ล้วนมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับสายน้ำและทุ่งกว้าง ที่ครอบคลุมหลายจังหวัด คือ ทุ่งมหาราช ที่ครอบคลุมหลายเขต เช่น ทุ่งบางปะหัน บ้านแพรก ดอนพุธ (สระบุรี) และมหาราช และจากการที่อยู่กันตามริมแม่น้ำ หรือทุ่งกว้าง ชาวบ้านนิยมปลูกบ้านเรือนเรียงกันเป็นแถวไปตามลำน้ำ โดยหันหน้าเรือนออกไปทางริมแม่น้ำลำคลอง และด้านหลังจะเป็นทุ่งนา บางท้องที่ชอบอาศัยอยู่ในเรือนแพ บริเวณที่ลำน้ำมาบรรจบกันหลายสาย มักจะมีบ้านเรือนหนาแน่น เพราะเป็นศูนย์เรือที่สัญจรไปมา และคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ มักจะเป็นผู้มีอันจะกิน อีกทั้งมักเป็นคนเก่าแก่ในท้องถิ่น

สำหรับในตัวอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ชุมชนเก่ามักอยู่ริมน้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่น้ำมาบรรจบกัน เช่น ย่านหัวรอ (แม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบกับคลองหันตรา และฝั่งตรง ข้ามกับวัดพนัญเชิง (บางกระจะ) ที่เรียกว่าตำบลสำเภาล่ม (แม่น้ำเจ้าพระยาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก)
 

สำเนียงพูด
              ชาวอยุธยาจะมีสำเนียงพูดคล้ายคนในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม อ่างทอง สิงห์บุรี โดยชาวอำเภอบางซ้าย ผักไห่ เสนา ลาดบัวหลวง ซึ่งอยู่ใกล้สุพรรณบุรี และนครปฐม จะพูดสำเนียงเหน่อกว่าชาวอำเภออื่น ทั้งคนอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม คิดว่า เรื่องเขตแดนเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อสะดวกในการปกครอง แต่ไม่แบ่งสายสัมพันธ์ ระหว่างกันและกัน จึงนับได้ว่าสำเนียงเช่นนี้เป็น สำเนียงไทยแท้แต่ดั้งเดิม อยุธยาซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นราชธานี และมีความรุ่งเรืองกว่า ๔๐๐ ปี และใช้สำเนียงนี้ แต่ คนบางกอกยุคหลังน่าจะพูดผิดเพี้ยนเป็นสำเนียงไทยปนจีน ปนแขก หรือปนฝรั่ง อย่างเช่นปัจจุบันมากกว่า


กลุ่มคนในอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาในอดีตเป็นราชธานี และเป็นเมืองท่านานาชาติที่สำคัญ นอกจากคนพื้นเมืองแล้ว ยังมีคนต่างชาติต่างภาษา เข้ามาอาศัยอยู่ไม่น้อย อาจพบว่าโบราณสถานบางแห่งที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง แต่ศิลปวิทยาการบางอย่างที่คนต่างชาติได้ถ่ายทอดไว้มีอยู่มาก เช่น ขนมทองหยิบ ฝอยทอง ของชาวโปรตุเกส การต่อเรือกำปั่นของชาวเนเธอร์แลนด์ และกล้องดูดาวของชาวฝรั่งเศส คำพูดบางคำที่เรายืมมาจากแขกชาวมุสลิม เช่น กุหลาบ กั้นหยั่น และการสร้างรูปแบบสถาปัตยกรรมซุ้มโค้งแบบโดม กรอบประตู หน้าต่าง ของวัดวาอาราม ตลอดจนพระราชวัง เป็นต้น
เมื่อกรุงศรีอยุธยาสิ้นสภาพเป็นราชธานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อยุธยา ก็ยังมีคนไทยเชื้อสายต่างชาติอยู่หลายกลุ่ม เช่น มอญ ไทยมุสลิม ญวน ลาวเวียงจันทน์ และชาวจีน ซึ่งจะกล่าวถึงคนกลุ่มเหล่านี้ พอสังเขป
ชาวมอญ
ตั้งบ้านเรือนที่บ้านเสากระโดง อำเภอบางปะอิน มีวัดทองบ่อ เป็นศูนย์กลางหมู่บ้าน โดยอพยพมาตั้งหลักแหล่งในไทยครั้ง แรก เมื่อประมาณ ๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปี พ.ศ.๒๓๑๗ ได้อพยพเข้ามาอีกระลอกหนึ่ง ประมาณ ๔ พันกว่า คน และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จนกระทั้งในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้อพยพ เข้ามาอีกครั้ง ประมาณ หมื่นกว่าคน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่ที่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) รวมทั้ง กระจายมาอยู่ที่อยุธยาด้วย
เดิมชาวมอญมีอาชีพค้าขายทางเรือ โดยไปรับซื้อใบจากที่ปากน้ำสมุทรปราการ และมาขายที่จังหวัดอยุธยาเลยไปจนถึง นครสวรรค์ แต่ปัจจุบัน ลูกหลานมอญจะได้รับการศึกษาสูง ทำงานราชการและเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ได้รับการศึกษาน้อย จะทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แถวอำเภอบางปะอิน
 
