ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > เที่ยวไปชมไป

คำนำ ๑.ราชอาณาจักรสยาม ๒.ขนบธรรมเนียมประเพณี ๓.จารีตประเพณีตามชั้นบุคคล


ความรู้เรื่องเมืองสยาม
จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์

            เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง
            หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึงเสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตุเรื่องราวนานาประการที่แปลก ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ

            เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑)
            ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตุ และรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้


ตอนที่หนึ่งราชอาณาจักรสยาม
บทที่หนึ่ง ลักษณะทางภูมิประเทศ

            ๑. เหตุใดราชอาณาจักรนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก   การเดินเรือได้ช่วยให้เรารู้จักตำบลชายฝั่งของอาณาจักรนี้บ้าง และมีผู้เขียนไว้บ้างแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แทบจะไม่รู้เรื่องราวกันเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ขึ้นไว้ หรือหากทำไว้ก็คงปกปิดไว้เป็นความลับ แผนที่ที่เขานำมาแสดง เป็นงานของชาวยุโรปผู้หนึ่งทำไว้ โดยได้ทวนแม่น้ำไปถึงอาณาเขต
            ๒. พรมแดนด้านเหนือ  ไปถึงองศาที่ ๒๒ และโดยที่อ่าวสยามอยู่ที่ ๑๓ องศา ดังนั้ขนาดของพื้นที่จะตกประมาณ ๑๗๐ ลี้ ตามวัดขึ้นไปเป็นเส้นตรง โดยคิด ๒๐ ลี้ต่อองศาละติจูด (ลี้กิโลเมตริก ๔ กิโลเมตร ลี้บก  ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ลี้ทะเล  ๕,๕๕๖ กิโลเมตร)
            ๓. เชียงใหม่ และทะเลสาบ  ชาวสยามกล่าวว่าเชียงใหม่อยู่ห่างจากพรมแดนราชอาณาจักรขึ้นไป ระยะเดินทาง ๑๕ วัน (๖๐ - ๗๐ ลี้) การนับวันคือ การเดินเรือทวนน้ำ มีผู้เล่าว่าเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา พระเจ้าอยู่หัวได้ยกทัพไปตีเมืองนั้นแล้วทิ้งให้ร้าง โดยกวาดต้อนคนมาหมด ต่อจากนั้นว่าพระเจ้าอังวะ ซึ่งเมืองพะโค เป็นเมืองขึ้นได้มาส้องสุมผู้คนขึ้นใหม่ แต่ชาวสยามที่ขึ้นไปในกองทัพครั้งนั้น ไม่มีใครได้เห็น หรือรู้ว่ามีทะเลสาบลือนาม ซึ่งนักภูมิศาสตร์ของเราระบุว่าเป็นต้นแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อทวนน้ำขึ้นไปต้นน้ำประมาณ ๕๐ ลี้ ก็มีลำน้ำพอที่เรือขนาดย่อม ๆ จะผ่านขึ้นไปได้เท่านั้น
            ๔. ประเทศสยามเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา  มีอาณาเขตกันด้วยภูเขาสูง ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกจรดทิศเหนือ แบ่งเขตกับราชอาณาจักรลาว ทางทิศเหนือกับทิศตะวันตกก็มีภูเขากั้น แบ่งเขตกับราชอาณาจักรพะโคและอังวะ ระหว่างเทือกเขาทั้งสอง (มีคนอาศัยอยู่น้อย เป็นคนป่าและยากจนแต่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร) เป็นที่ราบใหญ่ บางตอนกว้าง ๕๐ - ๑๐๐ ลี้ มีแม่น้ำไหลผ่านไหลลงอ่าวสยาม แยกออกเป็นสามแคว
 

