ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดนนทบุรี >วัดสังฆทาน/ 

วัดสังฆทาน/

 

ประวัติวัดสังฆทาน

วัดสังฆทานได้ ลงทะเบียนไว้กับ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐/๑ บ้านบางไผ่น้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยสวนของราษฎร มีปูชนียวัตถุ คือ พระประธานนามว่า "หลวงพ่อโต"

ความเป็นมาเนื่องจากวัดสังฆทานเป็นวัดร้างนับเป็นร้อยๆปีขึ้นไปการจดบันทึกไม่มี มีเพียงการเล่าต่อถึงความศักดิ์สิทธิ์เท่านั้นดังนั้น จึงได้มีการวิเคราะห์จากหลักฐานพุทธลักษณะ จากองค์หลวงพ่อโตกระเบื้องเชิงชายหน้าอุดของหลังคาอุโบสถหลังเก่า และอิฐที่สร้างองค์พระกับฐานอุโบสถกระเบื้องเชิงชาย หรือกระเบื้องหน้าอุดเป็นหลักฐานอันสำคัญชิ้นหนึ่งที่ค้นพบและ เก็บรักษาไว้ในวัดสังฆทานหลักฐานชิ้นนี้ใช้เป็นกระเบื้องประดับตกแต่งเชิง ชายบนหลังคาอุโบสถสืบทอดจนถึงปัจจุบัน


จะ พบเห็นทั่วไปตามวัดหลวงใช้ประกอบกับกระเบื้องกาบกล้วยเพื่ออุดรูไม่ให้นกหนู เข้าไปทำรังลักษณะกระเบื้องเชิงชายหน้าอุดของวัดสังฆทานมีลวดลายดอกบัวที่ คลี่คลายปรับเปลี่ยนมาเป็นลายกนกท้ายที่สุดเป็นลายประเภทใบไม้๓แฉกซึ่งเป็น เค้าโครงดั้งเดิมของดอกบัวทำด้วยดินเผาสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่๒๑๒๒

วัด สังฆทานจะมีประเพณีทำบุญสงกรานต์ และสรงน้ำพระในเดือนเมษายน (วันที่ ๑๓-๒๐เมษายน)ทุกปี พร้อมทั้งเปลี่ยนผ้าห่ม องค์พระหลวงพ่อโตผ้าห่มที่ถูกเปลี่ยน จะนำมาฉีกแบ่งกันไปผูกข้อมือผูกคอชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์การบน หลวงพ่อโต มักโดยจะบนด้วยการจุดปะทัดเป็นเครื่องแก้บน "สังฆทาน" จึงกลายเป็นชื่อของวัดมาแต่เดิม

กว่าจะมาเป็นอุโบสถแก้ว

ปี๒๕๑๑ หลวงพ่อสนองพบวัดสังฆทานร้างอยู่กลางสวนมีเพียงหลวงพ่อโตกับศาลาไม้มุง สังกะสีเก่าๆบนที่ไร่เศษพิจารณาแล้วว่าที่นี่เหมาะแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามแนวทางธุดงคกรรมฐานเนื่องด้วยอยู่ใกล้แหล่งของผู้มีกำลังและปัญญาที่ สามารถช่วยศาสนาได้ดีในอนาคตท่านจึงตัดสินใจที่จะอยู่ที่นี่แต่ขณะนั้นท่าน คิดว่าตนเองยังมีบารมีไม่เพียงพอที่จะเป็นผู้นำที่นี่ได้ด้วยเหตุผลที่ว่า ที่นี่ไม่เหมือนที่อื่นการจะเข้ามาทำอะไรนั้นทำได้ยาก จะต้องให้เขาเห็นดีให้เขาเข้าใจเพราะเป็นการเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้มีปัญญา ท่าน จึงตั้งใจกลับไปปฏิบัติธรรมในถ้ำหมีและถ้ำกระเปาะอีก ๖ ปี

ปี ๒๕๑๗ หลวงพ่อสนองกลับมาวัดสังฆทานอีกครั้งเพื่อจำพรรษา รวมกับพระอีก ๕ รูป ด้วยปฏิปทาตามหลักธุดงคกรรมฐาน ชาวบ้านบางคนตั้งข้อหาว่าเป็นพระคอมมิวนิสต์ ความเป็นอยู่จึงลำบาก ถูกข่มขู่ด้วยปืนและปาระเบิด บิณฑบาตเกือบไม่ได้เมื่อนำอาหารมาเทรวมกันก็มีน้อยมากทุกรูปไม่ยอมตักอาหาร ใส่บาตรหลวงพ่อต้องเป็นผู้ตักใส่บาตรให้น้ำดื่มต้องตักจากบ่อเก่ามาต้มฉัน ไม่มีน้ำปานะ ไม่มีไฟฟ้า

ปี ๒๕๑๘ หลวงพ่อสนองไปรับพระอาจารย์พลอยเตชพโลวัดเขาภูคามาช่วยเป็นหัวหน้าช่าง ในการบูรณะองค์หลวงพ่อโต พร้อมพระเณรประมาณสิบกว่ารูปรวมทั้งชาวบ้านการบูรณะที่แขนชำรุดมากต้องเอา แป๊บน้ำใส่แล้วโบกปูนทับ ส่วนที่ใดเนื้อปูนยุ่ยก็ขูดออกแล้วโบกปูนทับนำปูนเก่ามาผสมปั้นเป็นหลวงพ่อ สังกัจจายน์ (พระมหากัจจายนะ)

