ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > จังหวัดกาญจนบุรี > อุทยานแห่งชาติเอราวัณ/Erawan National Park 

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ/ Erawan National Park

 

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานแห่งชาติไทรโยค และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ น้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศ ด้วยอาณาเขตอันกว้างขวางประกอบไปด้วยภูเขาสูง หน้าผา น้ำตก ถ้ำ และทิวทัศน์ที่งดงามตามธรรมชาติ ทั้งการคมนาคมที่สะดวก ทำให้อุทยานแห่งชาติเอราวัณเป็นที่นิยมท่องเที่ยวเป็นอันมาก มีเนื้อที่ประมาณ 549.98 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,735 ไร่

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ในสมัย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กระทรวงเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งป่าเทือกเขาสลอบ ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2504-2515 โดยใช้บริเวณน้ำตกเอราวัณเป็นศูนย์กลางการสำรวจ พบว่าบริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จังหวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษและมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ตามรายงานผลการสำรวจอุทยานแห่งชาติเขาสลอบ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2516 ของนายวิจารณ์ สาระนาค นักวิชาการป่าไม้โท แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนาย อำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 หน้า 515 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2481 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รักษาการณ์ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งให้กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือ ที่ กษ 0705/20251 และ 20252 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2515 ขอเพิกถอนพื้นที่เขตหวงห้ามที่ดินบางส่วนที่เป็นป่าเทือกเขา สลอบเพื่อเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2517 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2517 เห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติได้ และให้ใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติเอราวัณ” ตามความนิยมและคุ้นเคยของประชาชนที่รู้จักน้ำตกเอราวัณเป็นอย่างดี กระทรวงกลาโหมแจ้งไม่ขัดข้องตามหนังสือกระทรวงกลาโหม ที่ กห 0318/23505 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2517 และกระทรวงมหาดไทยไม่ขัดข้อง

กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนที่ดินหวงห้ามบริเวณดังกล่าว โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาสลอบในท้องที่ตำบลไทรโยค ตำบลท่าเสา ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 343,750 ไร่ หรือ 550 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 114 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2518 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 12 ของประเทศไทย

ต่อมาในปี 2538 กรมศาสนาได้ขอให้อุทยานแห่งชาติเอราวัณเพิกถอนพื้นที่เขตชุมชนในท้องที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งไม่เป็นบริเวณที่มีจุดเด่นทางธรรมชาติ หรือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เพื่อทำการก่อสร้างวัดเขื่อนศรีนครินทร์ สำหรับพุทธศาสนิกชนได้ใช้ประกอบศาสนกิจต่างๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนที่ดินบริเวณดังกล่าว โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาสลอบบางส่วน ในท้องที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่ 15 ไร่ หรือ 0.024 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33 ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ทำให้ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเอราวัณครอบคลุมพื้นที่ 343,735 ไร่ หรือ 549.976 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติเอราวัณลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 165-996 เมตร สลับกับพื้นที่ราบ โดยภูเขาส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน ในแถบตะวันออกและตะวันตกของพื้นที่จะยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวโดยเฉพาะบริเวณใกล้น้ำตกเอราวัณจะมีลักษณะเป็นหน้าผา ส่วนบริเวณตอนกลางจะเป็นแนวเขาทอดยาวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเทือกเขาที่สำคัญคือ เขาหนองพุก เขาปลายดินสอ เขาหมอเฒ่า เขาช่องปูน เขาพุรางริน และเขาเกราะแกระซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดประมาณ 996 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยที่สำคัญหลายสาย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในพื้นที่ด้านตะวันออกนี้จะมีลำห้วยที่สำคัญคือ ห้วยม่องไล่ และห้วยอมตะลา ซึ่งไหลมาบรรจบกันกลายมาเป็นน้ำตกเอราวัณ ทางตอนเหนือของพื้นที่มีห้วยสะแดะและห้วยหนองกบ โดยห้วยสะแดะจะระบายน้ำลงสู่เขื่อนศรีนครินทร์ ส่วนห้วยหนองกบไหลไปรวมกับห้วยไทรโยคก่อให้เกิดน้ำตกไทรโยค ส่วนในพื้นที่ด้านตะวันตก และด้านใต้ ได้แก่ ห้วยทับศิลา ห้วยเขาพังซึ่งเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่สวยงามที่เรียกว่า “น้ำตกเขาพัง” หรือน้ำตกไทรโยคน้อย

ลักษณะภูมิอากาศอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเอราวัณแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม และฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุทยานแห่งชาติเอราวัณได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือช่วยพัดพาให้เกิดฝน แต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตเงาฝน ทำให้มีปริมาณฝนตกไม่มากนัก และอากาศค่อนข้างร้อน ลักษณะอากาศดังกล่าวจึงไม่เป็นปัญหาต่อการเที่ยวชม ทำให้สามารถไปเที่ยวได้ทุกฤดู

พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ประกอบด้วย
ป่าเบญจพรรณ มีร้อยละ 81.05 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ขึ้นปกคลุมตั้งแต่ระดับความสูง 100 - 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียนหนู รกฟ้า ผ่าเสี้ยน ประดู่ ส้มเสี้ยว แต้ว มะกอก ตะแบก ขานาง มะเกลือ หว้า ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปหรือบางแห่งขึ้นเป็นกลุ่ม ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล และไผ่หอบ นอกจากนี้ยังมีพวกไม้เลื้อยและพืชพื้นล่าง ได้แก่ เสี้ยวเครือ นมแมว เล็บเหยี่ยว หนามคนทา ช้องแมว มะเม่าไข่ปลา ย่านลิเภา เปล้าหลวง กระทือ สังกรณี และเอื้องหมายนา เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ป่าเต็งรัง มีร้อยละ 1.68 กระจายอยู่ในระดับความสูง 100 - 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทุ่งยายหอม หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อว.8 (ลำต้น) และบริเวณใกล้เขื่อนทุ่งนา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง แดง ก่อแพะ มะขามป้อม อ้อยช้าง ยอป่า กรวยป่า โมกหลวง ก้างขี้มอด ส้าน เหมือดคน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าขน หญ้าหางเสือ เล็บแมว เถาว์กระทงลาย เป้ง ลูกใต้ใบ ผักหวาน ผักเป็ด พลับพลา และปอ เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง มีร้อยละ 14.35 อยู่บนสันเขาทอดเป็นแนวยาวตรงใจกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และอยู่ต่ำถัดลงมาในระดับความสูงระหว่าง 600-800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และอยู่ในบริเวณที่ชุ่มชื้นตามที่ราบริมห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางโอน มะพลับดง ยมหิน ตะเคียนทอง สำโรง ตะคร้ำ สัตบรรณ เฉียงพร้านางแอ มะดูก พลองใบเล็ก ข่อยหนาม ชมพู่น้ำ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม เถากระไดลิง เข็มขาว มะลิไส้ไก่ ว่านเศรษฐี ตำแยกวาง เถาอบเชย ไผ่หนาม และเนียมฤาษี

จากการสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก และสัตว์น้ำอื่นๆ รวมทั้งปลานานาชนิด ที่สำคัญและมักจะพบเห็น ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย เลียงผา อีเก้ง กวางป่า หมูป่า ชะนีธรรมดา ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงกัง ลิงลม แมวดาว อีเห็นธรรมดา กระแต เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ป่า นกกวัก นกเด้าดิน นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกหัวขวานด่างแคระ นกปรอดสวน นกจาบดินอกลาย งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูหลาม งูเห่าตะลาน กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนบ้าน ตะพาบน้ำ คางคกบ้าน เขียดจะนา อึ่งกราย กบป่าไผ่ใหญ่ ปาดบิน ปลากั้ง ปลาเวียน ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบจุด ปูน้ำตก ปูตะนาวศรี ปูกาญจนบุรี เป็นต้น