ชาวไทยมุสลิม
ประชากรชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับกลุ่มชนอื่น โดยจะรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ มีวัฒนธรรมประเพณี และวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดเป็นเอกลักษณ์ เช่น อาหารการกิน การปฏิบัติศาสนกิจ การแต่งงาน
ไทยมุสลิมที่เข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยา ตั้งแต่ยังเป็นราชธานีมีอยู่ ๒ กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มาจากหัวเมืองปัตตานี (แขกตานี) โดยจะเข้ามาตั้งบ้านเรือนบริเวณคลองตะเคียน (บริเวณทางใต้ของเกาะเมือง)
อาชีพของไทยกลุ่มแรกนี้ คือ พายเรือขายขนม และเครื่องใช้ทั่วไป อาชีพเสริม คือ ถักแห สวิง ส่งมาจำหน่ายที่หัวรอ และกรุงเทพฯ
อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากต่างชาติ หรือเรียกว่า แขกเทศ เช่น เปอร์เซีย อาหรับ และอินเดีย พักอาศัยอยู่แถบลุมพลี ภูเขาทอง หัวแหลม บุคคลสำคัญ คือ ท่านเฉกอะหมัด จุฬาราชมนตรี คนแรกของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา (ต้นตระกูลบุนนาค) และยังมีที่สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านเมืองสงขลา รวมทั้งพวกตระกูล พุฒตาล ซึ่งไทยมุสลิม มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า แขกแพ หรือแขกเมือง
อาชีพของไทยมุสลิมกลุ่มที่ ๒ นี้ คือ การพายเรือเร่ขายสินค้าที่มาจากต่างประเทศ เช่น ผ้า แพรพรรณ จานชาม เครื่องใช้ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันไทยมุสลิมจะกระจัดกระจายในท้องที่ต่าง ๆ เช่น อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย และ อำเภอนครหลวง เป็นต้น
ชาวญวน
ญวนกลุ่มนี้อพยพเข้ามาในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา คราวเดียวกับญวนที่เมืองจันทบุรี เป็นครั้งแรก ต่อมาในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ ได้เกิดกบฎที่เมืองไต้เซินของญวน จึงได้อพยพเข้ามาอีกครั้งหนึ่งส่วนใหญ่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ในท้องที่สำเภาล่ม ซึ่งคนอยุธยาจะเรียกว่า บ้านญวน เป็นชุมชนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค และมีวัดนักบุญยอแซฟ เป็นศูนย์กลาง ของชุมชน
ปัจจุบันชาวญวนแพร่ขยายไปตั้งบ้านเรือนตามท้องที่ต่าง ๆ เช่น บ้านแพน เจ้าเจ็ด เสนา บ้านหน้าโคก (อำเภอผักไห่) แต่ที่อยู่ กันหนาแน่นมากที่สุด คือ ที่เกาะใหญ่ (บางไทร) ใช้ภาษาญวนในพิธีกรรมทางศาสนาอยู่บ้าง และชาวบ้านละแวกนั้น เรียกว่า เกาะญวน

ชาวลาวเวียงจันทน์
ชาวลาวเวียงจันทน์ หนีความแห้งแล้งกันดาร จากแผ่นดินเกิดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๒ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอนครหลวง จะตั้งบ้านเรือนเรียงกันไปตามริมแม่น้ำป่าสัก อาศัยอยู่บ้านสามไถ ต้นโพธิ์ และหนองไผ่ มีนายเทา เป็นผู้นำช่างฝีมือชาวลาว ทั้งช่างทอง ช่างทอผ้า ช่างตีเหล็ก ซึ่งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จทอดพระเนตรฝีมือตีมีด และพอพระราชหฤทัยมาก จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นขุนนราบริรักษ์ (ต้นตระกูลพันหนอง)
ชาวไผ่หนอง นิยมปลูกบ้านเรือนติดต่อกันสามารถเดินลอด ใต้ถุนบ้านถึงกัน และแต่ละหลังจะมีเครื่องมือตีมีด และหูกทอผ้า เมื่อถึงช่วงงานนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี จะตีมีดใส่เรือพร้อม พืชผักไปขาย และยังนำมีดไปขายที่บ้านอรัญญิก เหนือลำน้ำป่าสัก และมีดอรัญญิกที่เรารู้จักกันดี จึงเรียกชื่อตามแหล่งจำหน่าย จนถึงปัจจุบัน แต่แหล่งผลิตคือชาวบ้านต้นโพธิ์ และบ้านไผ่หนอง
 
