ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติแหลมสน
 
อุทยานแห่งชาติแหลมสน
 

อุทยาน แห่งชาติแหลมสน ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอกะเปอร์ กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกแห่งหนึ่ง ครอบคลุมพื้นที่บริเวณหาดแหลมสนและหมู่เกาะใกล้เคียง ร่มรื่นด้วยป่าสนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นที่อยู่ของนกนานาชนิด ทั้งมีหาดทรายขาวละเอียดเป็นแนวยาวและกว้างใหญ่ มีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก อุทยานแห่งชาติแหลมสนมีเนื้อที่ประมาณ 196,875 ไร่ หรือ 315 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2523 ป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานีได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ประจำหน่วยควบคุมป่า เลน ที่ รน.1 ว่า สภาพป่าบริเวณแหลมสนในท้องที่ตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง มีลักษณะสวยงาม มีชายหาดริมทะเล มีพรรณไม้นานาชนิด และมีสัตว์น้ำชุกชุม ป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานีจึงมีคำสั่งที่ 154/2523 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2523 ให้ นายณรงค์ จันทรางกูร เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ออกทำการสำรวจสภาพป่าบริเวณแหลมสนเพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ตามรายงานผลการสำรวจบริเวณพื้นที่ป่าแหลมสนมีธรรมชาติสวยงาม เหมาะจัดเป็นวนอุทยาน เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน ซึ่งป่าไม้เขตสุราษฎร์ธานีได้มีหนังสือที่ กส.0708(สฎ)/3100% ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2523 ให้กรมป่าไม้พิจารณา ในเดือนมกราคม 2524 กรมป่าไม้ โดยกองอุทยานแห่งชาติจึงได้มีคำสั่งที่ 125/2524 ลงวันที่ 28 มกราคม 2524 ให้นายมโน มนูญสราญ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานแหลมสน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

ต่อมาวนอุทยานแหลมสนได้มีหนังสือที่ กส.0713(หส)/11 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2525 รายงานผลการสำรวจเพิ่มเติมว่า บริเวณหาดแหลมสนมีสภาพป่าและบริเวณชายหาดที่สมบูรณ์ดี มีป่าสนธรรมชาติขึ้นอยู่ตลอดแนวชายหาดและยังมีทุ่งหญ้า รวมทั้งมีหมู่เกาะใกล้เคียง มีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตลอดจน นายพร อุดมพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ได้ให้การสนับสนุนอย่างดียิ่ง กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2525 ในการประชุมครั้งที่ 2/2525 และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินหาดแหลมสนและเกาะใกล้เคียงในท้องที่ตำบล ราชกรูด อำเภอเมืองระนอง ตำบลม่วงกลวง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพวน อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ 315 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 100 ตอนที่ 135 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2526 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 46 ของประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ

 

อุทยาน แห่งชาติแหลมสน ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ในท้องที่อำเภอเมืองระนอง อำเภอกะเปอร์ กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรีจังหวัดพังงา อยู่ในระหว่างเส้นรุ้งที่ 9 องศา 16 ลิบดา - 9 องศา 40 ลิบดา เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 98 องศา 19 ลิบดา - 98 องศา 31 ลิบดา ตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อทิศเหนือจดอ่าวอ่าง ทิศใต้จดป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนคลองม่วงกลวง และป่าแหลมหน้าทุ่ง จังหวัดระนอง ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานมสาว แปลงที่ 2 จังหวัดพังงา และป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งนาดำ และป่าควนปากเตรียม จังหวัดพังงา ทิศตะวันออกจดคลองเตรียม ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน

อุทยานแห่งชาติแหลมสนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 315 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 268.55 ตารางกิโลเมตร หรือ 85.25 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 60 กิโลเมตร และหมู่เกาะ 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะกำใหญ่ และหมู่เกาะกำนุ้ย รวมทั้งเกาะต่างๆ อีก 8 เกาะ ได้แก่ เกาะหมู เกาะเปียกน้ำน้อย เกาะเปียกน้ำใหญ่ เกาะเทา เกาะค้างคาว เกาะล้าน เกาะกำหนุ่ย และเกาะไข่ใหญ่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงสุด 296 เมตร ที่เกาะกำใหญ่ สำหรับชายฝั่งแผ่นดินใหญ่มียอดเขาสูงสุดที่เขาอ่าวอ่างสูงจากระดับน้ำทะเล 264 เมตร

