ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดสุโขทัย >อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง)/Ramkhamhaeng National Park 

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง)/ Ramkhamhaeng National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยปูชนียวัตถุอันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตกสายรุ้ง อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีเนื้อที่ประมาณ 213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง) กรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าเขาหลวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2512 หลังจากนั้นกรมป่าไม้มีหนังสือที่ กส 0706/2978 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2517 เรื่อง การเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ ให้จังหวัดทุกจังหวัดประสานงานกับป่าไม้เขตดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ในท้องที่แต่ละเขตว่าบริเวณใดบ้างเหมาะที่จะจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจจังหวัดสุโขทัยได้มีหนังสือที่ สท 0009/1370 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2517 ส่งสำเนาหนังสือจังหวัดที่ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับป่าไม้เขตตากมายังกรมป่าไม้ เพื่อให้พิจารณาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง ท้องที่อำเภอคีรีมาศ อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากป่าแห่งนี้มีทรัพยากรที่สำคัญ น้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามและมีปูชนียวัตถุ อันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีหนังสือที่ 177/2518 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า ป่าเขาหลวงมีสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ จึงเริ่มดำเนินการจัดตั้งป่าเขาหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติรามคำแหง” ซึ่งได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงแสนยานุภาพเป็นอัจฉริยะทางด้านความคิดของกรุงสุโขทัย มาเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นชอบในหลักการให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวงในท้องที่ตำบลบ้านด่าน ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย และตำบลบ้านป้อม ตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 18 ของประเทศ

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง)ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ตั้งสูงขึ้นไปจากที่ราบคล้ายจอมปลวก ซึ่งแยกตัวจากเทือกเขาอื่นโดยเด่นชัด มีลักษณะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ “เขาหลวง” ประกอบด้วยเขานารายณ์ สูง 1,160 เมตร เขาพระเจดีย์ สูง 1,185 เมตร เขาภูคาและเขาพระแม่ย่า สูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำยม ประกอบด้วย คลองตาเจ็ก คลองเสาหอ คลองวังเงิน คลองเนินคลี คลองด้วงงาม คลองลานทอง คลองมะซาง และคลองเพชรหึง เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง) ลักษณะภูมิอากาศ
บริเวณอุทยานแห่งชาติรามคำแหงจัดอยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับแห้งแล้งในเขตร้อน ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 31 องศาเซลเซียส แต่อากาศเย็นในตอนกลางคืน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,323 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็นสบาย โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวงอุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม – มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.6 องศาเซลเซียส

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง)พืชพรรณและสัตว์ป่า
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหงปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรัง รองลงมาคือ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ตามลำดับ

ป่าเต็งรัง พบตั้งแต่พื้นที่ระดับต่ำขึ้นไป ตามไหล่เขาและสันเขาที่แห้งแล้ง พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 140-900 เมตร ซึ่งมีดินตื้นและอุดมสมบูรณ์ต่ำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง เหมือดหลวง มะเกิ้ม ตาลเหลือง แข้งกวาง รักขน สารภีป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ขางครั่ง นมแมว ย่านลิเภา เป้ง ปรง เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง) ป่าเบญจพรรณ ที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ตามร่องห้วยและหุบเขาที่ชื้นปานกลาง แต่แห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง โดยพบตามร่องห้วยในบริเวณที่มีป่าเต็งรังอยู่ตามไหล่เขาและสันเขา ตามพื้นที่รอยต่อกับป่าดิบแล้งที่มีสภาพความชุ่มชื้นน้อยลง และพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เปล้าหลวง ตีนนก เครือออน อุโลก ตะแบกเปลือกบาง แดง ตะคร้อ ปอยาบ แคทรายงิ้วป่า เค็ด ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบมากได้แก่ หวายขม กระทือ มะแฮะนก และเขิงแข้งม้า เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาที่ชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี จากพื้นล่างขึ้นไปตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 150-900 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางแดง ปอสลักพาด คำไก่ มะไฟ เลือดควายใบใหญ่ เสลาดำ ดีหมี จิก ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่เฮียะ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม หวายโป่ง หวายนิ้ว เขิงช้าง และว่านนกคุ้ม เป็นต้น สำหรับพื้นที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตรขึ้นไปเป็น

