การเมืองและการปกครอง

0

แต่เดิมฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประธานาธิบดี ต่อมาได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยกำหนดให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐ มีระบบการปกครองแบบรัฐสภาประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศและต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ในขณะดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฟิลิปปินส์ที่ร่างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ และประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ 

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ประธานาธิบดีเฟอร์ดินาล มาร์กอส ได้ประกาศกฎอัยการศึกตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๗๘ แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนฉบับเดิม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเพียง ๑๗ มาตรา ประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖  กำหนดให้ฟิลิปปินส์ มีการปกครองแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล 

รัฐธรรมนูญฉบับเดิม และโครงสร้างของการปกครองฟิลิปปินส์มีอุปสรรคขัดขวางความเจริญอย่างหนึ่งคือบรรดาเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวย เข้ามามีอิทธิพลในสภาของฟิลิปปินส์ คนกลุ่มนี้จะสนใจเฉพาะผลประโยชน์ และความมีอภิสิทธิ์ของพวกตนเท่านั้น 


เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่ประกอบด้วยเกาะเป็นจำนวนมากและอยู่อย่างกระจัดกระจาย การปกครองจึงจำเป็นต้องมาจากส่วนกลางมากกว่าจะเป็นการปกครองแบบสหพันธ์ เช่น สหรัฐอเมริกา 

 

การแบ่งเขตการปกครอง

ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด

ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง

หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง

 600px-Ph_administrative_map_blank

เขต (regions)

  • เขตอีโลกอส (Ilocos Region, Region I)
  • คากายันแวลลีย์ (Cagayan Valley, Region II)
  • เซนทรัลลูซอน (Central Luzon, Region III)
  • คาลาบาร์ซอน (CALABARZON, Region IV-A)
  • มิมาโรปา (MIMAROPA, Region IV-B)
  • เขตบีโกล (Bicol Region, Region V)
  • เวสเทิร์นวิซายา (Western Visayas, Region VI)
  • เซนทรัลวิซายา (Central Visayas, Region VII)
  • อีสเทิร์นวิซายา (Eastern Visayas, Region VIII)
  • คาบสมุทรซัมโบอังกา (Zamboanga Peninsula, Region IX)
  • นอร์เทิร์นมินดาเนา (Northern Mindanao, Region X)
  • เขตดาเวา (Davao Region, Region XI)
  • ซอกสก์ซาร์เกน (SOCCSKSARGEN, Region XII)
  • คารากา (Caraga, Region XIII)
  • เขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม (Autonomous Region in Muslim Mindanao, ARMM)
  • เขตบริหารกอร์ดีเยรา (Cordillera Administrative Region, CAR)
  • เขตนครหลวง (National Capital Region, NCR) (หรือ Metro Manila: เมโทรมะนิลา)


โครงสร้างของรัฐบาล
ฟิลิปปินส์เป็นดินแดนที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และจีนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเซียอาคเนย์  ฟิลิปปินส์ไม่มีสิ่งก่อสร้างเก่า ๆ ในยุคเดิม ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ที่แพร่เข้ามาในเอเซียอาคเนย์ในครั้งแรก ไม่ได้ฝังรากมั่นคงในดินแดนแห่งนี้ จะมีมากก็เฉพาะศาสนาอิสลาม ที่แพร่เข้าไปบริเวณเกาะซูลู และเกาะมินดาเนา พอดีสเปนได้เข้ามาถึงดินแดนนี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๔ 


สเปนได้สร้างกรุงมะนิลาขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเมืองแบบสเปน มะนิลาได้ชื่อว่า เป็นเมืองเก่าของพวกยุโรปในบริเวณ ะวันออกไกล 


สเปนมีอำนาจบังคับบัญชาดินแดนที่มีประชากรอยู่เป็นจำนวนมากในฟิลิปปินส์ได้ จะเว้นก็แต่พวกมุสลิมที่อยู่ทางใต้
แถบเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู   อำนาจการบังคับบัญชาขึ้นอยู่กับอุปราชของสเปนที่เม็กซิโก ในช่วงระยะเวลาที่สเปนเข้ามาเป็นผู้ปกครองศาสนาคริสต์ได้กลายเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลเหนือคนพื้นเมือง 


ขณะที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในระยะแรกชาวฟิลิปปินส์ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านอำนาจสเปนมากนักต่อมาเมื่อสเปนมีข้อพิพาทกับสหรัฐอเมริกา กองทัพเรือสหรัฐ ฯมีชัยชนะสเปนที่อ่าวมนิลาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๑อำนาจการปกครองของสเปนเหนือดินแดนฟิลิปปินส์มาเป็นเวลา ๓๗๗ ปี ก็เปลี่ยนมือไปได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒

 

ปัญหาคอมมิวนิสต์ในประเทศ
ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ประธานาธิบดีโรซาสได้ออกกฎหมายนิรโทษผู้สมรู้ร่วมคิดกับญี่ปุ่นปัญหาด้านนี้ก็หมดไป ยังมีแต่การก่อความไม่สงบของพวกชาวนา และเกษตรกรพวกนี้ได้ร่วมกันเข้าไปอยู่ในขบวนการคอมมิวนิสต์ หรือพวกฮุกบาลาฮับ (Hukbalahups) หรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน ที่ต่อต้านญี่ปุ่น ถือว่าพวกนี้เป็นพวกนอกกฎหมาย ได้มีการระดมกำลังเข้าปราบปราม เริ่มใช้โครงการปฏิรูปที่ดิน และการปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ ตั้งธนาคารกลางขึ้นรวมทั้งบริษัท ให้กู้เงินเพื่อฟื้นฟูประชาชน 

มีการออกกฎหมายให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองนอกกฎหมายเพื่อป้องกันการแทรกซึมของพวกคอมมิวนิสต์ 


นโยบายต่างประเทศ
ก่อนปี พ.ศ.๒๕๑๑ สหรัฐอเมริกามีบทบาททั้งการทหาร และเศรษฐกิจในฟิลิปปินส์มากที่สุด 


ส่วนญี่ปุ่นมีบทบาทเฉพาะทางเศรษฐกิจเท่านั้น และในระยะเวลาดังกล่าวฟิลิปปินส์มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ จึงไม่ได้มีการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด 

หลังปี พ.ศ.๒๕๑๑ ฟิลิปปินส์เริ่มผ่อนคลายความผูกพันที่มีอยู่กับสหรัฐ ฯ ทั้งทางทหาร และทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ได้หาทางผูกมิตร กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในอินโดจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ฟิลิปปินส์ได้แสดงท่าทีว่าต้องการพึ่งตนเองมากขึ้น 

หลังจากที่ฟิลิปปินส์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนและสหภาพโซเวียตรัสเซียแล้ว ฟิลิปปินส์ได้พยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศ อย่างอิสระมากขึ้นได้เริ่มนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด รวมทั้งได้พยายามส่งเสริม และเข้าร่วมในกิจการต่าง ๆของกลุ่มประเทศโลกที่สาม 

ได้มีการปรับปรุงนโยบายต่างประเทศที่จะส่งเสริมความมั่นคงของอาเซียนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศโลกที่สาม สนับสนุนอาหรับในการแสวงหาสันติภาพถาวร ในตะวันออกกลาง เป็นต้น 

ขอขอบคุณ th.wikipedia.org

เชิญแสดงความคิดเห็น