ชาวจีน
กรุงศรีอยุธยาได้พัฒนาในทุก ๆ ด้านมาโดยลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงจัดระบบการปกครอง ให้เป็นปึกแผ่น เข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐาน ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาได้พัฒนาต่อไปตามลำดับ มาถึงรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงปรับปรุงด้านการทหาร รวบรวมหัวเมืองอิสสระน้อยใหญ่มาอยู่ในอำนาจของ อาณาจักรอยุธยา ทำสงครามกับลานนายึดเมืองเชียงใหม่ได้ ในห้วงเวลาเดียวกันมอญ ได้ถูกพม่ารุกรานจนต้องตกอยู่ในอำนาจของพม่า ซึ่งกำลังทำสงคราม แผ่อาณาจักรอยู่ มีมอญส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงกราน หนีพม่าเข้ามาพึ่งไทย พม่าจึงยกกองทัพเข้ายึดเมืองเชียงกรานไว้ได้ สมเด็จพระชัยราชาธิราช จึงทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้ เป็นการเปิดฉากการสงครามระหว่างไทยกับพม่านับแต่นั้นมา พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาสมัยพระมหาจักรพรรดิ์ ได้มีการต่อสู้กันที่ทุ่งภูเขาทองจนสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องสิ้นพระชนม์บนคอช้าง


 
กรุงศรีอยุธยาได้พัฒนาในทุก ๆ ด้านมาโดยลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงจัดระบบการปกครอง ให้เป็นปึกแผ่น เข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นรากฐาน ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาได้พัฒนาต่อไปตามลำดับ
มาถึงรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงปรับปรุงด้านการทหาร รวบรวมหัวเมืองอิสสระน้อยใหญ่มาอยู่ในอำนาจของ อาณาจักรอยุธยา ทำสงครามกับลานนายึดเมืองเชียงใหม่ได้ ในห้วงเวลาเดียวกันมอญ ได้ถูกพม่ารุกรานจนต้องตกอยู่ในอำนาจของพม่า ซึ่งกำลังทำสงคราม แผ่อาณาจักรอยู่ มีมอญส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงกราน หนีพม่าเข้ามาพึ่งไทย พม่าจึงยกกองทัพเข้ายึดเมืองเชียงกรานไว้ได้ สมเด็จพระชัยราชาธิราช จึงทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้ เป็นการเปิดฉากการสงครามระหว่างไทยกับพม่านับแต่นั้นมา พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาสมัยพระมหาจักรพรรดิ์ ได้มีการต่อสู้กันที่ทุ่งภูเขาทองจนสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
 
ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๑๒ แต่อีก ๑๕ ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงสามารถ กอบกู้เอกราชกลับมาได้ โดยทรงประกาศอิสสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๗ พระองค์ได้ทรงทำสงคราม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดินไทย ตลอดพระชนมายุของพระองค์ ทำให้อาณาจักรอยุธยาแผ่ไปอย่างกว้างขวาง เป็นหนึ่งในสุวรรณภูมิ
การสงครามครั้งสำคัญคือสงครามยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา ที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้พม่า ไม่กล้ายกกองทัพมารุกรานไทย เป็นระยะเวลาเกือบ ๒๐๐ ปี ทางด้านตะวันออก พระองค์ก็ได้ทรงปราบปรามกัมพูชา ที่คอยถือโอกาสซ้ำเติมเมื่อคราวไทยอ่อนแอ หรือเวลามีศึกสงครามทางด้านอื่น
ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๑๒ แต่อีก ๑๕ ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงสามารถ กอบกู้เอกราชกลับมาได้ โดยทรงประกาศอิสสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๗ พระองค์ได้ทรงทำสงคราม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดินไทย ตลอดพระชนมายุของพระองค์ ทำให้อาณาจักรอยุธยาแผ่ไปอย่างกว้างขวาง เป็นหนึ่งในสุวรรณภูมิ

การสงครามครั้งสำคัญคือสงครามยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา ที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้พม่า ไม่กล้ายกกองทัพมารุกรานไทย เป็นระยะเวลาเกือบ ๒๐๐ ปี ทางด้านตะวันออก พระองค์ก็ได้ทรงปราบปรามกัมพูชา ที่คอยถือโอกาสซ้ำเติมเมื่อคราวไทยอ่อนแอ หรือเวลามีศึกสงครามทางด้านอื่น

ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นการเสียกรุงอย่างย่อยยับที่สุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะพม่าได้เผาผลาญทำลายทุกสิ่งทุกอย่างโดยสิ้นเชิง บ้านเมือง วัดวาอาราม ปราสาทราชวัง ถูกทำลายลงสิ้น ผู้คนที่อพยพหนีพม่า เข้ามาอยู่ในเมืองประมาณหนึ่งแสนคนเศษ ถูกพม่าฆ่าตายมากกว่าครึ่ง ที่เหลือก็ถูกกวาดต้อน นำไปเมืองพม่าอย่างทารุณ ได้รับความยากแค้นแสนสาหัส ทรัพย์สินของมีค่าต่าง ๆ ถูกนำกลับไปพม่านับประมาณมิได้
 

        "ทั้งพิธีปีเดือนคืนวัน         สารพันจะมีอยู่อัตรา ฤดูใดได้เล่นเกษมสุข         แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา"
ก็ถึงแก่กาลแตกดับอย่างไม่คาดผัน กลายเป็น