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง) ป่าดิบเขา ซึ่งกระจายอยู่เป็นหย่อมเล็กๆ ตามยอดเขา และพบทุ่งโล่งที่มีหญ้าปกคลุมสลับกันอยู่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตองลาด จำปีป่า มันปลา สอยดาว ไคร้ขน หมี่ปัง อบเชย ตองหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ คนางใบหยก เขิงแข้งม้า ก๋ง เป็นต้น

น้ำตกลำเกลียว สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหงประกอบด้วย เก้ง หมูป่า ลิงกัง ชะมดเช็ด อีเห็นเครือ ลิ่นใหญ่ ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวขอบหูกลาง กระรอกท้องแดง กระรอกหลากสี กระจ้อน นกเขียวก้านตองหน้าผากสีทอง นกแซงแซวหางปลา นกจับแมลงจุกดำ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกระจิ๊ดธรรมดา นกกินแมลงอกเหลือง นกตีทอง นกบั้งรอกใหญ่ กิ้งก่าเขาหนามสั้น จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหางยาว ตุ๊กแกบ้าน ตะกวด งูลายสาบคอแดง งูเขียวหัวจิ้งจกป่า งูเหลือม อึ่งอ่างบ้าน กบว้าก อึ่งน้ำเต้า และกบหลังไพล เป็นต้น ในบริเวณแหล่งน้ำพบปลาหลากชนิด เช่น ปลาแขยง ปลาซิวควาย ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาเข็ม และปลากระดี่ เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง เป็นอุทยานแห่งชาติที่พบหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ได้แก่ รอยพระพุทธบาท อยู่ที่เชิงเขาถ้ำพระบาท ปรางค์เขาปู่จา ซึ่งเป็นศิลปะเขมรสมัยบาปวน ถนนพระร่วง ที่เชื่อมระหว่างเมืองกำแพงเพชรผ่านสุโขทัยไปพบกับศรีสัชนาลัย ซึ่งเชื่อว่าสร้างขึ้นเมื่อกว่า 700 ปีก่อน ปล่องนางนาค และเขื่อนสรีดภงส์ ซึ่งเป็นทำนบกั้นน้ำในสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจดังนี้

เขาหลวง
เป็นภูเขาที่มียอดเขาสูงที่สุดอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย รูปพรรณสัณฐานคล้ายสตรีนอนสยายผมที่มีส่วนใบหน้าเคลียอยู่กับเมฆหมอกตลอดเวลา บนยอดเขามีทิวทัศน์สวยงามประกอบไปด้วยยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ บริเวณผานารายณ์เป็นจุดที่สามารถไปยืนชมทิวทัศน์กว้างไกลของทุ่งหญ้าและผืนป่าดงดิบตามริมห้วยชุ่มชื้น และยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและตกในยามเย็น จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีเส้นทางเดินเท้าสู่ยอดเขาหลวงระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางดิ่งชันขึ้นที่สูงตลอด ผู้ที่ต้องการพิชิตยอดเขาหลวงจึงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม ระหว่างทางจะพบกับสิ่งที่น่าสนใจเป็นระยะๆ ช่วงแรกผ่านไปตามป่าดงดิบแน่นทึบ เมื่อถึงต้นประดู่ใหญ่ที่ยืนต้นตระหง่านอยู่ริมทาง สภาพทางจะเริ่มชันขึ้นๆ ราวกับหน้าผา รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร ระหว่างทางมีจุดให้พักชมทิวทัศน์ จนไปถึงจุดพักที่เรียกว่า น้ำดิบผามะหาด ซึ่งมีธารน้ำซับให้แวะพักล้างหน้าล้างตา จากนั้นทางจะลาดขึ้น จนกระทั่งถึงยอดเขาหลวง
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์ - แค็มป์ปิ้ง - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทุ่งหญ้าธรรมชาติ
บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร โดยเฉพาะบริเวณสวนขวัญไทรงาม ไทรขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงามเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวง
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์