ถ้ำตาด้วง
เริ่มจากจังหวัดกาญจนบุรีไปตามเส้นทางที่จะไปเขื่อนศรีนครินทร์ จนถึงบ้านโป่งปัด แล้วเลี้ยวซ้ายไปยังอำเภอไทรโยคประมาณ 2 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาเข้าหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นทางติดกับแม่น้ำแควและสามารถเข้าไปยังด้านหลังเขื่อนท่าทุ่งนาได้ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงเชิงเขาที่มีถ้ำตาด้วง จากนั้นต้องเดินขึ้นเขาซึ่งค่อนข้างชันมากไปอีก 700-800 เมตร มีภาพเขียนอยู่ที่ผนังปากถ้ำเป็นรูปคนและต้นไม้ นอกจากนี้ยังพบเศษเครื่องใช้สมัยโบราณยุคหินใหม่ เช่น เศษถ้วย ไห เป็นต้น
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

อุทยานแห่งชาติเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมมีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขาตาม่องล่ายในเทือกเขา สลอบ สายน้ำจะไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆ ได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่าหลายชนิดบนคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตกลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้าด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมีคุณค่าของป่าเขาลำเนาไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตก เมื่อมีน้ำตกไหลบ่าจะมีรูปคล้ายหัวช้างเอราวัณ จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ”
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

น้ำตกผาลั่น
เป็นน้ำตกชั้นเดียวจะมีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น
กิจกรรม -เที่ยวน้ำตก

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ถ้ำพระธาตุ
เป็นถ้ำมืดขนาดใหญ่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 790 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 12 กิโลเมตร ทางเข้าถ้ำพระธาตุห่างจากทางแยกเข้าเขื่อนศรีนครินทร์มาตามทางเลียบแนวเขื่อนประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งถ้ำพระธาตุ ปากถ้ำมีขนาดเล็กแต่ตัวถ้ำภายในกว้างใหญ่ ลึกถึง 200 เมตร มีหินงอกหินย้อยเป็นรูปทรงต่างๆ ตามแต่ผู้พบเห็นจะจินตนาการ มีความสวยงามมาก ภายในถ้ำแบ่งเป็น 5 ห้อง ได้แก่ กบจำศีล ท้องฟ้าจำลอง เสาเอก ม่านลิเก และระฆัง อากาศภายในถ้ำโปร่งสบาย
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำวังบาดาล
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 54 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 63 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อว. 3 (วังบาดาล) แล้วเดินทางต่อไปอีก 1 กิโลเมตร จะถึงปากถ้ำ ลักษณะของถ้ำวังบาดาล เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ปากทางเข้าเป็นห้องเล็กๆ มีหลายห้อง ห้องชั้นล่างมีน้ำไหลผ่านและมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ด้วย นอกจากนี้แต่ละห้องยังมีความงามของหินงอกหินย้อย เช่น ห้องม่านพระอินทร์ จะมีลักษณะหินย้อยลงมาคล้ายกับม่าน ห้องเข็มนารายณ์ มีลักษณะคล้ายเข็มแท่งใหญ่ซึ่งวิจิตรงดงามมาก
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำหมี
เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีอากาศถ่ายเทพอควร จากคำบอกเล่าของชาวบ้านว่า ในอดีตถ้ำนี้เป็นที่อยู่ของหมี ทำให้เรียกกันต่อๆ มาว่า “ ถ้ำหมี ” ภายในถ้ำแบ่งเป็นห้องลดหลั่นเป็นชั้นๆ ได้ 5 ห้อง แต่ละห้องจะปรากฏรูปร่างและสีแปลกตา มีหินงอกหินย้อยตามผนังถ้ำสวยงามพอสมควร สามารถเดินทางจากจังหวัดกาญจนบุรีไปก่อนถึงเขื่อนท่าทุ่งนาประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอไทรโยคจนถึงทางเข้าบ้านทับศิลาบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 10 แล้วเดินทางไปตามทางลูกรังอีก 500 เมตร จะถึงบ้านทับศิลาและเข้าซอยสามัคคีธรรม 10 จนถึงคลองตะเคียน จากจุดนี้เดินเท้าไปตามเส้นทางชักลากไม้เก่าต่อไปอีก 7 กิโลเมตร
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

