เขตมัณฑะเลย์

MyanmarMandalayพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขามัณฑเลย์ เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองเขตนี้มีพรมแดนติดกับเขตปกครองสกาย หงสาวดี มะกวย และรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง มีประชากรราว 6 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นพม่าและไทยใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำพวก ชา กาแฟ ดอกไม้เมืองหนาว พลับ องุ่น เกาลัด นอกจากนี้ยังมีป่าไม้ เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ นอกจากนี้ยังมีเหมืองทับทิม ไพลิน หยก และยังเป็นแหล่ง

ก๊าซธรรมชาติ เนื่องจาก เมืองมัณฑเลย์ เคยเป็นอดีตเมืองหลวงและ ศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ สถานที่ที่ควรไปชมคือ พระราชวัง มัณฑเลย์พระราชวังไม้สักสร้างขึ้นใหม่ตามผังเดิม แทนที่ พระราชวังเก่าที่ถูกไฟไหม้เสียหาย วัดชะเวจองดอว์ วัดไม้สัก ซึ่งช่างบรรจงแกะสลักไว้อย่างงดงาม ในอดีตเคยเป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระสังฆราชพม่า วัดกุโสดอว์ วัดซึ่งมีพระไตรปิฎก สลักบนหินอ่อน 729 หลัก ได้รับสมญานามว่าเป็น สมุดหินเล่มใหญ่

หากใครมามัณฑะเลย์แล้วต้องไปชม พิธีล้างพระพักตร์พระมหามุนี พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่มคู่บ้านคู่เมืองมัณฑเลย์ พิธีนี้เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานนับพันปี ไม่เคยหยุดเลยแม้แต่วันเดียว โดยเจ้าอาวาสซึ่งทำหน้าที่ล้างพระพักตร์ จะได้รับการคัดเลือกมาจากเจ้าอาวาส ทั่วประเทศให้เป็นผู้ทำพิธีนี้ พิธีเริ่มในเวลา 05.00 น.ของทุกวัน

วัฒนธรรมและประเพณี

ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ งานบูชานัตที่ต่องปะโยง (Taungpyone) และที่ยาตะนากู (Yadanagu) และประเพณีเต้นช้างที่เจ้าก์แซ (Kyaukse)

อาณาเขตติดต่อ

เขตมัณฑะเลย์มีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ เขตสะกาย
  • ทิศใต้ ติดกับ เขตพะโค, รัฐกะเหรี่ยง
  • ทิศตะวันออก ติดกับ รัฐฉาน
  • ทิศตะวันตก ติดกับ เขตมาเกว

อำเภอต่างๆ ในเขตปกครองมัณฑะเลย์

  • Kyaukse District
  • Mandalay District
  • Meiktila District
  • Myingyan District
  • Nyaung-U District
  • Pyinoolwin District
  • Yamethin District

สถานที่ท่องเที่ยว เมืองมัณฑะเลย์ประเทศพม่า

พระมหามัยมุนี (Mahamyatmuni Paya)

ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ของชาวยะไข่แห่งเมืองธัญญวดี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐยะไข่ ทางด้านตะวันตกของพม่าติดกับบังคลาเทศ) โปรดฯให้สร้างพระมหามัยมุนี ซึ่งแปลว่า “มหาปราชญ์” ขึ้นในปี พ.ศ.689 หรือเกือบสองพันปีมาแล้ว เหตุเพราะพระพุทธเจ้าเสด็จมาเข้าพระสุบินประทานพรแก่พระเจ้าจันทสุริยะ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นเพื่อเชิดชูพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แต่เนื่องจากว่ามีขนาดใหญ่จึงต้องหล่อแยกเป็นชิ้นแล้วจึงนำมาประสานกันได้สนิทจนไม่เห็นรอยต่อเป็นที่น่าอัศจรรย์ เชื่อกันว่าเป็นด้วยพรของพระศาสดาประทานไว้ ความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหามุนีเลื่องลือไปไกล จึงเป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่านับตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม บุเรงนองมหาราชแห่งหงสาวดี และอลองพญามหาราชแห่งรัตนปุระอังวะล้วนเพียรพยายามยกทัพไปชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานเพื่อเป็นศิริมงคลแห่งดินแดนพม่าทุกยุคทุกสมัย