ลักษณะชายฝั่งของอุทยานแห่งชาติ มีลักษณะเว้าแหว่ง และท้องทะเลลึก ไม่ห่างจากชายฝั่งมากนัก เป็นลักษณะชายฝั่งจมตัว เป็นผลให้ชายหาดตลอดแนวฝั่งแคบ มีลำน้ำสายสั้นขนาดเล็กจำนวนมาก ไหลจากที่สูงตอนในแผ่นดินไหลออกสู่ทะเลอันดามันประกอบด้วย คลองของ คลองลัดโนด คลองขะนุด คลองบางเบน คลองกล้วย คลองนาพรุใหญ่ คลองกำพวน และคลองปูดำ ซึ่งแม่น้ำลำคลองเหล่านี้ได้พัดพาตะกอนดินมาทับถมตามปาก แม่น้ำและชายฝั่ง ทำให้ลักษณะชายฝั่งบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลองถูกปกคลุมไปด้วยป่าชายเลน ส่วนบริเวณติดต่อกับทะเลเปิดจะมีลักษณะของชายฝั่งเป็นดินโคลน แต่จะพบสันดอนทรายอยู่บ้างในช่วงน้ำลง บริเวณเขาอ่าวอ่าง เกาะหมู เขาบางเบน เกาะเปียกน้ำ เกาะเทา แหลมนาว เกาะค้างคาว หมู่เกาะกำใหญ่ หมู่เกาะกำนุ้ย เกาะล้าน เกาะกำหนุ่ย และเขาอ่าวนุ้ย ประกอบด้วยหน่วยหินแก่งกระจาน ในหมู่หินตะนาวศรี มีอายุอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส ถึง ยุคเพอร์เมียน มีอายุประมาณ 345-230 ล้านปีมาแล้ว

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

อุทยาน แห่งชาติแหลมสนตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระนองซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองฝนแปด แดดสี่ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกมาก โดยมีฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน เป็นช่วงฝนชุกมาก โดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนมากกว่า 700 มิลลิเมตรต่อเดือน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัดเพราะอยู่ไกลจากอิทธิพลของอากาศหนาวพอสมควร แต่บางครั้งอาจมีฝนตกได้เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าว ไทยพาเอาฝนมาตก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดมาปกคลุม ทำให้อากาศร้อนโดยทั่วไป อากาศจะร้อนสุดในเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 35 องศาเซลเซียส แต่ไม่ร้อนมากนักเนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศคลายความร้อนลงไปมาก ฤดูร้อนจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการมาเยือนอุทยานแห่งชาติแหลมสน

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

ลักษณะ พืชพรรณที่ปรากฏในส่วนของแผ่นดินใหญ่บริเวณเขาบางเบน เขาปากเตรียม และตอนกลางของเกาะต่างๆ เช่น เกาะเปียกน้ำใหญ่ เกาะเปียกน้ำน้อย เกาะเทา เกาะกำใหญ่ เกาะกำนุ้ย เกาะไข่ใหญ่ เกาะล้าน และเกาะค้างคาว เป็น ป่าดงดิบ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางแดง ยางเสียน เคี่ยมคะนอง กระบกกรัง ไข่เขียว หว้า ลำป้าง พระเจ้าห้าพระองค์ เหรียง ปาหนันช้าง จิกเขา กระทุ่ม มะหาด สัตบรรณ พะวา มะไฟ ฯลฯ ซึ่งตามลำต้นและกิ่งก้านของต้นไม้เหล่านี้ยังมีไม้เถาและพืชอิงอาศัยอีกหลาย ชนิดเช่น พญาเท้าเอว เกล็ดนาคราช ชายผ้าสีดา ข้าหลวงหลังลาย กระแตไต่ไม้ เป็นต้น พืชคลุมดินและพืชพื้นล่างได้แก่ หวายกำพวน หวายเดาใหญ่ หวายเล็ก ระกำ กะพ้อ คัดเค้าหนู เข็มทอง เคลงหนู แก้มขาว เอื้องหมายนา ลิเภาใหญ่ เตยหนู ข่าป่า และกล้วยป่า เป็นต้น