 
        "ไม่เห็นเช่นว่าจะเป็นถึงเพียงนี้  มายับเยินอัปรีย์ศรีศักดิ์คลาย  มาวินาสสิ้นสุดสูญหาย  สารพัดย่อยยับกลับกลาย   อันตรายไปทั่วพื้นปฐพี"
อวสานของกรุงศรีอยุธยา
เมื่อมีเกิดก็มีดับ กรุงศรีอยุธยาดำรงความเป็นราชธานีไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองจนล่วงมาถึง สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เป็นระยะเวลา ๔๑๗ ปี นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๑๘๙๔ ถึง ปี พ.ศ.๒๓๑๐ ก็ถึงกาลล่มสลายอย่างย่อยยับด้วยความอ่อนแอ ของคนไทยเราเอง เพื่อให้เห็นภาพลักษณ์ดังกล่าว จึงขอยกเอาคำรำพึงของมหากวีเอกของไทยคือสุนทรภู่ ที่ได้บรรยายไว้ในนิราศพระบาทถึงสภาพของ กรุงศรีอยุธยาไว้บางตอนดังนี้

        ........... ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา               ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน
                    อนิจจาธานินสิ้นกษัตริย์                   เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสณฑ์
                    แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน       จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง

        ...........  ดูพาราน่าคิดอนิจจัง                           ยังได้ฟังแต่เสียงสกุณา

ในอดีตชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่หน้าแน่น บริเวณวัดพนัญเชิง และริมฝั่งน้ำตรงกันข้ามกับวัดพนัญเชิง
ปัจจุบัน จะอาศัยหนาแน่นอยู่บริเวณหัวรอ ตลาดเจ้าพรหม มีทั้งจีนแต้จิ๋ว และไหหลำ ตระกูลเก่าที่มีบทบาทในธุรกิจอยุธยาปัจจุบัน คือ แซ่เบ้ (แต้จิ๋ว) และเปลี่ยนนามสกุลเป็นไทย มีคำว่า อัศว นำหน้า ส่วนแซ่ด่าน (ไหหลำ) นั้นเปลี่ยนเป็น นามสกุลมีคำว่า ด่าน นำหน้า นอกจากนั้นยังรวมตัวกันเป็น สมาคมชมรมมูลนิธิเหล่านี้จะช่วยเหลือในด้าน สาธารณกุศลในอยุธยา
อาชีพของชาวจีนเหล่านี้ คือ ทำธุรกิจโรงเลื่อยไม้ รวมทั้งมีการต่อเรือ เช่นเดียวกับชาวญวนด้วย


/heritage/nation/ayutaya/index7, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 7

สมัยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีความเจริญในด้านช่างหลายแขนง ศิลปสกุลช่างอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นด้าน สถาปัตยกรรม จิตกรรม หรือประติมากรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคทองของศิลปกรรมไทย โดยดูได้จากเครื่องทองของมีค่า เช่น ข้าวของ เครื่องใช้เครื่องประดับของเจ้านาย จากฝีมือช่างในราชสำนัก ที่พบในกรุวัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ ในอดีต มีงานศิลปหัตถกรรมระดับชาวบ้าน ชาวเมืองก็มีมากมาย โดยเฉพาะในเกาะเมืองตลอดจนบริเวณโดยรอบ มีแหล่งผลิตและจำหน่าย เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเหล็ก เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ตะลุ่มพาน เครื่องอัฐบริขาร และเครื่องไม้ปรุงเรือน ภายหลังที่กรุงแตก ผู้คนต้องหนีภัยสงคราม และช่างในราชสำนักถูกพม่ากวาดต้อนไปพม่า บางกลุ่มที่หนีเข้าป่าแล้วกลับมาตั้งรกรากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศิลปหัตถกรรมกรุงเก่า ในปัจจุบันจะมีหม้อดินเผาคลองสระบัว มีดอรัญญิก รูปหินสลัก ตะเพียนทอง ปลาไทยจากใบลาน ตุ๊กตาชาวบ้าน งอบกรุงเก่า ปรุงเรือนไทย เป็นต้น


หม้อดินเผาคลองสระบัว
อาชีพปั้นหม้อของชุมชนสองฝั่งคลองสระบัว (เป็นงานอาชีพหัตถกรรมที่เก่าแก่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี) และเดิมคลองสระบัว มีชื่อเรียกว่า คลองหม้อ
ปัจจุบัน คงเหลือผู้ปั้นหม้อเพียงสิบกว่าหลังคาเรือน และหม้อที่ยังคงปั้น มีอยู่ ๕ ชนิด คือ หม้อต้น หม้อกลาง หม้อจอก หม้อหู และ หม้อกา โดยสามอย่างแรก เป็นหม้อลักษณะกลมก้นมนมีฝาปิด (แบบหม้อต้มยา) ส่วนหม้อหู คือหม้อแกงมีหู และหม้อกา คือกาต้มน้ำ ที่นิยมทำขาย คือ หม้อกลาง และหม้อจอก เฉพาะขนาดพอเหมาะใช้สำหรับหุงต้ม
 