สมุนไพร และว่าน
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีว่านและสมุนไพรหลายร้อยชนิด เช่น โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้ม อบเชย หนุมานประสานกาย เสน่ห์สาวหลง หนุมานนั่งแท่น สบู่เลือด เพชรหน้าทั่ง เลือดค้างคาว รางจืด กระวาน กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ
กิจกรรม -ชมพรรณไม้

น้ำตกสายรุ้ง
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สูงชันและสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์มาเป็นลำธารคลองไผ่นาไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีโตรกผาสูงชันกว่าร้อยเมตร มีทั้งหมด 4 ชั้น น้ำตกชั้นบนสุดเป็นชั้นสูงใหญ่และงดงามมาก แต่ต้องเดินเท้าทวนสายน้ำตกขึ้นไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร น้ำตกสายรุ้งมีน้ำตกเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น การเดินทางจากอำเภอคีรีมาศ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกเข้าสู่บ้านใหม่เจริญผล เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงน้ำตก
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน
เป็นแหล่งชมทัศนียภาพของทิวเขา วิถีชีวิตของผู้มีอาชีพหาปลา และในฤดูหนาวจะมีนกเป็ดน้ำเข้ามาอยู่ในอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก เป็นจุดแวะพักก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ประมาณ 12 กิโลเมตร
กิจกรรม -ชมทิวทัศน์

น้ำตกหินราง น้ำตกลำเกลียว
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใส โอบล้อมไปด้วยสภาพธรรมชาติที่สวยงามของป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งที่แทรกตัวอยู่เป็นระยะๆ มีโขดหินขนาดใหญ่จำนวนมาก มีบรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น เย็นสบาย และให้ความเป็นส่วนตัว การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกที่บ้านนาสระลอยเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 150 กิโลเมตร เมื่อถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (น้ำตกลำเกลียว) ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตกชั้นที่สูงสุด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกหินราง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นร่องหินที่มีน้ำไหลลงมาเป็นทางมีน้ำไหลเป็นบางฤดู
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

ถ้ำนารายณ์
ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นเขาหลวง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งสลักจากหินทรายโบราณที่มีพุทธลักษณะคล้ายรูปพระนารายณ์ จึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานเป็นชื่อถ้ำ ปัจจุบันได้ย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำพระแม่ย่า
ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเดิมของพระแม่ย่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวสุโขทัย ลักษณะคล้ายเพิงหินขนาดใหญ่ และด้านหลังเป็นถ้ำตื้น การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกบ้านขุนนาวัง เลี้ยวซ้ายผ่านเขากุดยายชีเข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ รค.3 (ถ้ำพระแม่ย่า) ไปก็จะถึงถ้ำพระแม่ย่า
กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์ - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ลานพม่าลับหอก
ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นลานหินทรายขนาดใหญ่ในลำน้ำ ซึ่งเดิมเป็นจุดพักทัพ และลับอาวุธของทหารพม่า ขณะที่เดินทางมารบกับไทยในสมัยสุโขทัย
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

พระร่วงวิ่งว่าว
ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ มีตำนานเล่าขานว่า เดิมบริเวณนี้เป็นสถานที่ที่พระร่วงมาเล่นว่าว เคยมีประเพณีสักการบูชาสืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งเกิดขึ้นจากความเชื่อของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร
กิจกรรม -ชมประวัติศาสตร์ - ชมวัฒนธรรมประเพณี