ในบริเวณชายหาดจะพบ ป่าชายหาด ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนทะเล หยีทะเล จิกเล กระทิง หงอนไก่ทะเล ปอทะเล เมา มะหวด มะพลับ ลำบิดทะเล ทองหลางป่า โพบาย สมพง นน หูกวาง หมูหมัน ตะแบกนา พืชพื้นล่างได้แก่ ผักบุ้งทะเล หญ้าปริก พังแหรใบใหญ่ บุก และพืชในวงศ์ขิงข่า ป่าชายหาดในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะเป็นลักษณะของป่าสนทะเล โดยมีพันธุ์ไม้ชนิดอื่นขึ้นปะปนน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นทรายลึก สนทะเลแต่ละต้นมีขนาดใหญ่ มีพูพอนใหญ่ เมื่อมีลมพายุจึงเป็นแนวกันลมอย่างดี บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง เป็นสังคมพืชของ ป่าชายเลน ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น ป่าชายเลนบริเวณเลนเหลว ซึ่งบริเวณนี้ช่วงน้ำทะเลขึ้นจะท่วมถึงทุกวัน มีดินเลนเหลวและลึก ชนิดพันธุ์ไม้ที่ปรากฏจะขึ้นอยู่ห่างๆ มีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แสมดำ แสมขาว แสมทะเล และมีโกงกางใบเล็กขึ้นปะปนเล็กน้อย และ ป่าชายเลนบริเวณดินเลนค่อนข้างแน่น อยู่ระหว่างป่าชายเลนที่ดินเลนเหลวกับป่าชายหาด พันธุ์ไม้ที่ขึ้นค่อนข้างหนาแน่น พันธุ์ไม้เด่นได้แก่ โปรงแดง โปรงขาว และโกงกางใบเล็ก พังกาหัวสุม ถั่วดำ ถั่วขาว ตะบูนขาว และตะบูนดำ สำหรับในบริเวณป่าชายเลนใกล้ทะเลซึ่งได้รับอิทธิพลของลมและคลื่นโดยตรงจะพบ ไม้ลำแพน แสมขาว และ โปรงแดง เพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ยังพบหญ้าทะเลประเภท หญ้าใบมะขาม และหญ้าชะเงาใบสั้นปล้องยาว

จากลักษณะสภาพภูมิประเทศและความอุดมสมบูรณ์ของสังคมพืช ทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติแหลมสนเหมาะเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์หลายประเภท ด้วยกัน จากการสำรวจสัตว์ป่าในช่วงปี พ.ศ. 2539-2541 พบมีความหลากหลายของสัตว์ป่าดังนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 30 ชนิด ได้แก่ ลิ่นชวา กระแตใต้ ลิงแสม ลิงกัง ค่างแว่นถิ่นใต้ หมูป่า กระจงเล็ก เก้ง พญากระรอกดำ กระรอกปลายหางดำ หนูนาเล็ก หนูฟานเหลือง เม่นหางพวง ฯลฯ นก พบทั้งหมด 175 ชนิด ได้แก่ นกยางควาย เหยี่ยวแดง นกคุ่มอกลาย นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกนางแอ่นบ้าน นกเด้าลมเหลือง นกเด้าดินทุ่ง นกขมิ้นน้อยสวน นกปรอดคอลาย นกแซงแซวหางปลา นกเอี้ยงสาริกา นกกินปลีอกเหลือง นกกระติ๊ดขี้หมู ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน พบ 23 ชนิด ได้แก่ เต่าเหลือง จิ้งจกหางเรียบ ตุ๊กแกบ้าน กิ้งก่าแก้ว จิ้งเหลนหลากหลาย ตะกวด งูสิงบ้าน เป็นต้น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พบ 7 ชนิด ได้แก่ คางคกบ้าน กบบัว กบหนอง กบทูด กบเขาสูง เขียดตะปาด เขียดงูสวน