มีดอรัญญิก
มีดอรัญญิก เป็นมีดที่ชาวบ้านไผ่หนอง และบ้านต้นโพธิ์ อำเภอนครหลวง เป็นผุ้ผลิตด้วยเหล็กเนื้อเหนียว แกร่งและคม เหมาะแก่การใช้สอยในหลายรูปแบบ และนำมาจำหน่ายที่ตลาดอรัญญิก คนที่ซื้อใช้จึงเรียกกันติดปากว่า "มีดอรัญญิก"
บรรพบุรุษที่ตีมีดของทั้งสองหมู่บ้าน เป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ ที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๒ และส่วนใหญ่เป็น ช่างผู้มีฝีมือตีเหล็ก นอกจากจะตีมีดอรัญญิกแล้วยังรับทำจอบ เสียม ผาน และทำใบเคียวเกี่ยวข้าว รวมทั้งรับซ่อมเครื่องมือเหล็ก ดังกล่าวอีกด้วย แม้ในปัจจุบัน พวกชาวนาจะหันไปใช้รถไถ รถเกี่ยวข้าวแทนเครื่องมือดั้งเดิมกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ทั้งสองหมู่บ้านก็ยังคงยึด อาชีพนี้เป็นอาชีพหลัก


รูปหินสลัก
การแกะสลักหินมิใช่อาชีพเก่าแก่ของอยุธยา เมื่อเที่ยบกับการปั้นหม้อหรือตีเหล็ก แต่เกิดขึ้นจากผลพลอยได้ ที่ชาวบ้านคลุกคลีอยู่กับศิลปวัตถุโบราณที่ยังคงมีอยู่ทั่วไปในราชธานีเดิมแห่งนี้ และฝีมือช่างของคนยุคหลังก็สามารถทำได้งดงามไม่แพ้ของโบราณ
การบุกเบิกงานช่างแกะสลักหิน เริ่มทดลองและแกะหิน เลียนแบบของโบราณ จนกระทั้งทำเป็นอาชีพ และกลุ่มลูกค้าก็ขยายวงกว้างขึ้น เช่น พระสงฆ์ที่มาจ้างแกะพระพุทธรูป  โรงแรมต่าง ๆ จ้างแกะเทวรูป และงานที่กรมศิลปากรจ้างให้ซ่อมแซมโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น งานการแกะเศียรพระพุทธรูปวัดไชยวัฒนาราม ที่ขาดหายไป
 

ตะเพียนทอง-ปลาไทยจากใบลาน
ปลาตะเพียนใบลานเป็นงานหัตถศิลป์ ฝีมือชาวมุสลิมในท้องที่ท่าวาสุกรี บ้านหัวแหลม ที่อยู่คู่กับกรุงศรีอยุธยามาร่วมร้อย ปี และนับเป็นแหล่งผลิตปลาตะเพียนใบลานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เนื่องจากคนไทยแต่เดิมใกล้ชิดกับปลาตะเพียนมานาน  จนถือว่าปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ตามความเชื่อดังกล่าว จึงมีผู้นำใบลานแห้งมาสานเป็นปลาตะเพียนจำลอง ขนาดต่าง ๆ ผูกเป็นพวง เพื่อนำไปแขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน เป็นศิริมงคลสำหรับเด็ก พร้อมทั้งมุ่งให้เด็กเจริญเติบโต มีฐานะมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ดุจปลาตะเพียนในฤดูข้าวตกรวง
ปลาตะเพียนสาน มี ๒ ชนิด คือ ชนิดลวดลายและตกแต่งสวยงาม ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ และอีกชนิดหนึ่งเป็นเพียงสีใบลานตามธรรมชาติ
 

/heritage/nation/ayutaya/index7, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index8, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 8
ตุ๊กตาชาวบ้าน

ตุ๊กตาดินเหนียวเป็นของเล่นที่เด็กสมัยก่อนคุ้นเคยดังมีคำพังเพยว่า "อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น" แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากยุคสมัยเปลี่ยนไป และตามท้องตลาดมีตุ๊กตาหลากสีที่ผลิตจากโรงงานให้ซื้อมากมาย
ตุ๊กตาจิ๋วดินเหนียวนั้น ส่วนใหญ่ผู้ปั้นจะปั้นทั้งเป็นตัวเดียวและเป็นชุด โดยจะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบทในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ชุดชาวนา เด็กเลี้ยงควาย การละเล่นหัวล้านชนกัน บ่อนตีไก่ ชุดการละเล่นของเด็ก ตาแป๊ะขายก๋วยเตี๋ยวเรือ  ไปจนถึงชุดใหญ่อย่างตลาดน้ำที่มีทั้งเรือแพและเรือลำน้อย ๆ ขายสินค้านานาชนิด และอื่น ๆ อีกมาก


