ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดระนอง >อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม/Mu Ko Phayam National Park 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม/ Mu Ko Phayam National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
หมู่เกาะพยาม เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยเรียงรายทอดยาวตลอดแนวชายฝั่งเหนือ-ใต้ ของทะเลอันดามัน ติดต่อกับชายแดนสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพพม่า ด้วยการมองการณ์ไกลและชาญฉลาดของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ในสมัยนั้น ได้ให้ ป๋าโฮ้ย ซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิม ไปก่อตั้งหมู่บ้านที่เกาะพยาม เพื่อป้องกันการบุกรุกของอังกฤษซึ่งครอบครองพม่าอยู่ ในปัจจุบันมีหลักฐานปรากฏอยู่ที่แหลมฝรั่งบริเวณอ่าวใหญ่ที่เกาะพยาม

ต่อมากรมป่าไม้ โดยกองอุทยานแห่งชาติได้มาดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี 2532 ซึ่งจากการสำรวจพบว่าพื้นที่บริเวณครอบคลุมพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะพยาม ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะช้าง ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหินกลอง - ป่าคลองม่วงกลวง และป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองหัวเขียว - ป่าคลองเกาะสุย ประกอบไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และมีความหลากหลายทางระบบนิเวศ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีความเหมาะสมที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเมื่อคราวการประชุมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2543 และได้ทำการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อง่ายต่อการควบคุมและตอบสนองความต้องการของชุมชนในท้องถิ่น เหลือเนื้อที่ประมาณ 347 ตารางกิโลเมตร

ในขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยามตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพยาม ตำบลหงาว ตำบลราชกรูด และตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยมีอาณาเขตทิศเหนือจดสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพพม่า ท้องที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ทิศใต้จดเขาชาย และคลองม่วงกลวง ท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ทิศตะวันออกจดป่าชายเลน ท้องที่ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน ท้องที่ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยามสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศออกได้เป็น 3 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่

พื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นพื้นที่ลาดลงมาจากทิศตะวันออกของจังหวัดระนอง มีหาดยื่นออกไปในทะเล และปกคลุมไปด้วยป่าชายเลน ซึ่งเป็นป่าชายเลนผืนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง รัฐบาลไทยจึงได้จัดทำโครงการร่วมกับประเทศสมาชิกยูเนสโก้ประกาศพื้นที่ชายฝั่งบริเวณนี้เป็นเขตสงวนชีวมลฑลโลก (International Coastal and Marine Biosphere Reserve) ซึ่งเป็นแห่งที่ 4 ของประเทศไทย พื้นที่ทั้งหมดของเขตสงวนชีวมลฑลโลก มีพื้นที่ประมาณ 214.35 ตร.กม ซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งทับอยู่ในเขตอุทยานแห่งขาติหมู่เกาะพยามประมาณ 176 ตร.กม โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อเป็นที่สงวนความหลากหลายทางธรรมชาติ

พื้นที่ใกล้ชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณเกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดำ เกาะสน ประกอบด้วยป่าชายเลนทางทิศตะวันออก และหาดทรายทางฝั่งตะวันตก ส่วนพื้นที่บนเกาะปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบ

พื้นที่ห่างจากชายฝั่ง ได้แก่ บริเวณเกาะช้าง เกาะพยาม เกาะทะลุ เกาะตาครุฑ เกาะหม้อ เกาะปริง เกาะไร่ และเกาะไฟไหม้ ฯลฯ โดยกลุ่มเกาะดังกล่าวขนานกับชายฝั่ง พื้นที่บนเกาะปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบและรอบเกาะมีปะการังกระจายอยู่โดยรอบ

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม อยู่ในเขตลมมรสุม ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน เป็นช่วงฝนชุกมาก ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัดเพราะอยู่ไกลจากอิทธิพลของอากาศหนาวพอสมควร แต่บางครั้งอาจมีฝนตกได้เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยพาเอาฝนมาตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดมาปกคลุม ทำให้อากาศร้อนโดยทั่วไป อากาศจะร้อนสุดในเดือนเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนักเนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศคลายความร้อนลงไปมาก

