ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติแม่เมย
 
อุทยานแห่งชาติแม่เมย
 

ความเป็นมา : เริ่มมีการสำรวจว่าจัดตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นหน่วยงานกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่เมยนั้น เพราะว่ามีแม่น้ำเมยซึ่งกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า เป็นเขตด้านทิศตะวันตกเกือบ 50 กิโลเมตร จากทิศเหนือจรดทิศใต้ อีกทั้ง แม่น้ำเมยนั้นเป็นแม่น้ำที่แปลกคือ จะไหลมาทางทิศใต้ ขึ้นไปทางทิศเหนือ พื้นที่ที่ทำการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ของวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ และรวมพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยางบางส่วน เป็นแนวเทือกเขาถนนธงชัย โดยเริ่มจากตำบลแม่ต้าน ผ่านตำบลแม่สอง จนถึงตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 713,750 ไร่ หรือ 1,142 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติแม่เมย ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณ ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าสองยาง ในท้องที่ตำบลแม่สอง และตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2542 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 115,800 ไร่ หรือ 185.28 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลแม่อุสุนั้น เดิมเป็นวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ มีอาณาเขตทิศเหนือจดแม่น้ำเมย ทิศใต้จดห้วยโป่งและห้วยม่วง ทิศตะวันออกจดห้วยพูลซะ ห้วยพอนอโก ตามทางหลวงสายแม่สอด-แม่สะเรียง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย ในท้องที่ตำบลแม่สอง เดิมเป็นพื้นที่ป่าสัมปทานเก่า อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้ คือ ทิศเหนือจดทางหลวงสายแม่สลิด – อมก๋อย ทิศใต้จดลำน้ำแม่สองและทางหลวงสายแม่สอด–แม่สะเรียง ทิศตะวันออกจดห้วยแม่หลุยและลำน้ำแม่สอง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย

ลักษณะภูมิประเทศ

 


ส่วน มากเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีที่ราบน้อยมาก โดยมีความสูงเฉลี่ย 680 เมตร จากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุด 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ไม้ใหญ่มีน้อย เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของลำน้ำแม่สอง ลำน้ำแม่อุสุ ลำน้ำแม่สลิดหลวง และแม่น้ำเมย

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 


จะ มีฝนตกชุกมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การรองเที่ยวชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไปเป็นอย่างมาก พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดจากทะเลอันดามัน ประกอบกับอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าเขา ทำให้ได้รับลมมรสุมมากกว่าบริเวณอื่น มีฝนตกชุกเหมือนภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกชุกมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไปเป็นอย่างมาก

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 


พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยสามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น
ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาทั่วไปในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-700 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่จำพวก ตะเคียนหิน ตะแบก สมพง ชมพู่ป่า กระบาก ยาง รกฟ้า สมอพิเภก ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก ไผ่ หวาย เฟิน เร่ว เป็นต้น

ป่าดิบชื้น จะพบในระดับสูงขึ้นมา โดยเฉพาะตามหุบเขาและริมห้วยในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-1,200 เมตร เป็นป่าทึบประกอบด้วย ยาง ตะเคียนหิน อบเชย มะไฟป่า อินทนิน ค้อ กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย เต่าร้าง ไผ่สีสุก ไผ่หก ไผ่หนาม เฟิน ปรง และพืชในวงศ์ขิงข่า เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบตามภูเขาในระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น อบเชย ทะโล้ จำปีป่า ฯลฯ ป่าสนเขา ส่วนใหญ่ขึ้นเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ และก่อชนิดต่างๆ

ป่าเบญจพรรณ โดยมากพบอยู่ริมห้วยและหุบเขาในระดับ 300-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่พบจำพวก สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ ชิงชัน ขะเจ๊าะ เสลา ตีนนก โมกมัน ฯลฯ และป่าเต็งรัง มักขึ้นอยู่บนเนินเขา ไหล่เขา และเชิงเขา โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหินโผล่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง ส้าน มะขามป้อม ยอป่า สลักป่า ติ้ว แต้ว เป็นต้น

สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยมีจำนวนน้อย อันเป็นผลเนื่องมาจากการล่า การยิง และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย สัตว์ที่หลงเหลืออยู่จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก สัตว์ใหญ่พบน้อยมาก ที่สามารถพบเห็นได้บ่อย เช่น เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง ลิงลม อีเห็น ชะมด เม่น เม่น กระต่ายป่า กระรอก ไก่ป่า นกเงือก นกขุนทอง นกตะขาบทุ่ง นกกะรางหัวหงอก นกเขาเขียว งูเห่า งูจงอาง งูเหลือม งูสิง ตะกวด แย้ กิ้งก่า ตะพาบน้ำ กบ เขียด เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติแม่เมย
ต.แม่สอง ต.แม่อุสุ อ. ท่าสองยาง จ. ตาก  63150
โทรศัพท์ : 0 5557 7409 (VoIP), 0 5557 6452 (สนง.)
ผู้บริหาร : กำธร ทวีทรัพย์   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์