งอบกรุงเก่า

สิ่งที่พบเห็นกันมากในชนบท คือ ชาวนา ชาวไร่ และเหล่าพ่อค้าแม่ค้า มักชอบสวมงอบที่เราคุ้นเคย คือ งอบทรง "คุ้มเกล้า" จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
งอบมีใช้กันแพร่หลายทั่วทุกภาค โดยจะมีรูปแบบและการเรียกชื่อ แตกต่างกันไปตามภาค เช่น ภาคเหนือและภาคอีสาน จะมีลักษณะโค้ง คล้ายกระทะคว่ำแต่ไม่ลึกนัก จะเรียกว่า "กุบ"งอบทางภาคตะวันออก อย่างจังหวัดตาก จะมีทรงกลมสูง  ส่วนงอบทางภาคใต้มียอดแหลม ทรงคล้ายหมวดกุ้ยเล้ยของจีน เรียกว่า "เปี้ยว"
งอบที่ชาวไทยทุกภาคใช้กันอย่างแพร่หลายทำจากวัสดุท้องถิ่น ที่หาได้ไม่ยาก เช่น ใบลาน หรือใบจาก

แหล่งผลิตงอบที่มีชื่อเสียงของอยุธยาสมัยก่อน คือ บ้านโพธิ์ ในเขนอำเภอเสนา เรียกกันว่า "งอบทรงมอญ" ซึ่งมีรูปร่างสวยงามและเป็นที่นิยมของคนทั่วไป ปัจจุบันอำเภอที่นิยมผลิตกันมาก คือ อำเภอบางปะหันในหลายตำบล โดยการร่วมกันผลิตและถือเป็นอาชีพรองจากการทำนา และการผลิตนั้นจะแบ่งกันทำตามความถนัดของคนแต่ละท้องที่ เช่น ตำบลตาลเอนจะสานโครงงอบ ตำบลบ้านลี่สานรังงอบ ส่วนตำบลบางนาร้าจะทำขั้นตอนสุดท้าย คือการกรุเย็บใบลาน เข้ากับโครงงอบ ติดรังงอบ และตกแต่งจนเสร็จสมบูรณ์ ส่วนแหล่งจำหน่ายใหญ่จะอยู่ที่ตลาดบางปะหัน รวมทั้งส่งไปจำหน่ายยังจังหวัดอื่น ๆ อีกด้วย
 

การปรุงเรือนไทย


อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น นอกจากจะเป็นแหล่งผลิตงอบแล้ว ยังมีช่างฝีมือปลูกสร้าง เรือนทรงไทย ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ไทยอย่างหนึ่ง
สำหรับเรือนทรงไทย แม้จะมีขนาดใหญ่โตก็ตาม แต่ยังนับว่าเป็นงานหัตถกรรมชนิดหนึ่ง เพราะเป็นการสร้างขึ้นจากฝีมือและภูมิปัญญาของคนไทย

การสร้างเรือนไทยนั้น ช่างต้องทราบขนาดของเรือนเสียก่อน เนื่องจากการคำนวณขนาดและสัดส่วน ในการสร้างเรือนไทยเป็นสิ่งสำคัญมาก ด้วยช่างจะต้องทำเครื่องไม้ทุกตัวที่จะนำมาประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนให้ครบเสียก่อน โดยแต่ละชิ้นต้องสัมพันธ์กันพอดี และขั้นตอนของการตระเตรียมส่วนต่าง ๆ นี้ ภาษาช่างเรียกว่า "ปรุงเรือน" ซึ่งเมื่อนำส่วนต่าง ๆ "คุม (ต่อเข้าด้วยกัน)" แล้วจึงจะเป็นเรือนที่สมบูรณ์
 

 

เทศกาลและประเพณี

ชาวอยุธยามีชีวิตที่ผูกพันกับท้องน้ำมาโดยตลอด ในอดีตจึงมีเทศกาลที่เป็นงานประเพณีมิได้ขาด และหน้าน้ำคือเดือน 11-12 (พฤศจิกายน-ธันวาคม) จะเป็นเวลาที่คึกคักมากที่สุด ด้วยมีน้ำและข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ เช่น เทศกาลกฐิน งานไหว้พระหลังออกพรรษา รวมทั้งงานลอยกระทงอีกด้วย

นอกจากงานเทศกาลหน้าน้ำแล้ว ยังมีงานประเพณีในรอบปีที่สำคัญ ๆ เช่น งานประเพณีตรุษสงกรานต์เดือน 5 พิธีเวียนเทียนในวันมาฆบูชาและวิสาขบูชา งานเข้าพรรษา และงานสารท เป็นต้น ดังเพลงยาวไทยรบพม่า ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า "ทั้งพิธีปีเดือนทุกคืนวัน สารพันจะมีอยู่อัตรา ฤดูก็ได้เล่นเกษมสุข แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา"
หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายจนสิ้น โบราณราชประเพณีต่าง ๆ จึงย้ายมาประกอบกันในกรุงรัตนโกสินทร์ แม้ปัจจุบันจะมีประเพณีเหลืออยู่ก็ไม่แตกต่างกว่าจังหวัดอื่น ๆ แต่ที่ยังสืบทอดกันมาคือ ประเพณีตามแบบจีน คือ ประเพณีทิ้งกระจาด ที่วัดพนัญเชิง