ถ้ำเรือ
เริ่มจากซอยสามัคคีธรรม 10 ข้ามคลองตะเคียนไปประมาณ 100-200 เมตร จะมีทางเลี้ยวขวา ซึ่งรถยนต์จะสามารถแล่นเข้าไปได้ประมาณ 200-300 เมตร จากนั้นต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงถ้ำเรือ ซึ่งเป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 40-50 เมตร ไม่มีหินงอกหรือหินย้อย แต่จุดเด่นอยู่ที่มีภาชนะที่ใช้รองน้ำสมัยโบราณวางอยู่ ภาชนะนั้นทำจากไม้ทั้งต้นมาเจาะให้มีลักษณะคล้ายเรือ ส่วนหัวได้ตกแต่งเป็นรูปหัวคน มีตา จมูก และหู 2 ข้าง ซึ่งจะช่วยค้ำไม่ให้พลิกเอียง ปัจจุบันสภาพของภาชนะนั้น แตกหักเหลือที่สมบูรณ์เพียงไม่กี่อัน และมีมูลค้างคาวตกปกคลุมเป็นส่วนใหญ่
กิจกรรม -เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ม่องล่าย
อุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างความรู้และได้รับความเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กัน ดูรายละเอียดเส้นทางศึกษาธรรมชาติได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
หมู่ 4 ต.ท่ากระดาน อ. ศรีสวัสดิ์ จ. กาญจนบุรี 71250
โทรศัพท์ 0 3457 4222 โทรสาร 0 3457 4234 อีเมล erawan_np@yahoo.com

การเดินทาง
รถยนต์
การเดินทางสามารถใช้เส้นทางได้ 2 ทาง คือ
1. เริ่มต้นจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3199 (กาญจนบุรี-ศรีสวัสดิ์) ถึงเขตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาดเทศบาลตำบลเอราวัณ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 66 กิโลเมตร
2. ถ้าเดินทางมาจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณบ้านวังใหญ่อยู่ตอนใต้ของน้ำตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัดออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนา ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 3199 อีกประมาณ 30 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ สายกรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี เดินทางต่อโดยรถโดยสาร สายกาญจนบุรี - น้ำตกเอราวัณ ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติโดยไม่ต้องต่อรถใดๆ อีก

ที่พักแรม/บ้านพัก
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว จำนวน 10 หลัง ค่ายพักแรม 2 หลัง

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์
อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน

แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม
กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน

 


 
รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park

แผนที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
Erawan National Park






 

 
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ/ Erawan National Park

  Erawan National Park

General Information
On October 7, 1959, Prime Minister Salit Thanarat proposed the creation of new 14 national parks. The Royal Forest Department then surveyed a large area centering around Erawan waterfall. The surveyors realized that the rolling hills in this area were expectionally beautiful, Consequently Erawan waterfall was designated as a protected area. On June 19th,1975 the Ministry of Agriculture and Cooperatives upgraded this status and Erawan finally became Thailand๛s twelfth national park. The park now encompasses 549.98 sq.km.

The limestone hills of Erawan National Park rise 165 to 996 meters above sea level. Many important streams flow from these hills. On the eastern side of the park, Mong Lai stream and Omtala stream join together above Erawan waterfall. Sadae stream flows through the north side of the park to Si- nakharindra dam. In the west, Nong Kop stream joins Sai Yok river, and these waters then flow through Sai Yok waterfall. Many small streams flow through the southern part of the park, including the Khao Phang stream which boosts the beautiful Khao Phang waterfall, also known as little Sai Yok waterfall.

Climate
These mountains protect the park from the eastern monsoon resulting in a low average rainfall. Rainy season starts from May to October, when storms come from the southwest and the northeast. Cold season runs from November to January, when the weather is cool and pleasant. February to April is the hot time and temperature is quite high. The park is open all year.

Flora and Fauna
The main prevalent forest type in Erawan National Park is the mixed deciduous forest covering 81 percent of the park area. Common tree species are Afzelia xylocarpa, Hopea odorata, Pterocarpus macrocarpus, Spondias pinnata, Lagerstroemia spp., Thyrsostachys siamensis, Bambusa bambos etc. Other forest types are dry dipterocarps forest and dry evergreen forest community which possess the area with dominant species like , Shorea obtusa, S.siamensis, Quercus kerrii, Sindora siamensis, Chukrasia tubularis, Polyalthia viridis, Fagraea fragrans and several different bamboo species.