• จากจังหวัดตาก มาอำเภอแม่สอด และอำเภอท่าสองยาง รวม ประมาณ164 กิโลเมตร จากอำเภอท่าสองยางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (แม่สอด – แม่สะเรียง) ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร ถึงทางแยกแม่สลิดหลวง เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1267 (แม่สลิด-อมก๋อย) ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างชัน ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย

• ถ้ำแม่อุสุอยู่ห่างจากอำเภอท่าสองยางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (แม่สอด – แม่สะเรียง) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามถนน รพช. ผ่านบ้านทีโนะโคะ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ถึงถ้ำแม่อุสุ

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. แม่เมย 101 (ไพรพิมาน) 1 1 4 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 1 2. แม่เมย 103 (คู่พฤกษา) 3 2 6 1,800  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 แม่เมย 101-103 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. แม่เมย 011 - ห้องประชุม 1 (09.00 - 12.00 น.) 50 500  ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. แม่เมย 011 - ห้องประชุม 1 (18.00 - 21.00 น.) 50 500  ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. แม่เมย 011 - ห้องประชุม 1 (13.00 - 16.00 น.) 50 500  ห้องพัดลม ไม่เกิน 50 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 แม่เมย 011 - ห้องประชุม 1 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 

ม่อน กระทิง ม่อนกิ่วล ม่อนพูนสุดาและม่อนปุยหมอก เป็นจุดชมทิวทัศน์ของขุนเขาและทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีใน หมู่นักท่องเที่ยวและนักถ่ายภาพธรรมชาติมานานหลายสิบปี ปัจจุบันยอดดอยเหล่านี้รวมทั้งถ้ำแม่อุสุซึ่งมีความงดงามมาก อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติแม่เมย ท้องที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

จุดชมทะเลหมอก  จุด ชมทะเลหมอกนี้อยู่หลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย มีความสูงประมาณ 1,100 เมตร เป็นจุดที่มองเห็นทะเลหมอกได้กว้างไกลมาก รวมทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก อีกทั้งเป็นจุดชมวิวที่ต้อนรับผู้ที่นิยมการเดินป่า เพราะจะต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง และต้องพักค้างแรม 1 คืน เพื่อชมทิวทัศน์ที่สวยงาม

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

ถ้ำแม่อุสุ  เป็น ถ้ำหินปูนที่มีขนาดกว้างใหญ่ มีลำน้ำแม่อุสุไหลเข้าสู่ปากถ้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไหลเวียนไปออกด้านหลังถ้ำลงไปสู่แม่น้ำเมยซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก เฉียงใต้ มีระยะทางโดยประมาณ 450 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 20 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร ภายในของถ้ำมีคูหาใหญ่ๆ อยู่ 3 คูหา มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก เวลากลางวัน แสงอาทิตย์ส่องลาดผ่านปล่องถ้ำลงมากระทบหินทราย เกิดประกายแวววาว บริเวณปากทางเข้าถ้ำมีเจ้าหน้าที่นำเที่ยวชมภายใน ทางเดินในถ้ำค่อนข้างสะดวก มีเพียงบางช่วงที่ต้องปีนป่ายก้อนหินบ้าง ใช้เวลาเที่ยวชมประมาณ 1 ชั่วโมง ในช่วงฤดูฝนระดับน้ำในถ้ำจะขึ้นสูงจนไม่สามารถเข้าไปในถ้ำได้ ถ้ำแม่อุสุจึงเที่ยวได้เฉพาะในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง ถ้ำแม่อุสุอยู่ห่างจากอำเภอท่าสองยางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 สายแม่สอด - แม่สะเรียง ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามถนน รพช. ผ่านบ้านทีโนะโคะ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ถึงถ้ำแม่อุสุ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 08 5732 2532

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

น้ำตกชาวดอย  อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามถนนแม่สลิด-แม่ระเมิง ประมาณ 5 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 17-18 มีเส้นทางเดินเท้าประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที จะพบกับน้ำตกชาวดอยที่ไหลจากหน้าผาสูงราว 25-30 เมตร ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลางชั้นเดียวที่ทิ้งลงสู่เบื้องล่าง รวมตัวเป็นสายธารไหลลัดเลาะไปตามโขดหินที่ระเกะระกะกลางลำห้วยแลดูสวยงาม แปลกตา

