ธงชาติเพลงชาติและศาสนา ในฟิลิปปินส์

0

ความหมายของธงชาติ

Flag_of_the_Philippines.svg_

มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม สามเหลี่ยมสีขาวเป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาคและภราดรภาพ

  • พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
  • พื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า
  • รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439
  • ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน

เพลงชาติฟิลิปปินส์

ลูปังฮินิรัง (ฟิลิปิโน: Lupang Hinirang) คือชื่อของเพลงชาติฟิลิปปินส์ ทำนองประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1898 โดย จูเลียน เฟลิเป (Julián Felipe) เนื้อร้องฉบับได้ปรับมาจากบทกวีภาษาสเปนชื่อ “ฟีลีปีนัส” (“Filipinas”) ซึ่งประพันธ์โดยโฆเซ ปาลมา (José Palma) เมื่อ ค.ศ. 1899

เดิมทีแล้วเพลงลูปังฮินิรังเป็นเพลงที่เกิดขึ้นเฉพาะเหตุการณ์ เพราะเพลงนี้เมื่อถูกนำมาใช้ในฐานะเพลงชาติในช่วงที่ฟิลิปปินส์เป็นอิสระจากสเปนในระยะเวลาสั้นๆ ก็ไม่ปรากฏว่ามีเนื้อร้องแต่อย่างใด และได้บรรเลงเฉพาะในพิธีประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898 เท่านั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน รัฐบาลอาณานิคมของสหรัฐฯ ได้บัญญัติออกกฎหมายเรื่องธงชาติซึ่งได้สั่งห้ามมีการบรรเลงเพลงนี้ กระทั่งถึงปีค.ศ. 1919 กฎหมายดังกล่าวจึงถูกยกเลิก เพลงนี้จึงได้รับการแปลเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับรองจากกฎหมายใอย่างเป็นทางการในชื่อเพลง “Philippine Hymn” (เพลงสรรเสริญฟิลิปปิน) บทเพลงนี้ต่อมาได้มีการแปลออกเป็นภาษาตากาล็อกในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 หลายสำนวน ต่อมาในปี ค.ศ. 1956 จึงได้เริ่มใช้บทร้องฉบับภาษาฟิลิปิโนหรือภาษาตากาล็อกแบบมาตรฐาน (มีการปรับแก้ใน ค.ศ. 1960) เป็นบทร้องเพลงชาติสืบมาจนถึงปัจจุบัน

คำว่า “ลูปัง ฮิรินัง” ในภาษาฟิลิปิโนหรือภาษาตากาล็อกมีความหมายว่า “แผ่นดินที่ถูกเลือก” (Chosen Land) ในแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษบางแห่งได้แปลชื่อเพลงนี้ผิดพลาดเป็น “Beloved Land” หรือ “Beloved Country” ซึ่งอาจเป็นภาษาไทยได้ว่า “แผ่นดินอันเป็นที่รัก” อย่างไรก็ตาม คำแปล “แผ่นดินอันเป็นที่รัก” นั้น เป็นวลีที่แปลมาจากวรรคแรกของบทกวี “ฟีลีปีนัส” ซึ่งเริ่มด้วยวลี “Tiérra adorada” และเป็นคำแปลเดียวกับที่ใช้ในบทร้องภาษาฟิลิปิโนซึ่งขึ้นต้นว่า “Bayang Magiliw” (“บายัง มากีลิว”) อันเป็นชื่อเพลงนี้อย่างไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่ง

 

ศาสนา
ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา

คนพื้นเมือง
จะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี นอกจากเทพเจ้าแล้ว ชาวพื้นเมืองยังนับถือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวตก ผีพุ่งใต้ และรวมไปถึงการนับถือบูชาสัตว์บางชนิด เช่น นก และจรเข้ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ใหญ่ ที่มีอายุมาก แม่น้ำ ก้อนหิน ที่ถูกธรรมชาติตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และแปลก นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณก็จะต้องท่องเที่ยว จะได้ขึ้นสวรรค์ถ้าคนนั้นมีพฤติกรรมดี ส่วนผู้ที่กระทำชั่ว ดุร้าย โหดเหี้ยม ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะถูกพระเจ้าลงโทษ และนำไปสู่นรก ความเชื่อในยุคโบราณดังกล่าวยังคงมีอยู่ เป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตเห็นได้จากงานเทศกาล และพิธีการต่าง ๆ ของชาวฟิลิปปินส์

ศาสนาอิสลาม
เริ่มเข้ามาสู่คนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 โดยชนชาวอาหรับได้เข้ามาระหว่างที่มีการติดต่อค้าขายกับฟิลิปปินส์ ปัจจุบันศาสนาอิสลามเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก พวกนี้จะเรียกตนเองว่า โมโร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ในเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู เป็นส่วนมาก

ศาสนาคริสต์
นิกายโรมันคาธอลิค เป็นนิกายที่สเปญนำเข้ามเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ ในระหว่างที่สเปญปกครองฟิลิปปินส์ คนฟิลิปปินส์ ให้การยอมรับนับถือนิกายนี้มาก และศาสนาคริสต์มีอิทธิพลในวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์มาก นอกจากนี้การนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค ยังสามารถมีสิทธิในการยกเว้นภาษี และได้รับผลประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วย เพราะบาทหลวงจะเป็นผู้คอยปกป้องบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลา ด้วยสาเหตุดังกล่าว คริสตศาสนา จึงเป็นศาสนาประจำชาติ ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน นิกายโรมันคาธอลิค มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 83 นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ 3 รวมเป็นประมาณร้อยละ 86

หลังจากที่สหรัฐ ฯ เข้ามามีบทบาทในการปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐ ฯ ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ชาวฟิลิปปินส์อย่างมาก และเปิดโอกาสให้ประชาชน มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และได้นำเอานิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ด้วย จากสถิติของประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ นอกจากศาสนาคริสต์ แล้ว มีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ไม่นับถือศาสนาใดประมาณร้อยละ 2

เชิญแสดงความคิดเห็น