            ๕. เมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายนี้  ลึกจากปากน้ำ ๗ ลี้ เป็นเมืองบางกอก ชาวสยามไม่นิยมปลูกเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลนัก มักชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ ที่ขึ้นล่องสะดวกแก่การค้าทางทะเล ชื่อตำบลมักขึ้นต้นด้วยบ้าน
            ๖. สวนผลไม้บางกอก  มีอาณาบริเวณยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ถึง ๔ ลี้ จรดตลาดขวัญ
            ๗. เมืองอื่น ๆ บนฝั่งแม่น้ำ  ตำบลสำคัญคือ แม่ตาก เป็นเมืองเอก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนพายัพ ถัดไปเป็นเมืองเทียนทอง (เชียงทอง) กำแพงเพชร (กำแปง) แล้วถึงเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางกอก ถึงทางชัยนาทกับสยามค่อนไปทางตะวันออกเป็นเมืองละโว้ ตรงละติจูด ๑๔  ๔๒  ๓๒ ตามที่บาทหลวงเยซูฮิตได้คำนวณไว้ พระเจ้ากรุงสยาม โปรดไปอยู่เมืองนั้นเกือบตลอดปี เมืองเทียนทองร้างไปคงเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพระโค
            ๘. ลำน้ำที่เรียกแม่น้ำเหมือนกัน  ที่เมืองนครสวรรค์ เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเหนือ นักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสบอกว่าไหลจากทะเลสาบเชียงใหม่ แต่ยืนยันว่าต้นน้ำมาจากเทือกเขา ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองขึ้นไปไม่ไกลนัก ไหลผ่านเมืองฝาง พิชัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และบรรจบกับแม่น้ำสายอื่น
                เมืองพิษณุโลก  มีเจ้าสืบวงศ์เช่นเมืองตากมีการค้าขายมาก มีหอรบ ๑๔ แห่งอยู่ละติจูด ๑๙
                เมืองนครสวรรค์  อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกกับเมืองสยาม (อยุธยา) ระยะทางขาขึ้น ๒๕ วัน โดยทางเรือ แต่อาจร่นมาเป็น ๑๒ วัน ถ้ามีฝีพาย และพายอย่างรีบเร่ง
            ๙. เมืองไม้  เมืองเหล่านี้ไม่ผิดกับเมืองอื่น ๆ ในสยามคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบด้วยรั้วไม้เสา บางทีมีกำแพงหินและอิฐ แต่มีน้อย
            ๑๐. ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝาง  เพราะเมืองนั้นเป็นที่เก็บพระทันตธาตุ ชาวสยามจึงสร้างวิหารเจดีย์ไว้เพื่อบูชา บางคนเรียกเมืองพัน ทำให้มีชาวพะโค (มอญ) และชาวลาว นอกจากชาวสยามมาชุมนุมนมัสการด้วย
            ๑๑. ความเชื่อที่พระบาท  อยู่ห่างเมืองละโว้ไปทางตะวันออก ๕ - ๖ ลี้
            ๑๒. พระบาทคืออะไร  คือพิมพ์เท้ามนุษย์ โดยฝีมือช่างสลักอย่างหยาบ ๆ ลงในหิน ลึก ๑๓ - ๑๔ นิ้ว ยาวกว่าเท้าคนทั่วไป ๕ - ๖ เท่า  กว้างทำนองเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปนมัสการเป็นประจำทุกปี โดยขบวนพยุหยาตราเป็นพระราชพิธีใหญ่ พระพุทธบาทหุ้มด้วยแผ่นทองคำ  อยู่ในมหามณฑปที่สร้างสวมไว้  ตามคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ พระบาทนี้เพิ่งมีตำนานมาได้ไม่เกิน ๙๐ ปี