/heritage/nation/ayutaya/index8, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index9, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 9
เนื่องจากอาณาจักรอยุธยารุ่งเรืองยาวนานถึง ๔๑๗ ปี จึงมีมรดกทางวัฒนธรรม และประเพณีการละเล่นมากมาย หลักฐานที่ปรากฏตามพงศาวดาร จดหมายเหตุและวรรณคดี เช่น หนัง โขน ละคร ระบำต่าง ๆ การเล่นเบิกโรง โมงครุ่ม ระเบ็ง กุลาตีไม้ เทพทอง กระบี่กระบอง มวยปล้ำ หกคะเมน ไต่ลวด รำแพน ลอดบ่วง หุ่น เสภา และสักวา เมื่ออยุธยาล่มสลายลงการแสดงจึงตกทอดเป็นแบบแก่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมา แต่สำหรับอยุธยานั้นคงมีตกทอดในหมู่ชาวบ้านไม่มากนัก  รวมทั้งยังมีมหรสพใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปมาแทน
ปัจจุบันมหรสพพื้นบ้านที่ยังคงนิยมเล่นกันอยู่ในอยุธยา คือ ลิเก ลำตัด ปี่พาทย์ และละครแก้บน


ลิเกอยุธยา


ลิเกชื่อดังเป็นชาวบ้านห้วยทราย ตำบลโพธิ์ลาว อำเภอมหาราช ทั้งสิ้น และมีลิเกในอยุธยาอยู่หลายอย่างกระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมือง บริเวณหัวรอ ประตูชัย ตลาดสวนจิตร (ตลาดอุทุมพร) และแถวสถานีรถไฟ นับเป็นหมู่บ้านลิเกแหล่งใหญ่สุดของอยุธยา  ส่วนใหญ่คณะลิเกจะไปเล่นในงานบวช งานศพ งานกฐิน งานผ้าป่า งานไหว้เจ้า และงานประจำปีของวัดต่าง ๆ ปัจจุบันเรื่องที่เล่นจะแต่งให้สอดคล้องกับยุคสมัย ส่วนเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่เคยนิยมแต่เดิมไม่นิยมเล่นกันเท่าใดนัก นอกจากในงานศพ

ผู้เล่นลำตัดส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิม ต่างจากลิเกที่ผู้แสดงจะเป็นคนไทยล้วน ๆ เพราะลิเกต้องไหว้ครูฤาษี ซึ่งขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม ปัจจุบันคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอยุธยา จะมีอยู่ ๒ คณะ คือ คณะซึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ และคณะคนไทยซึ่งเป็นชาวมุสลิม
การแสดงลำตัด เป็นการเฉีอนคารมกันด้วยเพลง (ลำ) โดยมีการรำประกอบ แต่ไม่ได้เล่นเป็นเรื่องอย่างลิเก และการแสดงต้องมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และเป็นที่นิยมกันมาก  เนื่องจากเป็นการแสดงโดยการใช้ไหวพริบปฏิภาณในการด้นกลอนสด ส่วนการประชันลำตัดระหว่าง ๒ คณะ จะใช้เสียงฮาของคนดูเป็นเกณฑ์ คณะใดได้เสียงฮาเสียงปรบมือมากกว่า ก็จะถือเป็นฝ่ายชนะ
 

สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงลำตัด มีเพียงกลอง รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ และกรับ เท่านั้น


ปี่พาทย์


อยุธยานับเป็นถิ่นที่มีวงปี่พาทย์แหล่งใหญ่แหล่งหนึ่ง ในท้องถิ่นภาคกลาง มีอยู่ด้วยกันหลายวง โดยสืบทอดหลักการทางเพลงดนตรีไทยจากบ้านครู จางวางทั่ว พาทยโกศล ไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด จึงมีเพลงไทยเก่าแบบโบราณอยู่มาก
การแสดงปี่พาทย์ จะใช้แสดงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล เช่น งานบวช งานแต่ง งานศพ ฯลฯ และเครื่องใช้ที่เล่นจะขึ้นอยู่กับเจ้าภาพว่าต้องการเครื่องน้อยหรือเครื่องมาก


ละครแก้บน


ละครแก้บน มีปรากฎตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า ไม่ว่าจะเป็นละครโนรา ละครชาตรี ละครในหรือละครนอก ซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่มีต่อสิ่งสักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เมื่อบนขอสิ่งใดแล้วและได้ผลสมตามความปรารถนาแล้ว ก็ต้องชดใช้
การแก้บนจะใช้การแสดงหรือละครประเภทใด ขึ้นอยู่กับผู้บน หากไม่ระบุมักแก้บนด้วยละครชาตรี ต่อมาระยะหลังนิยมใช้ละครนอก ซึ่งมิได้ยึดถือรูปแบบและขั้นตอนการแสดงแบบดั้งเดิมอีกต่อไป และการ "ยกเครื่อง" จัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของละครแก้บน โดยทำให้เสร็จในช่วงเที่ยงวัน
ละครแก้บนในอยุธยา มีหลายคณะในระบบครอบครัว งานแสดงจะมีมากในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ส่วนใหญ่ในอดีตจะเป็นการแก้บนในเรื่องที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย การให้ได้มาในสิ่งที่ตนปราถนา กลายเป็นแก้บนในเรื่องอื่น ๆ
  /heritage/nation/ayutaya/index9, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index10, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 10


พระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงที่พบในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ที่รู้จักกันดีได้แก่ พระประธานวัดพนัญเชิง หรือพระพุทธไตรรัตนายก ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่ากันว่า "หลวงพ่อโต" พระพุทธประธานวัดมงคลบพิตร พระพุทธประธานวัดหน้าพระเมรุ และเศียรพระพุทธรูปวัดธรรมิกราช (อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเจ้าสามพระยา) พระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ นั้น จะแตกต่างกันที่พระพักตร์ ซึ่งจะลำดับตามยุคสมัย ได้ดังนี้


พระพุทธไตรรัตนายก พระประธานวัดพนัญเชิง (หลวงพ่อโต)

พระพักตร์พระประธานวัดพนัญเชิงนี้ ค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม ไม่แสดงลักษณะเด่นชัดว่าเป็นศิลปอู่ทอง แต่มีเค้าโครงผสมผสานกับศิลปะก่อนกรุงศรีอยุธยา ถึง 26 ปี คือสมัยอโยธยาตอนปลาย เพราะพุทธลักษณะของพระพักตร์คลายความเคร่งเครียดลงไป น่าจะอยู่ในสมัยที่ชาวกรุงศรีอยุธยาเริ่มนับถือศาสนาพุทธแบบหินยาน


พระประธานวัดหน้าพระเมรุ

เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่พุทธลักษณะที่ปรากฏอยู่นั้นเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนกลาง ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง (แบบพระทรงเครื่อง) ด้วยมีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปก่ออิฐในเมรุทิศ เมรุรายวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งพระเจ้าปราสาททองสร้างขึ้น ส่วนพระประธานวัดหน้าพระเมรุ คงจะได้รับการปฏิสังขรณ์ในยุคสมัยนั้น
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ วัดนี้ใช้เป็นที่ลงพระนามสงบศึกกับพม่า จนกระทั่งคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่าได้ใช้วัดนี้ตั้งเป็นกองบัญชาการ จึงรอดจากการถูกทำลาย
 


/heritage/nation/ayutaya/index10, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> /heritage/nation/ayutaya/index11, Fri, 18 Dec 2009 05:24:07 GMT --> Ayuthaya 11


การอนุรักษ์โบราณสถานต่าง ๆ อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งได้เริ่มงานอย่างจริงจัง ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยเริ่มขุดแข่งบูรณะพระราชวังโบราณ วิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ วัดพระราม วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ก็ได้ดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานต่าง ๆ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จึงได้ประกาศ เขตอุทยานประวัติศาสตร์ มีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานดังกล่าว มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๑๘๑๐ ไร่

ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากร ได้เริ่มจัดทำแผนแม่บท นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้ขยายขอบเขตพื้นที่ จากบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์เดิมให้ครอบคลุม เกาะเมืองทั้งเกาะ รวมทั้งบริเวณโดยรอบ รวมทั้งฟื้นฟูบรรยากาศของเมืองเก่า และสภาพแวดล้อม เช่น สร้างป้อมและกำแพงเมืองขึ้นมาใหม่ เป็นบางส่วน ตามแนวกำแพงเมืองเดิม ขุดลอกคูคลองโบราณให้ใช้สัญจร ได้สมจริง ตลอดจนพัฒนาย่านการค้าและหัตถกรรม ที่มีอยู่แต่โบราณ เป็นต้น
ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( United Nation Education Science and Culture Organization) ได้คัดเลือกให้นครประวัติศาสตร์ศรีอยุธยา เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม นับเป็นเกียรติอันสูงส่ง ของไทย ที่นานาชาติได้เห็นคุณค่า และความสำคัญ อย่างยิ่งยวดของมรดกไทยอันมีคุณค่ายิ่งของไทย


โบราณสถานทั้งในเกาะเมืองและรอบเกาะเมืองมีอยู่มากมายหลายร้อยแห่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ได้ถูกทำลายลงไป ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ พบว่า ในบริเวณดังกล่าวมีโบราณสถานมากกว่า ๔๐๐ แห่ง แต่ต่อมาอีก ๒๐ ปี คือเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โบราณสถานดังกล่าวได้ถูกทำลายไปจนเหลืออยู่เพียง ๒๔๙ แห่งเท่านั้น นับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล ห่วงใยในมรดกของชาติในส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง สมควรที่ชาวไทยทุกหมู่ทุกเหล่าได้มีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งแม้แต่ประชาคมโลกก็ยังเห็นคุณค่าอันสูงส่งนี้ ให้ดำรงคงอยู่เป็นเกียรติประวัติ เป็นความภาคภูมิใจ ของประชาชาวไทยตลอดไป

ประวัติอยุธยา ประกอบด้วยข้อมูล ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ประวัติกรุงศรีอยุธยา วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยอยุธยา ประวัติศาสตร์อยุธยา ประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา ไหว้พระ 9 วัด อยุธยา วรรณคดีสมัยอยุธยา วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง กษัตริย์สมัยอยุธยา ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา กรุงศรีอยุธยา การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 2 3 สมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์