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของศาลาหลวงพ่อโต
ใน วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ หลวงพ่อสนองดำริให้รื้อถอนศาลา เพื่อจะสร้างโบสถ์ใหม่ เนื่องด้วยศาลาหลวงพ่อโตมีความชำรุดทรุดโทรมและคับแคบไม่เพียงพอที่จะรองรับ จำนวนพระภิกษุสามเณรและผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมได้นอกจากนี้หลังคาสังกะสีเวลา ฝนตกจะมีเสียงดังมากหน้าร้อนก็จะร้อนมากดังนั้นพระภิกษุผ้าขาวและชาวบ้านจึง ช่วยกันรื้อถอนแม้กระทั่งชาวอังกฤษที่เพิ่งเดินทางมาถึงก็ร่วมช่วยด้วย

รูปแบบของโบสถ์

ที่ หลวงพ่อจะให้สร้างขึ้นใหม่นั้นเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมทำด้วยกระจกทั้งหมดและ กำหนดเวลาการก่อสร้างเป็นเวลาปีครึ่งโดยท่านตั้งจุดประสงค์ว่าโบสถ์ของวัด สังฆทานต้องเป็นโบสถ์ที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดและถูกต้องตามความเป็น จริง ขนาดของโบสถ์ต้องจุคนได้ ๖๐๐ คน เมื่อแบบจำลองของโบสถ์ออกมาก็ถูกวิจารณ์ว่าทำไมโบสถ์จึงเป็นแก้วแปดเหลี่ยม ไม่ใช่ทรงไทยที่มีช่อฟ้า ใบระกาหลวงพ่อสนองได้ให้เหตุผลว่า

๑. หลวงพ่อโตองค์ใหญ่มากมีความสูงหลายเมตรถ้าสร้างโบสถ์เป็นแบบทรงไทยต้องสร้าง ให้เศียรหลวงพ่อโตต่ำกว่าขื่อต่ำกว่าอกไก่ โบสถ์ต้องใหญ่มากต้องรับน้ำหนักมาก ทำ ๒ ชั้นก็ไม่เหมาะ เพราะต้องการประหยัดพื้นที่ แต่ถ้าทำเป็นรูปเจดีย์แล้ว สามารถให้หลวงพ่อโตอยู่ตรงกลาง หรือตรงริมก็ได้ หลวงพ่อโตก็จะดูสวยสง่า และทรงแปดเหลี่ยมสมมุติเป็นมรรคองค์แปด

๒. การสร้างโบสถ์ทรงไทยต้องลงทุนมากกว่าร้อยล้านบาทขึ้นไปจึงจะเสร็จแต่โบสถ์ แก้วใช้ประมาณ๕๐ล้านบาทสร้างได้๒ชั้นและสามารถสร้างเสร็จได้เร็วกว่า เนื่องจากทางวัดจำเป็นต้องใช้โบสถ์ในการอุปสมบทหมู่ จุพระเป็นร้อย บรรพชาสามเณรปีละ ๓๐๐ รูป มีการประชุมพระครั้งละสองสามร้อยรูป โบสถ์นี้สามารถจุคนได้ถึง ๖๐๐ คน ด้านล่างใช้เป็นสำนักงาน ห้องเทป ห้องมูลนิธิ ห้องสมุด ฯลฯ มีประโยชน์อเนกประสงค์

ปี ๒๕๓๗ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโกวางศิลาฤกษ์โบสถ์แก้วตรงกับวันมาฆบูชาที่ ๒๕กุมภาพันธ์ เวลา ๐๒.๔๖ น. คณะพระภิกษุ-สามเณรจากวัดสังฆทาน วัดทุ่งสามัคคีธรรม และวัดสาขาของวัดสังฆทานทั้งหมดใขณะนั้น ๑๗ สาขา เป็นจำนวนกว่า ๒๐๐ รูป รวมทั้งสาธุชนจำนวนมากได้พร้อมใจกันน้อมจิตอธิษฐาน ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ภาวนา เวียนเทียนรอบองค์หลวงพ่อโต

ถึง วันนี้ โบสถ์แก้วได้ตั้งตระหง่านภายในเขตสีมาวัดสังฆทาน กำลังรอสายธารศรัทธาจากสาธุชนทั่วทุกสารทิศ เพื่อโบสถ์แก้วหลังนี้จะได้เป็นศาสนสมบัติอันถาวรเป็นที่อุปสมบทแห่งกุลบุตร ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาสืบไป

เบอร์ที่ใช้ในวัดสังฆทา

สถานีโทรทัศน์พุทธภูมิ โทร. 0-2496-1160-9 แฟกซ์ : 0-2496-1170

สถานีวิทยุสังฆทานธรรม โทร. 0-2443-0341-2 แฟกซ์ : 0-2443-0338

สำนักงานวัดสังฆทาน โทร. 0-2496-1240-42 แฟกซ์ : 0-2496-1243

รับสมัครบวชเนกขัมมะ โทร. 0-2496-1240-42 ต่อ 130

สังฆทานนิวส์ โทร. 0-2447-1766 แฟกซ์ : 0-2447-1766
 


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยววัดสังฆทาน

 
นนทบุรี/Information of NONTHABURI

  วัดสังฆทาน

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

นนทบุรี แผนที่จังหวัดนนทบุรี เกาะเกร็ด ตลาดน้ำบางคูเวียง วัดสังฆทาน วัดไผ่ล้อม วัดสวนแก้ว
อำเถอบางกรวย


วัดชลอ

Wat Chalo
(นนทบุรี)
อำเภอปากเกร็ด


สวนทิพย์

Suan Thip
(นนทบุรี)
อำเภอเมือง
แผนที่จังหวัดนนทบุรี/map of NONTHABURI
โรงแรมจังหวัดนนทบุรี/Hotel of NONTHABURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์