            ๑๓.  มูลเหตุความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้  คนสยามเป็นเพียงนักลอกแบบที่หยาบ ๆ พงศาวดารอินเดียได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงสิงหฬ (ซีลอน)  องค์หนึ่งได้สงวนเขี้ยวลิงตัวหนึ่งไว้ด้วยความนับถือยิ่งยวด ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระองค์พยายามไถ่คืนจากอุปราชแห่งอินเดียว ซึ่งยึดเขี้ยวนั้นมาจากชาวอินเดีย แต่ไม่เป็นผล อุปราชอินเดียได้เผาเขี้ยวนั้นแล้วทิ้งแม่น้ำไป
            ๑๔.  อะไรคือรอยเท้าอาดัมในลังกา  ชาวปอร์ตุเกศเรียกรอยเท้าในสิงหลว่า เท้าอาดัม และพวกเขาเชื่อว่าลังกานั้นคือ สวนสวรรค์ในไบเบิล
บทที่สอง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ แห่งราชอาณาจักรสยามต่อจากที่ว่าด้วยเมืองหลวง
            ๑.  เมืองอื่น ๆ   ติดเส้นแบ่งพรมแดนกับประเทศพะโค  เป็นที่ตั้งของเมืองกาญจนบุรี  ติดกับพรมแดนลาว มีเมืองโคราชเสมา และเมืองที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายเหนือนครสวรรค์คือ สุโขทัย  ซึ่งอยู่ในระดับพื้นที่สูงเกือบเท่าเมืองพิจิตร กับเมืองสังคโลก  ซึ่งตั้งอยู่คล้อยทางด้านทิศเหนือไปเล็กน้อย
            ๒.  บ้านเมืองที่มีลำคลองตัดกันมากมาย   ชาวสยามขุดคลองเป็นอันมาก ถ้าจดจำไม่ดี จะนับบรรดาเมืองที่ตั้งอยู่ตามริมน้ำได้ไม่ถ้วน
 

            ๓. ลักษณะเมืองสยาม (อยุธยา)  คลองทำให้เมืองสยามกลายเป็นเกาะ แต่ว่าอยู่ท่ามกลางเกาะหลายเกาะด้วยกัน อยุธยาอยู่ที่ละติจูด ๑๔ ํ ๒๐" ๔๐"  ลองติจูด ๑๒๐ํ ๓๐'  รูปร่างคล้ายถุงย่าม ปากถุงอยู่ทางทิศตะวันตก แม่น้ำใหญ่บรรจบกับลำคลองหลายสาย ซึ่งแล่นวงรอบกรุงตรงด้านเหนือ แล้วแยกลงด้านใต้เป็นหลายแพรกด้วยกัน  พระบรมมหาราชวังอยู่ทางด้านทิศเหนือ พบลำคลองที่เป็นคูเมืองด้านตะวันออก มีทางเดินข้ามอยู่แห่งเดียว คล้ายคอคอด จะออกพระนครได้โดยไม่ต้องข้ามลำน้ำ
            ตัวพระนครกว้างขวางมาก มีกำแพงล้อมตัวเกาะ ในกำแพงเมืองมีคนอยู่ประมาณ ๑ ใน ๖ หมายถึงพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นอกนั้นรกเป็นป่ามีแต่วัดเท่านั้น เขตชานพระนครซึ่งมีชาวต่างประเทศอยู่ทำให้ เพิ่มจำนวนพลเมืองขึ้นอีกมาก ถนนในหมู่บ้านชาวต่างประเทศกว้างและเป็นเส้นตรง บางแห่งปลูกต้นไม้ และปูถนนด้วยแผ่นอิฐตะแคง บ้านชาวพื้นเมืองโดยมากเป็นเรือนต่ำสร้างด้วยไม้  ถนนส่วนใหญ่มักมีลำคลองขนานเป็นแนวตรงไปด้วย  ทำให้เปรียบเมืองสยามได้กับเมืองเวนิช  ตามคลองหลอดมีสะพานเชือกเล็ก ๆ ไม่มั่นคงนัก ทอดข้ามเป็นอันมาก บางแห่งมีสะพานก่ออิฐถือปูนสูงมาก และฝีมือหยาบเต็มที
            ๔. นามของสยาม  คำว่า สยามไม่เป็นที่รู้จักของชนชาวสยามเอง เป็นคำที่พวกปอร์ตุเกศ ซึ่งอยู่ในชมพูทวีปใช้เรียก เป็นนามประชาชาติ ไม่ใช่นามแห่งราชอาณาจักร และคำนามว่า พะโค ลาว มะหง่ล  (Mogol)  กับชื่ออื่น ๆ เป็นอันมาก ซึ่งพวกเราใช้เรียกอาณาจักรต่าง ๆ ในชมพูทวีป ก็เป็นคำที่ใช้เรียกประชาชาติ