ในส่วนที่เป็นคลองน้ำจืดพบปลาดุกด้าน ปลาหมอเทศ ปลาแขยงหิน ฯลฯ พื้นที่บริเวณเกาะและชายฝั่งทะเลของอุทยานแห่งชาติกอร์ปไปด้วยแนวปะการังและ ป่าชายเลน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร หลบภัย และขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิดทั้งที่มีกระดูกสันหลังและสัตว์ที่ไม่มี กระดูกสันหลัง เช่น เต่าหญ้า ปลากระบอก ปลากะพงขาว ปลากระเบน ปลากระทุงเหว ปลากะรัง ปลาข้างเหลือง ปลาผีเสื้อคอขาว กุ้ง หมึก ปู หอยมือหมี หอยหวาน ลิ่นทะเล เม่นหนามดำ ปลิงทะเล ดาวทะเล ปะการัง และกัลปังหา เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติแหลมสน
36/6 หมู่ที่ 4 บ้านบางเบน ต.ม่วงกลวง อ. กะเปอร์ จ. ระนอง  85120
โทรศัพท์ : 0 7786 1442 (VoIP), 0 7786 1431, 0 7786 1432   โทรสาร : 0 7786 1432
ผู้บริหาร : โกศล ศรีประศาสตร์   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
 
รถยนต์

ใน ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการมาเยือนอุทยานแห่งชาติแหลมสน โดยสามารถเดินทางตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จากจังหวัดระนองไปทางอำเภอกะเปอร์ ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าหาดบางเบน (สามแยกบ้านสำนัก ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์) ก่อนถึงอำเภอกะเปอร์ประมาณ 6 กิโลเมตร หรือบริเวณกิโลเมตรที่ 657 เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร

 
เครื่องบิน

จาก สนามบินดอนเมืองถึงสนามบินจังหวัดระนอง ต่อจากนั้นมาขึ้นรถประจำทาง เป็นรถสองแถวระนอง-กะเปอร์ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร โดยสามารถเดินทางมาตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ถึงทางแยกเข้าบางเบนที่ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติแหลมสน

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 แหลมสน 101-104 บ้านพักแฝด 2 ห้อง และบ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติบนฝั่ง บริเวณหาดบางเบน

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 


 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 

จังหวัด ระนองได้ชื่อว่าเป็นเมืองฝนแปดแดดสี่ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกมาก ุโดยมีผนเฉลี่ยตลอดทั้งปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน เป็นช่วงฝนชุกมาก โดยมีค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝนมากกว่า 700 มิลลิเมตรต่อเดือน ดังนั้นในช่วงฤดูร้อนจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการมาเยือนอุทยานแห่ง ชาติแหลมสน โดยสามารถเดินทางมาตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จากจังหวัดระนองไปทางอำเภอกะเปอร์ ระยะทางประมาณ 46 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าหาดบางเบน เลี้ยวขวาเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติเป็นระยะทางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่

 
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

เกาะไข่ใหญ่  เป็น จุดดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นที่ดีที่สุดในอุทยานแห่งชาติแหลมสน มีกัลปังหาขนาดใหญ่จำนวนมาก ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 30 นาที จากหาดประพาส

กิจกรรม : ดำน้ำลึก   ดำน้ำตื้น  

เกาะค้างคาว  เกาะ ค้างคาว จากหาดบางเบนสามารถนั่งเรือไปยังเกาะค้างคาวโดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 9 กิโลเมตร เกาะนี้มีหาดทรายขาวละเอียด รอบเกาะสามารถดำน้ำชมปะการังได้ทั้งแบบน้ำตื้นและน้ำลึก เกาะแห่งนี้เป็นที่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่นับพันตัว