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมทิวทัศน์  

น้ำตกแม่ระเมิง  น้ำตก แม่ระเมิง จากที่ทำการของอุทยานแห่งชาติ ตามเส้นทางสู่ม่อนกิ่วลมอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 20 ทางด้านขวามือจะพบน้ำตก ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดเล็กสูงราว 15 เมตร ตกลงมาเป็นสองชั้นไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกแม่สลิดน้อย  อยู่ ด้านหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องเดินทางเท้าลัดเลาะไปตามลำห้วยแม่สลิด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ระหว่างทางจะมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจให้ศึกษา เช่น ดอกเทียน หงอนเงือกเล็ก แววมยุราเล็ก ดอกไม้เถา เห็ดป่าสีสวยสดใส และเฟิร์น ใช้ชมตลอดทาง ถึงน้ำตกชั้นแรก แยกเป็นสองสายตกจากหน้าผาสูงราว 40 เมตร ส่วนชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต้องปีนป่ายไปตามไหล่เขาที่สูงชัน ชั้นบนสุดจะพบน้ำตกอีกสองชั้นใหญ่ๆ มีสายน้ำทิ้งตัวไหลลงสู่เบื้องล่างติดต่อกันลงมาถึงสองชั้น จากหน้าผาสูงชันไม่น้อยกว่า 80 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ด้วยความแรงของสายน้ำทำให้เกิดละอองเป็นฝอยฟุ้งกระจายไป ทั่ว

ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่สลิดน้อย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินท่องธรรมชาติ ฟังเสียงสายน้ำ และศึกษาพรรณไม้นานาชนิด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.8 กิโลเมตร ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติมีน้ำตกขนาดเล็กมากมายให้ได้ชม

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

ม่อนกระทิง  เป็น จุดชมทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง คำว่า “ม่อน” หมายถึง เนินดินหรือเนินเขาเตี้ยๆ ชื่อม่อนกระทิงมีที่มาจากว่าบริเวณนี้เคยมีกระทิงอาศัยอยู่ชุกชุมจนมีพราน ป่าขึ้นมาล่าอยู่เสมอๆ เดินทางจากถ้ำแม่อุสุต่อไปจนพบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1267 สายแม่สลิดหลวง - แม่ระเมิง ให้เลี้ยวขวาขึ้นสู่ดอยแม่ระเมิง ช่วงนี้เป็นทางขึ้นเขาชัน ระยะทางประมาณ 11 กม. จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ม่อนกระทิงอยู่ห่างออกไปอีกไม่ไกล

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ม่อนกิ่วลม  ที่ ใช้ชื่อว่า ม่อนกิ่วลม ก็เพราะที่แห่งนี้มีช่องหรือกิ่ว ที่มีลมพัดผ่านอยู่เสมอ เป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่สวยที่สุดบนเส้นทางสายสายแม่สลิดน้อย-แม่ ระเมิง ม่อนกิ่วลมอยู่บนความสูง 940 เมตรจากระดับน้ำทะเล มองเห็นทะเลหมอกปกคลุมหุบเขาเบื้องล่าง โดยมียอดเขาสูงต่างๆ โผล่พันสายหมอกแลดูราวกับเกาะใหญ่น้อยกลางทะเลสีขาว อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบเขา เดินทางต่อจากม่อนกระทิงลัดเลาะไปตามไหล่เขาอีกประมาณ 8 กิโลเมตร จุดชมทิวทัศน์ม่อนกิ่วลม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแงชาติ ประมาณ 12 กิโลเมตร

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ม่อนครูบาใส  อยู่ ใกล้เคียงกับม่อนพูนสุดา ห่างกันประมาณ 200 เมตร สามารถชมทะเลหมอกยามเช้าและชมพระอาทิตย์ตกดินได้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย ประมาณ 7 กิโลเมตร

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

ม่อนปุยหมอก  ม่อน ปุยหมอกเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่น่าสนใจมีการเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะทาง จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3.8 กิโลเมตรใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 3-4 ชั่วโมงเป็นจุดที่สูงที่สุดและสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในที่เดียวกัน

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   ดูนก   ดูดาว  

ม่อนพูนสุดา  เป็น จุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากม่อนกระทิง 2 กิโลเมตร ชื่อม่อนตั้งขึ้นตามชื่อของนักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย คือ อาจารย์พูน เกษจำรัส และภรรยาของท่านชื่อ สุดา เพื่อเป็นเกียรติแด่อาจารย์พูน ในฐานะที่เป็นผู้เดินทางมาถ่ายภาพบนหม่อนนี้เป็นคนแรก

กิจกรรม : ชมทิวทัศน์  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายให้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงให้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


ที่จอดรถ    มีลานจอดรถขนาดเล็กให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนไปท่องเที่ยว ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ


ระบบสาธารณูปโภค    ระบบไฟฟ้าบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ใช้เครื่องปั่นไฟฟ้า กำหนดเปิดให้บริการ ระหว่างเวลาประมาณ 18.00 - 22.00 น.


 
 
อุทยานแห่งชาติแม่เมย
ต.แม่สอง ต.แม่อุสุ  อ. ท่าสองยาง  จ. ตาก   63150
โทรศัพท์ 0 5557 7409 (VoIP), 0 5557 6452 (สนง.)   อีเมล maemoei@hotmail.com
 
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์