            ๕. นามอันแท้ของชาวสยามก็คือ ฟรังซ์ นั่นเอง  ชาวสยามเรียกตนเองว่า ไทย แปลว่า อิสระ  ผู้ที่รู้ภาษาพะโคยืนยันว่า สยาม แปลว่า อิสระ ในภาษานั้น  คำว่า ฟรังซ์ เป็นนามที่บรรพบุรุษฝรั่งเศส ใช้เมื่อสลัดแอกชาติโกลออกจาก อำนาจปกครองของจักรวรรดิ์โรมัน
            ส่วนเมืองสยาม   ชาวสยามเรียกว่า ศรีอโยธยา  บางทีก็เรียกว่า กรุงเทพพระมหานคร
            ๖. ชนต่างจำพวกสองชาติเรียกตนเองว่าสยาม  ชาวสยามที่กล่าวถึง เรียกตนเองว่า ไทยน้อย ยังมีชนอีกพวกหนึ่ง ยังป่าเถื่อนอยู่มาก เรียกกันว่า ไทยใหญ่  อยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ
            ๗. ภูเขาอื่น ๆ และเขตแคว้นอื่น ๆ   เทือกเขาอันเป็นพรมแดนระหว่างอังวะ พะโค และสยาม นั้น ค่อยราบลงทีละน้อย เมื่อแผ่ลงมาทางตอนใต้ กลายเป็นคาบสมุทรอินเดียน  นับแต่ปากน้ำคงคาออกมา และสิ่นสุดลงที่เมืองสิงคะปุระ คั่นอ่าวสยามกับอ่าวเบ็งกะหล่า ให้เแยกจากกัน  ซึ่งเมื่อรวมกับเกาะสุมาตรา เข้าด้วยแล้วก็เกิดเป็นช่องแคบมะละกา  หรือช่องแคบสิงคะปุระ  อันลือชื่อ มีลำน้ำหลายสายจากภูเขาต่าง ๆ ในคาบสมุทรนี้ หลั่งลงในอ่าว ภูเขาลูกอื่น ๆ อันเป็นพรมแดนสยามกับลาว ก็ยื่นลงมาทางใต้เหมือนกัน ค่อยเตี้ยลงทีละน้อยจนสิ้นสุดลงที่ แหลมกัมโพชา  ซึ่งตั้งอยู่ตะวันออกสุดของทวีปเอเซีย  อ่าวสยามเริ่มต้นตรงระดับเดียวกับแหลมจะงอยนี้ และอาณาจักรสยามก็แผ่ออกไปมากทางด้านใต้ ทั้งสองฟากอ่าวเป็นรูปเกือกม้าคือ  ตามอ่าวทางตะวันออกถึงแม่น้ำจันทบูร  อันเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรกัมโพชา  ทางตะวันตกของอ่าวสยาม อาณาเขตสยามแผ่ลงมาถึงเมืองเกคะ และเมืองปัตตานี อันเป็นดินแดนแคว้นของชาวมลายู ซึ่งแต่ก่อนนี้ เมืองมะละกา เป็นเมืองหลวง
            ๘. ฝ่ายชายทะเลสยาม  ชายทะเลสยามยาวประมาณ ๑๐๐ ลี้  และทางอ่าวเบ็งกะหล่า อีกประมาณ ๑๘๐ ลี้
            ๙. เกาะของสยามในอ่าวเบ็งกะหล่า  มีเกาะใหญ่น้อยเป็นอันมาก  เรียงรายอยู่หนาแน่น เกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่มีท่าเรืออย่างดี สมบูรณ์ด้วยน้ำจืดและป่าไม้ เป็นเครื่องล่อให้ชวนกันมาตั้งอาณานิคมใหม่อย่างยิ่ง พระเจ้ากรุงสยามถือว่าพระองค์เป็นใหญ่เหนือแผ่นดินเหล่านี้  แม้ชาวสยามน้อยนัก จะอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยุ่ในแหลมมลายา ทั้งพระองค์เองก็ไม่มีกำลังทางทะเลเพียงพอที่จะแผ่อำนาจ เพื่อกีดกันมิให้ชาวต่างประเทศอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เอาตามอำเภอใจได้
            ๑๐.   เมืองมะริด  ตั้งอยู่ที่แง่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่  ที่มีผู้คนมากเกาะหนึ่ง มีปลายแม่น้ำสวยงามสายหนึ่งล้อมรอบเป็นขอบคู  ท่าเรือเมืองมะริด กล่าวกันว่า สวยงามที่สุดแห่งชมพูทวีป
บทที่สาม ประวัติศาสตร์และต้นกำเนิดของชนชาวสยาม