From field observations, the park contains 5 different wildlife habitats for mammals, reptiles, amphibians, birds and freshwater fauna. The already enlisted animals are Indian elephant, tiger, Serow, Common muntjac, Sambar deer, Wild boar, White-handed gibbon, Phayre๛s langur, Siamese hare, Red flying squirrel, Kalij pheasant, Grey peacock Pheasant, Red-wattled Lapwing, Crested Serpent-Eagle, King cobra, Banded krait, Asiatic rock python, Asiatic apitting, Greater brook carp, Striped tiger nandid, and waterfall crab (Potamon erawanensis)

Ta Duang Cave
From Kanchanaburi along the Si Nakharindra-Tham Phrathat route where Sai Yok district is 2 kilometers on the left side of the route, drive 2 kilometers along the branch road through the district and then make the right turn after passing the district at the first junction to a village nearby the river Khaeo where Tha Thung Na dam is behind this village, drive further on another 2 kilometers. On the unpaved road to a foothill of the Tha Thung Na vicinity where Ta Duang cave is situated. At the foothill, trek another 700 - 800 meters up to a very steep slope. Beware of the fallen rocks along the route. The main attraction of this cave is rock paintings in the form of trees and human figures. Evidence of human habitation, potteries and tools may be seen.
Activities - Cave/Geological Touring

Erawan Waterfall
The 7 levels of this stunning waterfall drops 1,500 m. down steep-sided cliffs. It is surrounded by beautiful forest with many types of trees and orchids. There is a trail as far as the 6th level and from there you have to scramble up the cliff to reach the 7th level. The climb is well worth the effort, for the sight of tumbling water, spraying off the boulders into the deep pool below. This fall resembles the head of the Erawan Elephant-the 3-headed elephant from Hindu Mythology-which gives the whole waterfall its name.

Pha Lun Waterfall
Pha Lan Waterfall is a one-level waterfall which has water only in rainy season.

Phartat Cave
is 12 kilometers from headquarters. At 720 meters above sea level, it is an impressive cave filled with beautiful stalactites and stalagmites, and limestone geology is clearly displayed on the walls. Many visitors come here to see this such beautiful sights of Erawan National Park.
Activities - Cave/Geological Touring

Wang Bahdan Cave
The cave is 54 kilometers. From the headquarters. The cave entrance is one kilometer. from Wang Badan Ranger Station, on a branch roadside, where it is 2 kilometers from the Kilometer 63 Junction of the main highway no. 323. Wang Badan is a large limestone cave with its narrowly accessible opening. Inside the cave, there are several separated chambers. Along the bottom of the chamber flow there is a permanent stream which is home for a variety of benthic fauna. Each chamber contains glittering stalactites and stalagmites such as Man Phra-in (Indra's curtain), and Khem Narai (Narai's needles) which looks similar to a very large-size sewing needle.
Activities - Cave/Geological Touring

Mi Cave
The cave is a rather large with good aeration. The name ็Mi้ derived from a local belief that the cave was once inhabited by wild bears. Inside the cave, there are 5 chambers with strange forms of stone, stalagmites and stalactites. Access to the cave can be made via a route starting from the Kanchanaburi to Tha Thung Na dam. Turn left towards Sai Yok district until the entrance to Thap Sila village is reached at Kilometer 10. Drive further for 500 meters on the dirt road to Thap Sila village and take Soi Samakkhi Tham 10 to Khlong Takhian. From here, walk another 7 kilometers on the logging track to the cave.
Activities - Cave/Geological Touring

Rua Cave
The sister cave of Mi cave, starting from Soi Samakkhi Tham 10 for 100 - 200 meters across Khlong Takhian. Make the right-turn on a 200 - 300 meters drivable route, then park the car and walk for one kilometer to its entrance. Ruea cave is about 40-50 meters deep with no stalagmites or stalactites at all. Its attractions are the relics of the prehistoric people. Several coffins made from the whole trunk of an ancient tree look similar to boats and give the cave it๛s gnficance. The upper part of the coffin was carved in image of human head with eyes, nose, and ears. Currently, the coffins are protected by the cave.
Activities - Cave/Geological Touring

Mong Lai Nature Trail
The Mong Lai Nature Trail is slithering along the waterfall. Visitors will enjoy the serene foerest and 12 various interesting interpretation signs which will take about 50 minutes. Cllick for further information in this trail.