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง) เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติรามคำแหงได้จัดทำเส้นทางเดินป่าเพื่อศึกษาความหลากหลายของธรรมชาติไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่
• เส้นทางศึกษาธรมชาติ สายที่ 1 อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง 300 เมตร จุดเริ่มต้นอยู่ใกล้กับพื้นที่กางเต็นท์ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการศึกษาสภาพธรรมชาติของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ลานสมุนไพรโบราณ ป่าเต็งรัง ลำน้ำ สภาพป่าธรรมชาติที่มีการทดแทนตลอดเวลา และน้ำตกหินราง
• เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 2 เป็นเส้นทางที่เหมาะกับกิจกรรมเดินทางไกลในการศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติ และชมสวนสมุนไพรโบราณ จุดเริ่มต้นเดียวกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 1 ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
ตู้ ปณ. 1 อ. คีรีมาศ จ. สุโขทัย 64160
โทรศัพท์ 0 5561 9200 อีเมล์ reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง) การเดินทาง
รถยนต์
การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติรามคำแหงสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ
• จากกรุงเทพฯ เดินทางสู่ถนนกำแพงเพชร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย แยกซ้ายเข้าสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร
• จากกรุงเทพฯ เดินทางสู่พิษณุโลก ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 แล้วเดินทางต่อไปจังหวัดสุโขทัยตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอกงไกรลาศ เข้าสู่อำเภอเมืองสุโขทัย แล้วเดินทางสู่อำเภอคีรีมาศ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร และแยกขวาที่อำเภอคีรีมาศ เข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง)รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม

กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน

 


     
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง(เขาหลวง)/ Ramkhamhaeng National Park

 

General Information
RamKhamhaeng National Park, within the province of SuKhothai, is surrounded by the districts of Kirimas, Ban Dan Lan Hoi, and the provincial capital of SuKhothai. The park is also Known as Khao Luang by many of the local peoples. It covers an area of about 341 square kilometers,or 213,125 rai. Khao Luang is an important source of water for its’ surrounding areas. The park also contains a lot of natural beauty such as the Khao Luang mountain range, Sai Rung Waterfall, a herbal garden, and the Savannah located in the high country of the Khao Luang range.

History is another important part of RamKhamhaeng National Park. Most people consider SuKhothai to have been the first capital of Thailand (13th to 14th centuries). The SuKhothai Historical Park, where a former main center of this ancient capital existed, actually merges with RamKhamHaeng National Park in the northeastern corner of the Khao Luang range. Many ancient structures were built within Khao Luang too. The RamKhamhaeng National Park area is actually even mentioned in the famous stone SuKhothai Inscription I of King Pa Khun RamKhamhaeng, the great King of the period - “In the direction of the head while sleeping (meaning south) in the city of SuKhothai there are Kuti (monks’ residences), Wihan (Theravada congregation halls for lay persons in a Thai Wat), venerated monks, dams and canals. There are coconut groves, jackfruit groves, mango groves, and tamarind groves. There are also waterfalls, and Phra Kapung Phi- god of the mountain (Khao Luang), Who reigns over all the spirits of this area. Whatever leader rules SuKhothai must pay proper respect to the spirits-if the spirits are fed rightly the city will be good– if not, the spirits will not give protection, and the city will be gone.

Sukhothai Inscription is further evidence of the important, even sacred, relationship between the peoples of this original Thai capital and the natural area of RamKhamhaeng National Park

In 1974 the Royal Forest Department issued letters to SuKhothai provincial authorities, including forestry officials of the province, asking them to inspect the Khao Luang area. The purpose of this inspection was to determine whether this area was suitable to become either a wildlife sanctuary or national park. Sukhothat provincial authorities, along with the Tak Royal Forest Department Unit, proposed that Khao Luang should become a national park. The National Parks’ Division of the Royal Forest Department than presented a proposal to the National Park Committee at their second meeting on October 22, 1975. An agreement was reached to set up a national park in this area by royal decree-recorded in the Royal Gazette-number 97, section 165, October 27, 1980 This area became the 18th national park of Thailand Park in honor of King Pa Khun RamKhamhaeng.