            ๑. ชาวสยามไม่ค่อยสนใจในประวัติศาสตร์ของตนนัก  ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยนิยาย หนังสือก็มีน้อย  เพราะชาวสยามยังไม่รู้จักใช้เครื่องตีพิมพ์ มีผู้กล่าวว่าชาวสยาม แสร้งปกปิดประวัติศาสตร์ของตนไว้  และยืนยันว่าชาวสยามมีประวัติย้อนขึ้นไปไม่ไกลเท่าใดเลย
            ๒. ศักราชสยาม  ชาวสยามเริ่มศกใหม่ในเดือนธันวาคม การเริ่มศักราชนับจากวันปรินิพพานของสมเด็จพระสมณโคดม
            ๓. พระมหากษัตริย์สยาม  ปฐมกษัตริย์สยาม พระนามว่า พระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร พระนครแห่งแรกคือ ไชยบุรีมหานคร  เมื่อปี พ.ศ.๑๓๐๐  ได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายมีพระนามว่า พญาสุนทรเทศมหาเทพราช ได้ย้ายพระนครมาสร้างราชธานีใหม่ที่เมืองธาตุนครหลวง ในปี พ.ศ.๑๗๓๑  พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๒  พระนามว่า พระพนมไชยศิริ ได้ให้ราษฎรอพยพตามไปยังเมืองนครไทย ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเขาแดนลาว และไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตอนเหนือเมืองพิษณุโลก ขึ้นไปเล็กน้อยไกลกัน ๔๐ - ๕๐ ลี้  แต่พระมหากษัตริย์องค์นี้มิได้อยู่ที่เมืองนครไทยตลอดมา แต่ได้ไปสร้างและประทับอยู่ ณ เมืองพิบพลี บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ห่างจากปากน้ำราว ๑ ลี้ ทางทิศตะวันตกของปากน้ำเจ้าพระยา  มีพระมหากษัตริย์สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีกสี่ชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายมีพระนามว่า รามาธิบดี ได้ทรงสร้างเมืองสยามขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๔ และขึ้นครองราชย์ ณ ที่นั้น
            ๔. พระชาติของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน  วัน วลิต ได้ทำให้เราได้รู้เหตุการณ์ชัดแจ้งขึ้น
            ๕. ตัวอย่างการกบฎจลาจลในกรุงสยาม
            ๖. ข้อสงสัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชาวสยาม   ยากที่จะวินิจฉัยลงไปได้ว่า เป็นชนชาติที่สืบพงศ์พันธุ์แต่ดึกดำบรรพ์ในประเทศสยาม  ที่อยู่ในดินแดนสยามเอง หรือว่าสืบเผ่าพันธุ์มาจากมนุษย์ชาติอื่น แล้วอพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคส่วนนี้  แม้จะมีมีเจ้าของถิ่นดั้งเดิมตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว
            ๗. ในสยามมีภาษาสองอย่าง   ชาวสยามรู้จักใช้ภาษาสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นภาษาพื้นเมือง เป็นภาษาง่าย ๆ และเกือบจะเป็นคำโดด ไม่มีการกระจายคำกริยา หรือการเปลี่ยนตามการก  กับอีกภาษาหนึ่งคือ ภาษาบาลี ซึ่งในทรรศนะของพวกเขาว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว  เป็นที่รู้จักกันในหมู่ปวงปราชญ์ราชบัณฑิต ใช้ในการพระศาสนา ในตัวบทพระธรรมศาสตร์ ชื่อตำแหน่งหน้าที่ ใช้ในคำประพันธ์
            ๘. ชาวสยามบอกถึงมูลเดิมแห่งกฎหมายและศาสนา  ชาวสยามยืนยันว่า กฎหมายของพวกเขาเป็นกฎหมายต่างประเทศ มาสู่สยามจากเมืองลาว ทั้งสยามและลาวมีศาสนาเดียวกัน และยังเหมือนกับชาวพะโค และตำนานหรือประเพณีดั้งเดิม ก็กล่าวว่ากฎหมายและแม้แต่พระมหากษัตริย์ของพวกเขา ก็มาจากเมืองลาว และทางลาวก็ว่าพระมหากษัตริย์ของพวกเขา และกฎหมายของลาว โดยมากก็ไปจากสยามเช่นเดียวกัน