แต่ต้องล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความทุรกันดารของเส้นทางที่เต็มไปด้วยแม่น้ำและภูเขาสูง
จนกระทั่งประสบความสำเร็จในสมัยพระเจ้าปดุง ก็สามารถนำเอาพระมหามุนีมาไว้ที่กรุงมัณฑะเลย์เมื่อปี พ.ศ.2327ในปัจจุบันชาวพม่ายังเรียกพระมหามุนีอีกชื่อหนึ่งว่า “พระยะไข่”วัดมหามัยมุนีมีธรรมเนียมปฎิบัติเช่นเดียวกับปูชนียสถานทุกแห่งในพม่าคือไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าใกล้องค์พระได้เท่าสุภาพบุรุษ ซึ่งสามารถขึ้นไปปิดทองที่องค์พระได้เลย โดยทางวัดกำหนดให้เขตสตรีกราบสักการะองค์พระได้ระยะใกล้สุดราว 10 เมตร แต่สามารถซื้อแผ่นทองฝากผู้ชายขึ้นไปปิดทองแทนได้ อย่างไรก็ตาม มีกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้สตรีสามารถสัมผัสองค์พระได้ โดยผ่านแป้งตะนะคาที่ใช้ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี โดยทุกๆเช้า ทางวัดจึงจัดพื้นที่บริเวณลานด้านหน้าองค์พระ ให้พุทธศาสนิกชนทั้งชายและหญิงช่วยกันฝนท่อนไม้ตะนะคา เพื่อให้ได้แป้งหอมจากเปลือกไม้ แล้วเอามาใส่ผอบรวมกันไว้มากๆ สำหรับนำไปผสมน้ำประพรมพระพักตร์องค์พระในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุแห่งความศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมการล้างพระพักตร์ให้องค์พระทุกๆรุ่งสาง เหมือนดั่งคนที่ต้องล้างหน้าแปรงฟันทุกเช้า โดยมีพระทำหน้าที่ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนีทุกวันตั้งแต่ราวตีสี่ครึ่ง โดยเริ่มจากประพรมพระพักตร์ด้วยน้ำผสมเครื่องหอมทำจากเปลือกไม้ “ตะนะคา” ซึ่งชาวบ้านนำมาบริจาคให้วัดทุกวัน จากนั้นก็ใช้แปรงขนาดใหญ่ขัดสีบริเวณพระโอษฐ์ดั่งการแปรงฟันแล้วใช้ผ้าเปียกลูบไล้เครื่องหอมดั่งการฟอกสบู่จนทั่วทั้งพระพักตร์ จึงมาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการใช้ผ้าขนหนูเช็ดพระพักตร์ให้แห้งและขัดสีให้เนื้อทองสัมฤทธิ์ที่พระพัตร์นั้นสุกปลั่งเป็นเงางามอยู่เสมอ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดพระมหามัยมุนีจึงเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบเป็นประกายวาววามอย่างที่สุดองค์หนึ่ง

 

สถานที่ท่องเที่ยว เมืองมัณฑะเลย์ประเทศพม่า

วัดกุโสดอร์ (Kuthodaw temple)

เป็นวัดที่พระเจ้ามินดง สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 และพระองค์ทรงให้จารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อน 729 แผ่น ถือเป็นพระไตรปิฎกเล่มใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี และได้นำมาประดิษฐานในมณฑป อยู่รอบพระเจดีย์มหาโลกมารชิน สูง 30 เมตร ซึ่งจำลองรูปแบบมาจากพระมหาเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม

 

พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Palace )

