ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > จังหวัดลำพูน >พระเจดีย์ห้าดวง/ 

พระเจดีย์ห้าดวง/

 

พระธาตุเจดีย์ห้าดวง หรือ เวียงห้าหลัง เป็นเจดีย์หมู่ 5 องค์ อยู่ในบริเวณที่สันนิษฐานว่า จะเป็นเวียงเก่าลี้ ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ประมาณ 2 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 106 เข้าไปประมาณ 500 เมตร สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณเวียงเก่าลี้ เพราะมีซากกำแพงและคูเมืองตั้งเป็นแถว วัดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เจดีย์ 5 องค์ ตามตำนานกล่าวว่าพระนางเจ้าจามเทวี กษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชย ได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแก้ว 5 ดวง

ปรากฏเห็นอยู่บ่อยครั้ง จึงได้เสด็จมาดูด้วยพระองค์เอง เวลากลางคืนจึงได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง 5 ดวง ลอยอยู่บนกองดิน 5 กอง จึงได้สอบถามความเป็นมาก็ทราบว่า คือพระเมโตธาตุ ( น้ำไคลมือ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยล้างพระหัตถ์ และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5 ลงพื้นดิน พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้ง 5 กองไว้ และในวันที่ 20 เมษายนของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุห้าดวง

 

ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยอาคารต่างๆ มากมาย แต่ที่เด่นสะดุดตาเป็นจุดสนใจตั้งแต่จอดรถ ก็คือ "วิหาร ๙ ครูบา"  ในระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๔ - ๒๓๖๘ เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เป็นผู้ครองนครลำพูน ท่านได้ทำการบูรณะเมืองลำพูนเป็นอย่างดี ตามข้อความในพงศาวดารลี้ ฉบับพื้นเมืองอักษรลานนาจารึกลงใบลานว่า "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น" ได้นำบริวารมาปรับปรุงเมืองลำพูนไปตามสายแม่น้ำลี้ ไปตลอดจนถึงเมืองลี้ มิได้เข้าไปในเวียง คงตั้งอยู่ที่เชิงเขาพระธาตุ ๕ ยอดนั่นเิอง แล้วก็ทำการซ่อมแซมองค์พระธา่ตุจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

หลังจากนั้นก็ได้มีพระครูบา ๖ รูป ได้มาปฏิบัติธรรมบำเพ็ญภาวนาและดูแลรักษารวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุห้าดวง แต่ไม่ทราบประวัติความเป็นมาและ พ.ศ.ของพระครูบาแต่ละรูปได้ พระครูบาทั้ง ๖ รูป มีรายนามดังนี้
๑. ครูบากิตติ
๒. ครูบามหาสมณะ
๓. ครูบามหามังคลาจารย์
๔. ครูบามหาสวามี
๕. ครูบามหาเตจา
๖. ครูบาจะวรรณะ ปัญญา

ครูบาทั้ง ๖ นี้ หลวงปู่พระครูบาวงศ์(วัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้)ท่านได้สร้างพระรูปเหมือนทั้ง ๖ ครูบา ประดิษฐานไว้ในวิหารเก้าครูบา ซึ่งอยู่ภายในวัดพระธาตุห้าดวงด้วย ที่ท่านเรียกว่าวิหาร ๙ ครูบา เพราะยังมีพระครูบาอีก ๓ รูป ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง อันมี

๗. ครูบาศรีวิชัย
๘. ครูบาอภิชัยขาวปี
๙. ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา



ซึ่งครูบาทั้ง ๓ รูปนี้ หลวงปู่พระครูบาวงศ์ท่านได้ปั้นพระรูปเหมือนประดิษฐานไว้ในวิหาร ๙ ครูบาด้วย ในวิหารจึงมีรูปเหมือนครูบาทั้งหมด ๙ รูป ท่านจึงเรียกวิหารนี้ว่า "วิหาร ๙ ครูบา"

จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๔๖๘ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้มาบูรณะพระธาตุทั้ง ๕ องค์จนสำเร็จ แล้วได้ทำการฉลองสมโภชน์องค์พระธาตุ เมื่อทำการฉลองสมโภชน์แล้ว ท่านพระครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับวัดบ้านปาง(อำเภอลี้) หลังจากนั้นไม่นาน วัดพระธาตุห้าดวงก็กลับร้างอีกครั้ง

ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๑ นาย สนิท จิตวงศ์พันธ์ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอลี้ มีใจศรัทธาที่จะบูรณะวัดพระธาตุห้าดวง จึงได้นำศรัทธาประชาชนมาช่วยแผ้วถางและได้นิมนต์หลวงปู่พระครูบาชัยยะวงศา พัฒนาและครูบาขาวปี (วัดพระบาทผาหนาม อำเภอลี้) มาทำการบูรณะวัดพระธาตุห้าดวงอีกครั้ง จนถึง พ.ศ.๒๕๐๔ หลวงปู่พระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดพระธาตุห้าดวง ๑ พรรษา โดยท่านเดินทางจากวัดห้วยน้ำอุ่น (อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่)

 

 

 

ปัจจุบันวัดพระธาตุห้าดวง ซึ่งแต่ก่อนมีสภาพที่เสื่อมโทรม เนื่องจากขาดการดุแล ขาดผู้ที่มีศรัทธามาช่วยทะนุบำรุงอุปถัมภ์ บัดนี้ วัดพระธาตุห้าดวงได้รับการบูรณะและเริ่มทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ทำให้สภาพของวัด ได้กลับฟื้นคืนมาเป็นสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ดั่งที่ท่านทั้งหลายได้เห็นประจักษ์แก่สายตาของท่านเวลานี้ ก็ด้วยความเมตตาปราณีอย่างหาที่สุดประมาณมิได้จากพระเดชพระคุณหลวงปู่พระครู บาชัยยะวงศาพัฒนา ทีท่านได้เมตตาดูแลอุุปถัมภ์ วัดพระธาตุห้าดวงแห่งนี้พร้อมไปด้วยคณะศิษย์ของท่านและคณะศิษย์ของพระเดช


พระ คุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ (วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี) ที่ได้ดำเนินรอยตามพระเดชพระคุณทั้งสองที่พระคุณท่า่นได้อุทิศชีวิตและร่าง กาย ของท่านเพื่อพระพุทธศาสนาและเพื่อความสุขของบรรดาลูกหลานทุกคน ที่มีความต้องการที่จะพ้นทุกข์และประสบความสุขที่แท้จริง

Loading...

 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวพระเจดีย์ห้าดวง

 
ลำพูน/Information of LAMPHUN

  พระเจดีย์ห้าดวง

 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์