            ๙. ภาษาบาลี  ชาวสยามเชื่อว่า ตัวอักษรภาษาบาลี มีผู้รู้เฉพาะชาวสยามเท่านั้น แต่พวกนักสอนศาสนาคริสต์เชื่อว่า ภาษาบาลียังไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว เพราะพวกเขาได้พบผู้ที่มาจากแหลมโกโมแร็ง (Comorin)  พูดภาษาบาลีปนมาในคำพูดของเขา และยืนยันว่าเป็นภาษาที่พูดกันในบ้านเมืองของเขาตามปกติ
            ๑๐. ชาวสยามคล้ายคลึงกับชาวประเทศเพื่อนบ้าน  ชาวสยามมีรูปพรรณทางใบหน้าแบบชาวชมพูทวีป ผิวผสมแดงกับน้ำตาลไหม้  ซึ่งไม่เหมือนกับชาวต่างชาติข้างเหนือของทวีปอาเซีย  และยังมีจมูกสั้น ตอนปลายจมูกมีลักษณะมนเหมือนชาวประเทศเพื่อนบ้าน กระดูกโหนกแก้มโปน และยื่น หางตาเชิดชัน ใบหูใหญ่กว่าชาวยุโรป ท่าทางมีลักษณะห่อตัวเหมือนลิงทะโมน และยังมีอิริยาบทอีกหลายอย่าง ที่คล้ายสัตว์จำพวกนี้
            ๑๑. พระเจ้ากรุงสยามโปรดเด็ก จน ๗ หรือ ๘ ขวบ  เมื่อพ้นจากการเป็นทารกแล้ว ก็ไม่โปรดอีกต่อไป
            ๑๒. ชาวสยามมิได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศนี้จากที่ไกลนัก  ทุกปีจะมีน้ำท่วมอยู่หลายเดือน เต็มไปด้วยเหลือบยุง บุ้ง ร่าน ริ้น ตัวแมลงต่างๆ  นับไม่ถ้วนชนิด อยู่ในเขตอากาศร้อนอบอ้าว เป็นการยากที่มนุษย์จากถิ่นไกลจะปลงใจอพยพมาตั้งถิ่นฐานได้  นอกจากหมู่ชนในดินแดนใกล้เคียง และเชื่อว่าเพิ่งเข้ามาอยู่ เมื่อไม่กี่ศตวรรษมานี้ โดยอาศัยอายุต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุเป็นพันปีมีอยู่น้อยมาก จึงน่าจะสันนิษฐานว่า ชนชาติสยามน้อย (ไทยน้อย) น่าจะสืบตระกูลมาจากชนชาติสยามใหญ่ (ไทยใหญ่) และพวกสยามใหญ่ก็ถอยมาจากถิ่นเกิดขึ้นไปอยู่ตามภูเขา เพื่อหนีภัยการรุกรานของประเทศเพื่อนบ้าน
            ๑๓. คนต่างด้าวที่เข้าไปยังประเทศสยาม  เลือดชาวสยามระคนปนกับเลือดต่างด้าวอยู่มาก โดยไม่ต้องนับพวกมอญ หรือลาว ซึ่งเกือบจะเป็นชนชาติเดียวกับสยาม  กล่าวกันว่ามีชนต่างชาติเข้ามาพึ่งสยามอยู่ถึง ๔๐ ชาติ  ความปั่นป่วนในด้านการค้า ของเมืองสยามในระยะหลัง ทำให้ชาวต่างชาติที่เคยตั้งหลักแหล่งอยู่ได้ถอนตัวออกไปมาก ปัจจุบันพวกที่อพยพมาจากเบ็งกะหล่า พวกญวนสักสองสามครอบครัว เฉพาะพวกมัวร์ ก็แบ่งออกเป็นตั้ง ๑๐ ชาติแล้ว  พวกมัวร์เป็นแขกชาติอาหรับ นับถือศาสนามะหะหมัด เป็นบรรพบุรุษของพวกแขกสาระเซ็น  แขกชาตินี้แผ่ซ่านอยู่ในที่ต่าง ๆ เกือบทั่วทวีปยุโรป
            ๑๔. ประชากรแห่งราชอาณาจักรสยามมีไม่มากนัก  แยกอยู่ตามเขตแขวงต่าง ๆ ในตัวเมือง หรือตามหัวเมืองต่าง ๆ น่าจะอนุมานว่ารัฐบาลสยามไม่ปรารถนาที่จะให้พลเมืองเพิ่มขึ้นกว่านี้อีก เพราะได้มีการสำรวจสำมะโนประชากรทุกปี รัฐบาลสยามได้ทำทะเบียนคนชายหญิง และเด็กไว้อย่างครบถ้วน จากการสำรวจครั้งล่าสุดมีเพียง ๑.๙ ล้านคน


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์