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยามสามารถจำแนกออกเป็น

ป่าชายเลน มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีพันธุ์ไม้หลายชนิด อาทิเช่น แสม แสมขาว แสมทะเล แสมดำ ถั่วขาว ถั่วดำ พังกาหัวสุมดอกขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงขาว โปรงแดง ตาตุ่มทะเล หลุมพอทะเล ฝาดดอกแดง ฝาดดอกขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ลำพู ลำแพน ตะบูนดำ ตะบูนขาว และจาก เป็นต้น พืชพื้นล่าง ได้แก่ สำมะง่า เถากระเพาะปลา เหงือกปลาหมอ ปรงทะเล ปรงหนู เป็นต้น

ป่าดงดิบ สภาพป่าในปัจจุบันยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะบริเวณภูเขาสูงของเกาะบางจาก เกาะยิว เกาะช้าง เกาะทรายดำ เกาะพยาม พันธุ์ไม้ที่พบโดยส่วนใหญ่ เช่น กระท้อนป่า ตำเสา ขนุนป่า ขุนไม้ ไข่เขียว เฉียงพร้านางแอ ตะเคียนทอง ตะเคียนทราย ตีนเป็ด เทพทาโร ทุ้งฟ้า ยมหิน สะตอ เลือดควาย มะม่วงป่า กันเกรา หลาวชะโอน เป็นต้น พืชพื้นล่างได้แก่ หวายกำพวน หวายแดง ระกำ มอส เฟิน เป็นต้น

ป่าชายหาด พบได้ตามแนวชายหาดบางส่วนของพื้นที่เกาะพยาม เกาะช้าง และเกาะทรายดำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนทะเล จิกทะเล หยีทะเล เตยทะเล และปรงทะเล เป็นต้น ทุ่งหญ้า เป็นสังคมพืชที่ขึ้นบริเวณเกาะยิว เกาะทรายดำ โดยมีหญ้าต่างๆ สลับกับป่าโปร่ง มีหญ้าคาเป็นหลัก

จากการสำรวจการแพร่กระจายของหญ้าทะเลในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2545 โดยวิธี Monta tow และดำผิวน้ำ พบหญ้าทะเลที่มีลักษณะแตกต่างกัน จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ หญ้าชะเงาใบสั้นปล้องยาวหรือชะเงาใบฟันเลื่อย หญ้าใบมะกรูด หญ้าผมนางหรือกุ้ยช่ายเข็ม กุ้ยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาแคระ หญ้าใบสน และ หญ้าเต่าหรือหญ้าชะเงาเต่าพบแพร่กระจายบริเวณเกาะช้าง เกาะพยาม เกาะบางจาก เกาะตาครุฑ เกาะสิน

สัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยามสามารถจำแนกออกได้เป็น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สำรวจพบ 11 ชนิด ได้แก่ ลิงแสม นาก บ่าง กระรอก กระแต หมูป่า ตุ่น ชะมด และหนูชนิดต่างๆ
นก สำรวจพบ 52 ชนิด ได้แก่ นกแก๊ก นกยางชนิดต่างๆ เหยี่ยว นกนางแอ่น นกกวัก นกกางเขน นกกาน้ำเล็ก และนกกินปลาชนิดต่างๆ เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย กิ้งก่า ตะกวด งูและเต่าชนิดต่างๆ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วยกบ คางคก อึ่งอ่าง เขียด และปาด
แมลง ได้แก่ ผีเสื้อ แมลงปอ แมงมุม จิงโจ้น้ำ แมลงสาปทะเล เป็นต้น
ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ประกอบด้วย ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูดำหรือปูทะเล ปูเสฉวน กุ้งแชบ้วย กุ้งเคย กุ้งกะต่อม กุ้งดีดขัน แม่หอบ หอยตะโกรม หอยกะทิ หอยเจดีย์ หอยขาว ปลาตีน ปลาบู่เสือ ปลากระบอก ปลากระทุงเหว ปลาข้างลาย ปลาปักเป้า ปลาสาก ปลากะพงแดง ปลากะพงขาว ปลาเก๋า ปลาอินทรี แมงกะพรุน หมึก หอยเม่น ปลิงทะเล และปะการัง เป็นต้น

จากการสำรวจแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ซึ่งจะพบบริเวณอ่าวกวางปีป อ่าวแม่ยาย เกาะพยาม เกาะทะลุ อ่าวค้างคาว เกาะช้าง พบปะการังหลายชนิด ได้แก่ ปะการังโขด ปะการังสมอง ปะการังพุ่ม ปะการังเขากวาง ปะการังนิ้วมือ ปะการังโต๊ะ ปะการังผักกาดปะการังอ่อน ซึ่งจะพบบริเวณเกาะทะลุฝั่งตะวันตก กัลปังหา แส้ทะเล ไฮดรอยด์ ดอกไม้ทะเล ซึ่งจะพบบริเวณอ่าวเสียด เกาะช้าง และฝั่งตะวันตกของเกาะทะลุ ปลาทะเลสวยงามเช่น ปลาการ์ตูน ปลาชี้ตังเบ็ดฟ้า ปลาสินสมุทรลายฟ้า ปลาวัวหางเหลือง ปลาไหลมอเรย์จุดขาว ปลาไหลมอเรย์ปานดำ ปลาหิน ปลาสิงโต พบได้ตามกองหินและบริเวณที่มีปะการัง

แหล่งท่องเที่ยว
เนื่องจากพื้นที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ประกอบไปด้วยทรัพยากรทั้งบนบก ชายฝั่งทะเล และในท้องทะเล ซึ่งมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวและนันทนาการหลายรูปแบบ เช่น การพายเรือดูนก ล่องเรือชมป่าชายเลน ว่ายน้ำ อาบแดด ดำน้ำชมปะการัง การถ่ายภาพทางธรรมชาติและการพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ ซึ่งฤดูกาลท่องเที่ยวที่เหมาะสมได้แก่ ช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม ของทุกปี และการดำน้ำดูปะการังที่เหมาะสมคือ ขึ้น 8 ค่ำ - 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ - 15 ค่ำ และการล่องเรือชมป่าชายเลนสามารถเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

 พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณใกล้แนวชายฝั่ง
เป็นพื้นที่กว้างใหญ่คงสภาพป่าที่สมบูรณ์มีความหลากหลายทางระบบนิเวศ ซึ่งเหมาะแก่กิจกรรมการล่องเรือศึกษาธรรมชาติ นิเวศป่าชายเลน ดูนกและสัตว์ป่า รวมถึงการศึกษาวิจัย (คลองหงาว การนั่งเรือในช่วงพระอาทิตย์ตกจะเห็นถึงสภาพธรรมชาติอันสวยงามของป่าชายเลนในบางครั้งจะพบโลมาบริเวณนี้) ต้นโกงกางยักษ์ ในป่าชายเลนบ้านหาดทรายขาว (อยู่ในเขตสงวนชีวมณฑลโลก) มีอายุประมาณ 200 ปี มีความสูงประมาณ 30 เมตร มีขนาดความโตวัดโดยรอบที่ขนาดความสูงเพียงอกประมาณ 2 เมตร

หาดทรายแดง
อยู่บนเกาะตาวัวดำเป็นหาดทรายที่มีสีออกแดงคล้ายอิฐ เกิดจากการทับถมของเปลือกหอยนานาชนิดที่ถูกกระแสคลื่นพัดพามาทับถมไว้เป็นเวลานาน ประกอบกับทิวทัศน์ของโขดหินและป่าเขาที่สวยงาม ยามน้ำลดจะเห็นหาดทรายสีแดงกว้างขวางแปลกตาน่าชมกว่าที่อื่น