The Majority of the park’s land is within the contours of the Khao Luang Mountain range. This mountain range is situated on a north-south axis. Khao Luang is like a giant ant hill in the middle of a rice field, for it is surrounded by low farmland. The waters of the Khao Luang range are essential to the agricultural lands below. These waters are also tributaries of the Yom River to the east, and the Ping River in the west. Another notable topography of this park are the 4 main peaks of the Khao Luang range-Khao Phu Ka, Khao Phra Mar Ya, Khao Jedi, and Pha Na Rai

Climate
The high country of the Khao Luang range is known for its’ year round comfortable cool weather. In general, the best time to visit the park is during the cold season (October thru January), but the best time to Visit Sai Rung Waterfall is during the rainy season (June thru September).

Flora and Fauna
Most of the forest in the park is in a pristine condition. The main types of forest to be found are the dry evergreen forest, hill evergreen forest, the mixed deciduous forest, dry dipterocarps forest, and a savannah. Some of the important tree species within the park are Hopea odorata Roxb., Anisoptera glabra, Mangifera Spp., Tectona grandis, Pterocarpus macrocarpus, Xylia kerrii, Shorea obtusa, Shorea siamensis, and Dipterocarpus obtusifolius. There are also various Kinds of bamboo and medicinal plants.

There are a number of wild animals and birds to be found in the park. Some of the Known, and believed to exist, animals in the park are bantengs, barking deer, asiatic black bears, wild pigs, monkeys, gibbons, serow, and squirrels. There are also various Kinds of birds, both resident and migratory, such as hill mynas, maroon orioles, barbets, laughing thrushes, Chinese francolins, greater coucals, robins, owls, hawks, kingfishers, woodpeckers, swallows, red jungle fowl, and common Koels.

Khao Luang Mountain
It’s the highest mountain located on the south of Sukothai town. The shape of the mountain can be described as a lady laying with her hair loosing, with her face lingered by the mist. Attractively, the mountain consisted of four summits which are Narai, Phu Ga, Jedi, and Mae Ya. All of them are covered with beautiful natural grassland. The highest summits are Jedi and Mae Ya, 1,200 meters above average sea level.

Natural Grass Field
On the top of the mountain lays the natural grass field about 3,000 Rais or 4.8 squares kilometers. Some plants are herb. And in Kwan Sai Ngam Garden has a very big banyan tree spreading its branches widely and beautifully suitable for stopping by during going to the top of Khao Luang Mountain.

Herbs
There are hundreds of herbs in the national park such as prickly leaved elephants’ foot, hosta, cinnamon, Schefflera leucantha Vig, Stephania rotunda Lour, Siamese cardamom, Ziziphus attopensis Pierre etc.

Sai Rung Waterfall
This waterfall originates from water flowing down from the high country of the Khao Luang range. There is a section of this waterfall where water pours down a cliff that is approximately 100 meters high.

Contact Address
Ramkhamhaeng National Park
P.O.Box 1 Amphur Khirimas Sukhothai Thailand 64160
Tel. 0 5561 9200 E-mail reserve@dnp.go.th

How to go?
By Car
There are two major ways to come from Bangkok by road:

Travel from Bangkok to the provincial capital of NaKhon Sawan by the Asia Highway, and then travel from NaKhon Sawan to the provincial capital of Kamphaeng Phet-SuKhoThai by Highway1, from there travel to district Kirimas in the province of SuKhothai by Highway 101, at the major 4 way intersection in Kirimas turn left, then follow signs leading to the park headquarters approximately 15 Kilometers from the 4 way intersection.

Travel from Bangkok to the provincial capital of Nakhon Sawan by the Asia Highway, and then travel from Nakhon Sawan to the provincial capital of Phitsanulok on Highway 117 (There is also a train that connects Phitsanulok and Bangkok), from there travel to the provincial capital of SuKhothai by Highway 12, and then travel on Highway 101 to the major 4 way intersection of Kirimas, at the intersection turn right and follow signs leading to the park headquarters.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์