Contact Address
Erawan National Park
Mu 4, Tha Kradan Sub-district, Amphur Si Sawat Kanchanaburi Thailand 71250
Tel. 0 3457 4222 Fax 0 3457 4234 E-mail erawan_np@yahoo.com

How to go?
By Car
There are two entrances to the park. On the west, a road comes from Sai Yok National Park. On the south, highway 323 comes from Kanchanaburi. If you are coming from little Sai Yok waterfall, travel about 10 kilometers to the town of Ban Pong Pat and turn left into Highway 3199. The park entrance is about 30 kilometers from this intersection.

By Bus
From Bangkok, take the bus from the Southern bus terminal (Sai Tai Mai) to Kanchanaburi, then catch a bus to the park


 
เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

เชิญแนะนำการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ความประทับใจ

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

เว็บไซต์หลักประจำจังหวัดกาญจนบุรี แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร กาญจนบุรี เที่ยวกาญจนบุรี รีสอร์ท กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ริเวอร์แคววิลเลจ กาญจนบุรี ท่องเที่ยว กาญจนบุรี ที่พัก กาญจนบุรี ล่องแพ กาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี แพ กาญจนบุรี กาญจนบุรี ที่พัก ทัวร์กาญจนบุรี รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี กาญจนบุรี แผนที่ แผนที่ กาญจนบุรี ล่องแพกาญจนบุรี รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี กาญจนบุรี เทศบาลตำบลลูกแก ราชภัฏกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี รายการทัวร์ กาญจนบุรี พาวิลเลี่ยน กาญจนบุรี หลุบพญา กาญจนบุรี ท่องเที่ยวกาญจนบุรี แพคเกจทัวร์กาญจนบุรี แพ เขาแหลม กาญจนบุรี ngo จังหวัดกาญจนบุรี เทศบาลตำบลลูกแก จ.กาญจนบุรี สำนักงานจัดหางาน กาญจนบุรี ศิลาอิงวารี รีสอร์ท กาญจนบุรี เดอะเลกาซี่ กาญจนบุรี กาญจนบุรี felix ที่พัก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ท่องเที่ยว จ.กาญจนบุรี ททท.สำนักงานภาคกลาง เขต 1 จ.กาญจนบุรี บ้านพัก กาญจนบุรี กาญจนบุรี แหล่งท่องเที่ยว ราชภัฎกาญจนบุรี เทศบาลตำบลลูกแก กาญจนบุรี โรงแรมกาญจนบุรี ทัวร์ กาญจนบุรี แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี โรงแรม บ้านผาน้ำ กาญจนบุรี สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี ทัวร์ น้ำตก กาญจนบุรี โรงแรม
อำเภอทองผาภูมิ


ป้อมปี่
Pom Pi
(กาญจนบุรี)
 
อำเภอท่ามะกา
อำเภอท่าม่วง


วัดถ้ำเสือ
Wat Tham Sua
(กาญจนบุรี)
อำเภอบ่อพลอย


บ่อพลอย

Pebble
(กาญจนบุรี)
อำเภอพนมทวน
อำเภอศรีสวัสดิ์
 
อำเภอสังขละบุรี


สะพานมอญ
Mon Brigde
(กาญจนบุรี)
     
อำเภอเมือง


ถ้ำมะเดื่อ

Maduea Cave
(กาญจนบุรี)
   
อำเภอไทรโยค


ถ้ำละว้า

Lawa Cave
(กาญจนบุรี)
     
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี/map of KANCHANABURI
โรงแรมจังหวัดกาญจนบุรี/Hotel of KANCHANABURI

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์