กิจกรรม : ดำน้ำลึก   กิจกรรมชายหาด   ดำน้ำตื้น  

หมู่เกาะกำ  หมู่ เกาะกำ เป็นเกาะที่สวยงาม มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์อยู่เกือบรอบเกาะ เหมาะกับการท่องเที่ยวพักแรมและดูปะการังเป็นอย่างยิ่ง อยู่ห่างจากจากหาดบางเบนที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 17 กิโลเมตร สามารถนั่งเรือออกไปประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ประกอบด้วย

• เกาะกำตก บริเวณอ่าวเขาควาย มีความสวยงามตามธรรมชาติ หาดทรายทอดเป็นแนวโค้ง น้ำทะเลใส ในยามเย็นสามารถชมพระอาทิตย์ตกได้ที่ผาอัสดง

• เกาะกำใหญ่ เกาะกำนุ้ย หมู่เกาะญี่ปุ่น และบริเวณหินคันนา สภาพป่าบนเกาะมีพันธุ์ไม้นานาชนิด รวมทั้งสัตว์ป่าโดยเฉพาะนกหลายชนิดอาศัยอยู่ ธรรมชาติรอบเกาะทุกเกาะเป็นหาดทรายสลับโขดหิน บางบริเวณมีแนวปะการังและปลาหลายชนิดอาศัยอยู่รวมกัน

กิจกรรม : ดำน้ำลึก   ดำน้ำตื้น   ชมทิวทัศน์  

หาดบางเบน  เป็น หาดทรายยาวและกว้างใหญ่ มีทราย ละเอียด ร่มรื่นด้วยป่าสนธรรมชาติ บริเวณชายหาดจะมองเห็นเกาะแก่งในทะเลได้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพักนักท่องเที่ยว สถานที่กางเต็นท์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   ดูนก  

หาดประพาส  เป็น หาดทรายกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยทิวสนและลานหญ้าที่กว้างใหญ่ อยู่ปากคลองกำพวนซึ่งมีป่าชายเลนสมบูรณ์ การเดินทางใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านกิ่งอำเภอสุขสำราญมา 3 กิโลเมตร จะพบทางแยกขวามือเข้าไปอีก 40 นาที เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หส.2 (หาดประพาส)

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด   ชมทิวทัศน์  

หาดแหลมสน  อยู่ ถัดจากหาดบางเบนไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด พื้นที่บริเวณนี้ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น ป่าชายเลน และป่าชายหาด และเป็นที่อยู่ของนกนานาชนิด เหมาะสำหรับที่จะไปตั้งแค็มป์ดูนกเป็นอันมาก

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด   แค้มป์ปิ้ง   ดูนก  

หาดอ่าวเคย  ตั้ง อยู่ทางใต้สุดของอุทยานแห่งชาติในท้องที่ตำบลคุระบุรี อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ห่างจากแยกถนนเพชรเกษมเป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าหลากหลายชนิด และยังมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์มาก เหมาะสำหรับเดินป่า พักแรม เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ หส.3 (เขาปากเตรียม)

กิจกรรม : กิจกรรมชายหาด  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายไว้บริการ


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ


ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทานแห่งชาติแหลมสนมีลานกางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว


ที่จอดรถ    มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร    มีร้านอาหารไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว


ทางเดินศึกษาธรรมชาติ    มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาดสำหรับบริการนักท่องเที่ยว


ห้องอาบน้ำ    มีห้องอาบน้ำให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่พักค้างแรมเต็นท์


 
 
อุทยานแห่งชาติแหลมสน
36/6 หมู่ที่ 4 บ้านบางเบน ต.ม่วงกลวง  อ. กะเปอร์  จ. ระนอง   85120
โทรศัพท์ 0 7786 1442 (VoIP), 0 7786 1431, 0 7786 1432   โทรสาร 0 7786 1432   อีเมล laem_son_np@yahoo.com

  
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์