หาดทรายดำ
อยู่บนเกาะทรายดำ เกาะขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง บนเกาะมีชุมชนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ใกล้หมู่บ้านมีหาดทรายสีดำ ซึ่งเกิดจากเศษผงของเนื้อไม้ที่ถูกพัดพามาทับถมเป็นเวลานาน ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ บริเวณทิศใต้ของเกาะทรายดำมี อ่าวปอ ลักษณะเป็นเวิ้งอ่าวที่เงียบสงบมีทิวทัศน์ของชายหาดและป่าชายเลนที่สวยงาม นอกจากนี้เกาะทรายดำยังเป็นเกาะที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม เหมาะแก่การประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายด้าน เช่น การเดินป่า ชมวิถีชีวิตของชาวประมงในการทำกะปิของชาวบ้าน ซึ่งทำจากกุ้งเคย (krill) เดินป่าศึกษาธรรมชาติของป่าดิบชื้น ระยะทาง 4 กิโลเมตร

 หาดหินงาม
บริเวณรอบเกาะไฟไหม้ พบเพียงแห่งเดียวในหลายๆ เกาะ ในอุทยานแห่งชาติเกิดจากการทับถมของหินกลมมนหลายหลากสี ขนาดเล็กจำนวนมากเป็นเวลานาน เกิดแสงสะท้อนวาววับเมื่อยามกระแสคลื่นสาดซัด

 เกาะพยาม
เป็นเกาะขนาดใหญ่ประกอบด้วยภูเขาสูง ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น บนเกาะมีชุมชนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ บริเวณรอบๆ เกาะมีปะการังที่สวยงามนานาชนิด สามารถดำน้ำดูปะการังได้ทางทิศตะวันตกของเกาะ เกาะ ดูนกแก๊ก ซึ่งอาศัยอยู่รอบเกาะ นกแก๊ก เป็นนกย้ายถิ่นจะเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม พักแรมบริเวณชายหาดรอบๆ เกาะ ซึ่งมีบังกะโลให้บริการที่อ่าวเขาควายและอ่าวใหญ่ ทางด้านตะวันตกของเกาะ ทั้งสองอ่าวมีหาดทรายยาวเหยียดให้เล่นน้ำ หาดที่ค่อนข้างสงบเงียบและสวยงาม คือ หาดขาม อยู่ทางด้านใต้ของเกาะ ตรงข้ามกับเกาะขาม มีหาดทรายขาวสะอาดตัดกับทะเลสีคราม การเดินทางไปเกาะพยามสามารถไปลงเรือได้ที่ท่าเทียบเรือสะพานปลา ปากน้ำระนองซึ่งอยู่ห่างจากเกาะ 33 กิโลเมตร

หมู่เกาะตาครุฑ
มีเกาะบริวาร ได้แก่ เกาะหม้อ เกาะปริง เกาะไร่ และเกาะหลาม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของพื้นที่ มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพพม่า

 เกาะช้าง
เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บริเวณเกาะช้างนี้จะพบแนวหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพะยูน มีคนเคยพบพะยูน และโลมาบริเวณนี้ มีหาดทรายขาวที่สวยงามเป็นแนวทอดยาวตามชายฝั่ง สามารถดำน้ำดูปะการังได้ทางทิศตะวันตกของเกาะ ชมรอยพระพุทธบาททางด้านทิศตะวันออกของเกาะ ท่าเรืออยู่ที่อ่าวใหญ่ซึ่งมีชายหาดทอดตัวยาว มีบังกะโลบริการหลายแห่ง ดูนกแก๊กบริเวณหน้าสำนักสงฆ์ ถ้าต้องการสัมผัสชายหาดที่เงียบสงบควรไปที่อ่าวไข่ เพราะเป็นเวิ้งอ่าวเล็กๆ เหมาะสำหรับพักผ่อนและเล่นน้ำ พื้นที่ส่วนใหญ่บนเกาะช้างเป็นภูเขาสูงที่ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์

