พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung )

0

พระเจ้าบุเรงนอง พม่าเรียกบะยินเนาว์ (Bayinnaung )

Bayinnaung
พระเจ้าบุเรงนอง “ผู้ชนะสิบทิศ”

ในบทนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงฯ ตั้งสมญานาม พระเจ้าบุเรงนองว่า The Conqueror of Ten Direction ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ เป็นเรื่องราวชีวิตของชายผู้หนึ่ง ที่ชื่อ “จะเด็ด” พ่อแม่ของจะเด็ด เป็นคนยากจน ยังชีพด้วยการปาดตาลแต่จะเด็ด เป็นผู้มีบุญญาธิการที่จะได้เป็นกษัตริย์ ได้ครองเศวตฉัตรของพุกามประเทศ จึงวันหนึ่ง ขณะเมื่อยังเป็นทารก พ่อแม่ของจะเด็ดกำลังทำงาน ปีนต้นตาลคนละต้น ก็มีงูใหญ่ตัวหนึ่งได้มาขด ล้อมรอบกายจะเด็ดที่กำลังนั่งเล่นอยู่ สองสามีภรรยาเห็นเหต อัศจรรย์ดังนั้น จึงรีบนำเรื่องนี้ไปเล่า ให้พระราชาคณะรูปหนึ่งฟัง ราชาคณะรูปนั้นได จับยามผูกดวงชาตาเด็กทารกนั้นดู ก็รู้ว่าเด็กทารกนี้ เป็นผู้มีบุญ จะได้เป็นถึงมหาราช

จึงแนะนำให้พากันไปอาศัยอยู่กับภิกษุมังสินธู เจ้าอาวาสวัดกุโสดอ ในเมืองตองอู ต่อมาบิดาของจะเด็ดเสียชีวิตลง และนางเลาชีผู้เป็นแม่ ได้มาเป็นแม่นมให้แก่ราชโอรส และราชธิดา เมืองตองอู ทำให้จะเด็ดได้คลุกคลีกับบุคคลในวงศ์กษัตริย์ของเมืองตองอู โดยเฉพาะ มังตรา ราช โอรสเมืองตองอู ผู้มีลิ้นดำ ซึ่งอ่อนเยาว์กว่า จะเด็ดจงรักภักดีต่อมังตราเจ้านายเหนือหัวของตนเป็นอันมาก ได้เรียนวิชาการ รวมทั้ง เพลงอาวุธ โดยเฉพาะเพลงทวนบนหลังม้า จากพระอาจารย์มังสินธู อดีตนักรบคู่บุญ พระเจ้าเมงกะยินโย ผู้ตั้ง เมืองตองอู นอกจากนี้จะเด็ดยังได้เรียนเพลงดาบจาก ตะคะญี นักรบเฒ่าชาวกะเหรี่ยงสหายรักของมังสินธู ซึ่ง มีอาชีพเป็นช่างตีดาบและเป็นครูดาบแห่งหมู่บ้านกะเหรี่ยง เมื่อพระเจ้าเมงกะยินโย (หรือพระเจ้าสิริชัยะสุระ) เสด็จสวรรคตลง มังตรา เยาวกษัตริย์ แห่งเมือง ตองอู กับจะเด็ดสหายร่วมน้ำนม ก็ได้พยายามแผ่อาณาเขตของเมืองตองอู ไปจนทั่วลุ่มน้ำอิระวดี จนตีได้ เมืองแปร เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี เมืองอังวะ เมืองยะไข่ รวมกันเข้าเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน แล้วตั้งเมืองหลวงใหม่ขึ้นที่เมืองหงสาวดี สถาปนาพระเจ้ามังตราขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ ทรง พระนามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้(พระเจ้าลิ้นดำ) กับ บุเรงนอง (จะเด็ด) ซึ่งเป็นพี่เขย ได้กรีธาทัพ พร้อมไพร่พลโยธา ช้าง ม้า จำนวนมากมาล้อมกรุงศรีอยุธยา จนเกิดเรื่องราวของความจงรักภักดีต่อ พระมหากษัตริย์และความ หวงแหนแผ่นดินถิ่นเกิดของคนไทย ต่อมาเมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ สิ้นพระชนม์ลง จะเด็ดก็ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นมหากษัตริย์แทน ทรงนามว่าพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าบุเรงนองกับการเสียเมืองของกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๑๐๖ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา มีกำลังพล ๒๐๐,๐๐๐ คน จัดเป็นทัพกษัตริย์ถึงหกกองทัพ มีเมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกส อาสาสมัคร ๔๐๐ คน เป็นพลปืนใหญ่ พม่าตีได้เมืองกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลก ปะทะทัพไทยที่ชัยนาท แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องยอมเป็นไมตรี พ.ศ.๒๑๑๑ สงครามไทย – พม่า คราวเสียกรุง พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังพล ๕๐๐,๐๐๐ คน ยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ประชวรและสวรรคต กองทัพพระไชยเชษฐา กษัตริย์ล้านช้างยกมาช่วย แต่ถูกพม่าโจมตีแตกกลับไป เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๙๓๑ (พ.ศ.๒๑๑๒) กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่กองทัพพม่าซึ่งมีพระเจ้ากรุงหงสาวดี หรือ พระเจ้าบุเรงนอง ที่เรา รู้จักกันดีในนามว่า “ผู้ชนะสิบทิศ” ทรงเป็นจอมทัพ ภายหลังที่ได้ต่อสู้ขับเคี่ยวกันมานานถึง ๙ เดือนเศษ พระเจ้าหวสาวดี บุเรงนอง และพระสุพรรณกัลยาพระสุพรรณกัลยา เป็นธิดาองค์ใหญ่ของพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวร และพระเอกาทศรถ วีรกษัตริย์ไทยผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติ ให้พ้นจากอำนาจของพม่า พระนางทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๐๙๓ ณ พระราชวังจันทน์ (บริเวณที่ตั้งโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุปัน)เมื่อกรุงศรีอยุธยาแพ้ศึกพระเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าบุเรงนอง) พุทธศักราช ๒๑๑๒ พระนางและพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ ได้ถูกบุเรงนอง กษัตริย์พม่า กวาดต้อนไปเป็นเชลยที่เมืองหงสาวดีพร้อมด้วยพระมหินทราธิราชเจ้าเหนือหัว แต่พระมหินทราธิราชเสด็จสวรรคตเสียที่เมืองอังวะ พม่าจึงแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่โอรสและธิดา ยังเป็นเชลยอยู่เพื่อเป็นตัวประกัน ป้องกันการคิดทรยศของฝ่ายไทย ทั้งสามพี่น้องอยู่ที่หงสาวดีถึง ๖ ปี จึงได้กลับมากรุงศรีอยุธยาด้วยเหตุที่พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนองเกิดความพึงพอใจในสิริโฉมงดงาม ของพระสุพรรณกัลยา จึงมาสู่ขอจากพระมหาธรรมราชา และนำกลับไปอภิเษกเป็นพระชายา ณ เมืองหงสาวดี ต่อมาพระนางได้ออกอุบาย ทูลขอให้พระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ กลับสู่กรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยพระบิดารับศึกพระยาละแวกแห่งเขมร นับเป็นมหาวีรกรรม ที่ทรงมีแต่ปวงชนชาวไทย อันควรยกย่องพระเกียรติยศให้ปรากฏ

burengnong

เชิญแสดงความคิดเห็น