ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > เมืองไทยของเรา > ขุนช้างขุนแผน

  • พงศาวดาร กำเนิดขุนช้าง ขุนแผน นางพิม พ่อขุนช้าง ขุนแผน นางพิม พลายแก้วบวชเณร พลายแก้วได้นางพิม ขุนช้างขอนางพิม พลายแก้วได้สายทอง พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม พลายแก้วถูกเกณฑ์ไปทัพ พลายแก้วยกทัพ พลายแก้วได้ลาวทอง พิมเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง ขุนช้างลวงว่าพลายแก้วตาย ศรีประจันยกวันทองให้ขุนช้าง พลายแก้วเป็นขุนแผน ขุนช้างได้นางวันทอง ขุนแผนบอกกล่าว ขุนช้างพานางวันทองไปอยู่บ้านเดิม ขุนแผนต้องพรากลาวทอง กำเนิดกุมารทอง ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ขุนแผนพานางวันทองหนี ขุนช้างตามนางวันทอง ขุนช้างฟ้องว่าขุนแผนเป็นกบฎ ขุนแผนลุแก่โทษ  ขุนแผนชนะความขุนช้าง ขุนแผนติดคุก  กำเนิดพลายงาม  เจ้าล้านช้างถวายนางสร้อยทอง พระเจ้าเชียงใหม่ ชิงนางสร้อยทอง  พลายงามอาสา พลายงามได้นางศรีมาลา  ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ  ขุนแผนพลายงามจับ พระเจ้าเชียงใหม่  ขุนแผน พลายงาม ยกทัพกลับ  ถวายนางสร้อยทอง สร้อยฟ้า  แต่งงานพระไวย  ขุนช้างเป็นโทษ  ขุนช้างถวายฏีกา  ฆ่านางวันทอง  นางสร้อยฟ้าทำเสน่ห์  พระไวยถูกเสน่ห์  ขุนแผนส่องกระจก  พระไวยแตกทัพ  พลายชุมพลจับเสน่ห์  สร้อยฟ้าศรีมาลาลุยไฟ  จระเข้เถรขวาด

  • หน้าต่อไป


    ขุนช้าง ขุนแผน ในพงศาวดาร


    เรื่องขุนช้าง ขุนแผน มีเนื้อความปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ซึ่งนับเป็นเรื่อง ในพระราชพงศาวดาร สรุปสาระได้ดังนี้
     
    พระราชวงศ์ของ พระเจ้าอู่ทอง ได้ครองราชสมบัติ ในกรุงศรีอยุธยาตามลำดับหลายพระองค์ จนถึงพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า พระพันวษา มีพระมเหสีทรงพระนามว่า สุริยวงษาเทวี มีพระราชโอรสองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระบรมกุมาร
    ต่อมา พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง ปรารถนาจะเป็นพันธมิตรกับกรุงศรีอยุธยา จึงส่งพระราชธิดาองค์หนึ่งมาถวายพระพันวษา ระหว่างทางได้ถูกพระเจ้าโพธิสารราชกุมาร เจ้านครเชียงใหม่ ไม่ต้องการให้กรุงศรีสัตนาคนหุต มาเป็นมิตรกับกรุงศรีอยุธยา ส่งกำลังเข้าแย่งชิงพระราชธิดาไป
    สมเด็จพระพันวษาทราบเรื่องก็ทรงพระพิโรธ สั่งให้ยกทัพไปตีนครเชียงใหม่ ในการนี้จำต้องหาผู้ที่มีฝีมือในการรบไปทำการ พระจมื่นศรีมหาดเล็ก ได้กราบทูลให้ใช้ ขุนแผน ซึ่งต้องโทษอยู่ในคุกให้เป็นแม่ทัพหน้ายกไปตีเมืองเชียงใหม่ ขุนแผนก็รับอาสาพร้อมกับถวายทัณฑ์บนว่าถ้าทำการไม่สำเร็จก็จะขอถวายชีวิต พระพันวษาจึงตั้งให้ขุนแผนเป็นแม่ทัพ ถืออาญาสิทธิ์คุมกองทัพไทย ไปตีนครเชียงใหม่
    เมื่อกองทัพยกไปถึงเมืองพิจิตร ได้ไปขอดาบเวทวิเศษ (ดาบฟ้าฟื้น) กับม้าวิเศษ (ม้าสีหมอก) ที่ฝากเจ้าเมืองพิจิตรไว้คืนมา เพื่อนำไปใช้ในการศึก เมื่อกองทัพถึงเชียงใหม่ ฝ่ายเชียงใหม่ได้ทำการต่อสู้เป็นสามารถ แต่สู้ไม่ได้ ขุนแผนเข้านครเชียงใหม่ได้ เจ้านครเชียงใหม่หนีไป ขุนแผนจึงจับอรรคสาธุเทวี มเหสีเจ้าเชียงใหม่กับพระราชธิดานามว่า เจ้าแว่นฟ้าทอง พร้อมสนมเจ้านครเชียงใหม่ไว้ และให้เชิญนางสร้อยทอง ราชธิดาพระเจ้าลานช้าง พร้อมทั้งมเหสีและราชธิดาเจ้านครเชียงใหม่ เลิกทัพกลับมาถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
    สมเด็จพระพันวษา ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าเชียงใหม่ กลับมาครองเมืองเชียงใหม่ ตามเดิม เพื่อความสงบสุขของสมณชีพราหมณ์และราษฎรชาวเมืองเชียงใหม่ และให้พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่ขุนแผนและกำลังพลในกองทัพโดยทั่วหน้า ทรงตั้งนางสร้อยทองเป็นพระมเหสีซ้าย นางแว่นฟ้าเป็นสนมเอก ส่วนมเหสีเจ้านครเชียงใหม่ ทรงส่งคืนให้เจ้านครเชียงใหม่ ส่วนบรรดาข้าคนชาวลานช้างและชาวเชียงใหม่ ก็ให้ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในกรุงศรีอยุธยา
    ฝ่ายขุนแผนเมื่อเห็นว่าตนชราภาพแล้ว จึงนำดาบเวทวิเศษของตนถวายสมเด็จพระพันวษา พระองค์ทรงรับไว้เป็นพระแสงทรงสำหรับพระองค์ และทรงพระราชทานว่า พระแสงปราบศัตรู
    สมเด็จพระพันวษาครองราชย์ได้ 25 พรรษา เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 40 พรรษา
    จากหลักฐานดังกล่าว เรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องที่เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072

    เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

    เดิมเรื่องขุนช้าง ขุนแผน เล่าเป็นนิทาน แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยาวมาก เมื่อแต่งเป็นกลอน และขับเป็นลำนำด้วยก็ยิ่งจะต้องใช้เวลามาก ไม่สามารถจะขับให้ตลอดเรื่องในคืนเดียวได้ บทเสภาที่แต่งขึ้นจึงแต่งแต่เป็นตอนพอที่จะขับได้ภายในหนึ่งคืน ดังนั้น บทเสภาเดิมตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า หรือที่แต่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงแต่งเป็นท่อนเป็นตอน ไม่เป็นเรื่องติดต่อเหมือนกับบทละคร การเอาบทเสภามารวมติดต่อกันให้เป็นเรื่องโดยสมบูรณ์ เพิ่งทำในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ

    หนังสือเสภาสมัยกรุงเก่าน่าจะสูญหายหมด เนื่องจากผู้ที่แต่งหนังสือเสภาสำหรับขับหากิน น่าจะปิดบังหนังสือของตน เพื่อป้องกันผู้อื่นมาแข่งขัน จะให้อ่านเพื่อท่องจำก็เฉพาะในหมู่ศิษย์และคนใกล้ชิด ด้วยสภาพดังกล่าวหนังสือเสภาจึงสาบสูญได้ง่าย ไม่เหมือนหนังสือประเภทอื่น เช่น หนังสือบทละคร และหนังสือสวด ดังนั้น บทเสภาครั้งกรุงเก่า จึงตกมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์เพียงเล็กน้อย จากการจดจำกันมาและมีไม่มากตอน
                ตำนานเสภาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานแสดงที่มาได้ค่อนข้างดี ซึ่งจะพบได้จากกลอนของสุนทรภู่ กลอนไหว้ครู ที่ได้มีการเอ่ยชื่อครูเสภาไว้หลายท่าน พร้อมทั้งผลงานของท่านเหล่านั้น ที่ให้ไว้ในงานเสภา เช่น ครูทองอยู่ ครูแจ้ง ครูสน ครูเพ็ง พระยานนท์ เป็นต้น ส่วนครูปี่พาทย์ก็มีครูแก้ว ครูพัก ครูทองอิน ครูมีแขก ครูน้อย เป็นต้น
    หนังสือเสภาที่แต่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ จะแต่งเป็นตอน ๆ แต่ละตอนยาวประมาณ 2 เล่มสมุดไทย พอจะขับได้ภายในหนึ่งคืน หนังสือเสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เท่าที่รวบรวมได้ในหอพระสมุด มีต่างกันถึง 8 ฉบับ และยังมีฉบับปลีกย่อยอีกต่างหาก รวมประมาณ 200 เล่ม สมุดไทย
    การชำระหนังสือเสภา เมื่อปี พ.ศ.2460
    หนังสือเสภาฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ เป็นฉบับที่น่าจะได้ชำระเป็นครั้งแรก โดยเลือกจากเรื่องและกลอนดีที่มีอยู่ 38 เล่ม เป็นเรื่องตั้งแต่ต้น จนถึงตอนขับนางสร้อยฟ้าไปเชียงใหม่ ตอนต่อจากนี้ไปถึงตอนพลายยงไปเมืองจีน และตอนพลายเพ็ชร พลายบัว เห็นว่าไม่มีสาระทางวรรณคดี จึงไม่พิมพ์ ต่อมาได้เพิ่มเติมจากบทเสภาปลีกอีกหลายตอนที่แต่งดี เช่น ตอนจรเข้เถรขวาด และบางตอนก็ตัดความในเสภาเดิมไปขยาย เช่น ตอนกำเนิดกุมารทอง หนังสือเสภาฉบับนี้ยาวประมาณ 43 เล่มสมุดไทย



    | หน้าต่อไป | บน |

     


     
     
    dooasia.com
    สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

    เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
    dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์