พระราชวังหลวงของพระเจ้ามิงดง สร้างขึ้นตามผังภูมิจักรวาลแบบพราหมณ์ปนพุทธ โดย สมมุติให้เป็นศูนย์กลางของโลก (เขาพระสุเมรุ) แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีกำแพงล้อมร้อบทั้งสี่ทิศ แต่ละทิศมีประตูทางเข้า 3 ประตู รวมทั้งสิ้น 12 ประตู ที่ประตู ทำสัญลักษณ์จักรราศีประดับเอาไว้ ใจกลางพระราชวังเป็นห้องพระมหาปราสาท (ห้องสีหาสนบัลลังก์) เป็น ปยัตตั้ด (ยอดปราสาท) หุ้มด้วยแผ่นทองซ้อนกัน เจ็ดชั้นสูง 78 เมตร เชื่อกันว่า ความเป็นไปในจักรวาลจะลอดผ่าน ยอดปราสาท ตรงลงมาสู่พระแท่นราชบัลลังก์ ช่วยให้กษัตริย์ตัดสินพระทัยในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง นักมานุษยวิทยา ชื่อ ชาร์ส เคเยส กล่าวถึงพระราชวังไว้ในรายงาน ความว่า “ กำแพงวังยาวเกือบ 2 กม. มีคูน้ำล้อมรอบ พ้นกำแพงออกไปเป็นบ้านเรือนของสามัญชน และชาวต่างชาติ ตลาด โรงงานของช่างฝีมือ และร้านรวงต่างๆ แต่กำแพงเมืองพุทธไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นปราการป้องกันข้าศึก อย่างของจีน และยุโรปในสมัยกลาง แต่สร้างไว้ เพื่อแสดงว่าพื้นที่ในวงล้อมของกำแพงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่า ปัจจุบัน พระราชวังที่บูรณะขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ในเขตป้อมมัณฑะเลย์ ของทางกองทัพ

 

ทะเลสาบต่าวตะหมั่น (Taungtaman Lake) 

ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองมาทางตะวันออกเฉียงเหนือ 1.5 กม.  บนถนนที่ตัดไปเมืองหย่าวน์อู สร้างขึ้นเมื่อปี 1211 ตามบัญชา พระเจ้านันต่าว-มยา บันทึก พงศาวดารฉบับหอแก้ว กล่าวว่า พระองค์ทรงเป็นโอรสในพระเจ้านรปติสิทธู ซึ่งเกิดแต่นางห้ามผู้หนึ่ง และได้รับเลือกเป็นรัชทายาท หลังทำการเสี่ยงทายตามโบราณราชประเพณี กษัตริย์พระองค์ใหม่กับพระอนุชาทั้งสี่ได้จัดตั้งสภาเสนาบดีขึ้นบริหาร ราชการแผ่นดิน เรียกว่า สภาลู้ตต่อ และใช้เป็นชื่อรัฐสภาพม่าสืบมาจนถึงทุกวันน
สะพานไม้สักอูเบ่ง (U-Bein Bridge)
คือสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลกทอดข้ามระยะทาง 1.2 ก.ม. สร้างขึ้นหลังจากที่ย้ายราชธานีจากอมราปุระไปยังมัณฑะเลย์ โดยใช้ไม้สักจากอินน์วะ ผู้สร้างคือเสนาบดีของพระเจ้าโบ่ต่อพญา นามว่า อูเบ่ง ปัจจุบันยังมีสภาพดีไม่ต่างจากเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน การเดินข้ามสะพานจะใช้เวลาราว 15 นาที ระหว่างทางมีที่พักอยู่หลายจุด ใช้เป็นที่หลบแดดในช่วงหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง:วิกีพีเดียสารานุกรมเสรีี์,หนังสือหน้าต่างสู่โลกกว้าง เมืองมัณฑะเลย์

 

ร้านอาหารในมัณฑะเลย์

No. RESTAURANT NAME ADDRESS
1. GOLDEN DUCK RESTAURANT Tel : 02-36808
192,Corner of 80th St; &16th St, Mandalay.
2. KO’S KITCHEN RESTAURANT Tel : 02-28042/31265
282,Corner of Bet; 19th x 80th st; Maygagiri Qut; Mandalay.
3. EMERALD GREEN RESTAURANT Tel : 02-36494/24726
35th st; 89th & 90th St; Mandalay.
4. AMARAPURA RESTAURANT Tel : 02-70722
5. A LITTLE BIT OF MANDALAY Tel : 02-61295 /095002151
413(B)- 65th St; ( Bet; 27th x 28th St; ) Aungdawmu Qut; Mandalay
6. BBB RESTAURANT Tel : 02-25623
7 GREEN ELEPHANT RESTAURANT Tel : 02-61237
8. ORIENTAL HOUSE RESTAURANT Tel : 02-30008
9. HAPPY RESTAURANT Tel : 072-21420/21692/21693
SAGGAING
10. MYA NANDA RESTAURANT Tel : 02-66110
Strand Rd., Between 26th & 35th Street, Mdy Tsp.,

เชิญแสดงความคิดเห็น