กาะเหลา
ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านในการทำกะปิ อีกด้านหนึ่งของเกาะเหลาจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเลซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเร่ร่อน มีภาษาพูดเป็นของตนเอง (ภาษายาวี) ใช้ชีวิตอย่างสงบและเรียบง่าย ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่หาดูได้ยากในสังคมปัจจุบัน ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ส่องกล้องดูนกกาน้ำเล็ก ซึ่งเป็นนกย้ายถิ่นที่จะเข้ามาในช่วงฤดูหนาว พฤศจิกายน-มีนาคม

 

 สะพานหินธรรมชาติ บนเกาะทะลุ
สะพานหินธรรมชาติ บนเกาะทะลุประติมากรรมทางธรรมชาติ โขดหินที่วางตัวสลับซับซ้อนและหาดทรายที่ขาวสะอาด บริเวณใต้ท้องทะเลรอบๆ เกาะเต็มไปด้วยหมู่ปะการังหลากสี ดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นทางทิศตะวันตกของเกาะ

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
393 หมู่ที่ 4 ต.หงาว อ. เมืองระนอง จ. ระนอง 85000 

การเดินทาง
รถยนต์
จากจังหวัดระนองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ระนอง-ตะกั่วป่า) ไปประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงตำบลหงาว เลี้ยวขวาเข้าเทศบาลหงาว เดินทางต่อไปตามทางสายบ้านล่าง-หัวถนน อีกประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

เรือ
การเดินทางสู่จุดท่องเที่ยวในปัจจุบันมี 2 เส้นทาง ได้แก่
• เดินทางจากท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-3.5 ชั่วโมง จะมีเรือเมล์ไว้บริการ
• ท่าเทียบเรืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง มีเรือเช่าเหมาลำให้บริการ


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
หาดทรายดำ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
หาดทรายแดง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
หาดหินงาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
เกาะช้าง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
เกาะพยาม
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
เกาะเหลา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
Mu Ko Phayam National Park
 
แผนที่จังหวัดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม/map of Mu Ko Phayam National Park
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
แผนที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม

 
ระนอง/Information of RANONG

 

General Information
Preparing area to award as National Park Mu Ko Payam includes the section of beautiful sea and a group of 15,both big and small, islands such as Bang Chak island, Yio island, Sai Dam (black sand) island, Son (pine) island, Payam island, Thalu island, Fai Mai (fire) island, Song Phi Nong island and Kham island. Most of the area’s located in Ko Chang National conservation forest, Khlong Hin Klong-Pa Khlong Muang Kluang National Forest Reservation and Pa Khlong Hua Khiao-Pa Khlong Ko Sui National Forest Reservation. It covers over 347-sq. km. Since 2532 BD, the area was researched due to the policy of National Park department, the Royal forest department of Thailand. Now it’s in the process of presenting the information to the National Park committee. The awarding as National Park will be later on.

Topography
Preparing area to award as National Park Mu Ko Payam includes a section of the plain beach at Andaman Sea and can divided into 3 groups as follow

Beaches area, which stretches into the sea and covered with thick swamp forest. There’re many large canals lying across such as Ngao canal, La Ong canal, Rat Chakut canal, La-un canal, Bang Chak canal, etc.

The area which lying near the coastal: such as Bang Chak island, Yio island, Sai Dam (black sand) island, Son (pine) island and other islands. Each of the islands covered with thick swamp forest in the east while there’s beach and bay in the west. The virgin forest ’s also the main part of the island.

The area which lying far from the coastal: such as Chang (elephant) island, Thalu island, Ta Khrut island, Mo (pot) island, Pring island, Rai island, Fai Mai (fire) island which lying spread from north to south along with the beach line. Each of the islands covered with virgin forest while the coral reef is surrounding the islands.

Flora and Fauna
Forest and trees community in Mu Ko Payam National Park can divided into

Swamp forest covers 33% of all National Park area. It includes the total of 35 species, 18 genus and 14 families of trees such as a small tree of the family myrsinaceae (Sa Mae), beans, white Pang Ga Hua Suum , red Pang Ga Hua Suum, white Prong, red Prong, Ta Tum Ta Lae, Luum Poe Ta Lae, red Faad, white Faad, mangroves, Sonneratia, Lam Pan, black Ta Boon, white Ta Boon and atap. There’re also Sam Ma Nga, Thao Ka Poh Pla, white Nguak Pla More, purple Nguak Pla More, Prong Ta Lae, Prong Noo.

Virgin forests covers 10% of all National Park area. It includes the total of 49 species of trees such as santol, Tam Sao, wild jackfruit, Khun Mai, Chieng Pra Nang Ae, hopea odorata Roxb., Teen Ped, Dep Tha Ro, Toong Fah, Yom Hin, parkia, Luad Kwai, Hlaw Cha Aon. There’re also Kam Puan rattan, red rattan, zalacca, moss and fern.

Beach forest where you can found in some part of Chang Island and Sai Dam (black sand) island. Trees found here are pine, Jik Talae, Tuey Talae and Prong Talae.

Flood plain where you can found at around Yew mountain, Sai Dam(black sand) island while lalang is mostly found here.

Wildlife, can divided into
Mammals, includes a crab-eating macaque, Nok Yai Khon Reab, flying squirrel, squirrel, tupaia glis, wild hog, mole rat, mangoose, musk, mouse deer, loris, black langur of the genus Presbytis, gibbon, fishing cat, barking deer, Mae Kai bat, rats and dolphin.

Birds. There are 52 species of bird found here such as birds of the family Capitonidae, hawks, sandpiper, swallow, drongo, jungle fowl, a water rail of the genera Rallus and Amauropsis, Kin Preaw bird, osprey, mynas of the genera Acridotheres and Sturnopastor, ongo, Kak, hill myna, Plao, Dong bulbul, Baan bulbul, Khao Fai bird, Tob Yung bird, Kra Tae Taee Wad bird, Ped Naam bird.

Reptile includes monitor lizard of the genus Varanus, cobra, king cobra, python and many species of turtles.

Amphibian includes frog, toad, bullfrog, small toad and tree frog.

Insects include butterfly, dragonfly, grasshopper, Jing Jo Nam, Ma Lang Sab Ta Lae.

Sea resource includes Kam Daab crab, Sae Chuan crab, Chae Buay shrimp, Ka Tom shrimp, Deed Khan shrimp, Mae Hob, Ta Krom shell, Ka Ti shell, Jedi shell, white shell, small freshwater fish of the genus Periophthalmodon, Kra Bok, needlefish, Khang Lai fish, glob fish, Saak, red bass, white bass, cromileptes altivelis, , jellyfish, octopus, porcupine. Trepang and coral.

 Mangrove forest
There’s mangrove forest near the coast where the forest’s still untouched by human. There’re varieties of dwelling system which’s good for natural activities and do mangrove research because this is the place where small leaf mangrove is still remain in Thailand. It located in the north of Yio Island.

Hat Sai Deang
Hat Sai Daeng (red sand) is on Ko Ta Wua Dam where the sand is red like the color of brick because of the pile up of varieties of seashell for a long time ago. Hat Sai Daeng includes a sight of beautiful forest and hillocks.

Hat Sai Dam
Po Bay located in the south of Ko Sai Dam(black sand). It’s a quite curve beach with a beautiful sight of beach and mangrove forest

 Hat Hin Ngam
Hat Hin Ngam can be found around Ko Fai Mai (fire) . It’s the only place where you can find rock beach among the entire island in National Park because it’s the place where varieties of rounded was piled up for a long time. It will reflect the light when there’s wave.

Contact Address
Mu Ko Phayam National Park
393, Mu 4, Ngao Sub-district, Amphur Muang Ranong Ranong Thailand 85000 

How to go?
By Car
Driving on Phetkasem road(highway NO.4) for 612 km. until you reach Rayong province. There’re 14 km from the center of Ranong to Ngao Municipality then the National Park is 4 km away.


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

ระนอง แผนที่จังหวัดระนอง
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกระบุรี
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอกะเปอร์
แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดระนอง/map of RANONG
โรงแรมจังหวัดระนอง/Hotel of RANONG

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์