การเมืองและการปกครอง

0

เขตแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันเป็นอาณาเขตที่กำหนดไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ ก่อนหน้านั้น เขตแดนของอินโดนีเซียแตกต่างออกไปจากที่เป็นอยู่ปัจจุบัน 
            ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เกาะที่สำคัญคือ เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะสุลาเวสี หรือเกาะเซเลเบส บางส่วนของเกาะกาลิมันตันหรือเกาะบอร์เนียว และบางส่วนของเกาะอีเรียนชยา ชาวดัทช์เริ่มเข้ามามสีอาณานิคม เหนือหมู่เกาะดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๔๕ และตั้งแต่นั้นมาอินโดนีเซียก็ตกอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์ เป็นระยะเวลาประมาณสามศตววรรษครึ่ง จนนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๕ ระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา ญยี่ปุ่นได้เข้ามายึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก 
            หลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสงบลง เนเธอร์แลนด์ได้ส่งกำลังกลับเข้ามาในอินโดนีเซียอีกครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอังกฤษ ซึ่งเข้าครอบครองอินโดนีเซีย หลังจากขับไล่ญี่ปุ่นออกไป 
            อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชพร้อมกับประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ และประกาศหลักปัญจศีล ดร.ซูการ์โน ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้มีการต่อสู้เพื่อเอกราชแลกด้วยเลือดเนื้อ และชีวิตของชาวอินโดนีเซียนับแสนคน ในที่สุดอินโดนีเซียก็ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ 
            รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.๒๔๘๘ กำหนดใให้อินโดนีเซียมีการปกครองในรูปรัฐเดียว มีระบบการปกครองเป็นแบบรวมทั้งประเทศ (United Structure) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล 
            เมื่อดัทช์โอนอำนาจอธิปไตยใให้อินโดพนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ อินโดนีเซียก็มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๒ กำหนดให้อินโดนีเซีย มีการปกครองแบบสหพันธสาธารณรัฐ (Federation) เรียกชื่อประเทศว่า สหรัฐอินโดนีเซีย (United State of Indonesia) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๓ อินโดนีเซียก็นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่สาม มาใช้ปกครองประเทศ กำหนดให้อินโดนีเซียกลับมีระบบการปกครองแบบรวมทั้งประเทศเหมือนรัฐธรรมนูญฉ บับแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ มาใช้ใหม่ 

ซูกาโน่
ดร.ซูการ์โน

            หลักปัญจศีล (Panja Sila)  ปรัชญาที่สำคัญมากของอินโดนีเซียคือ หลักปัญจศีลของ ดร.ซูการ์โน เป็นหลักที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งของอินโดนีเซีย ตลอดระยะเวลาตั้งแต่อินโดนีเซียได้รับเอกราชเป็นต้นมา มีความเปว็นมาคือ ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการใให้อินโดนีเซียได้รับเอกราช ญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายยึดครองอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น ให้การอุปการะในการประชุมครั้งนี้ ดร.ซูการ์โน เป็นผู้แสวงหาหลักการขั้นพื้นฐาน สำหรับนำมาประสานความสามัคคี ระหว่างปรัชญาของกลุ่มอิสลาม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการที่จะเห็นประเทศอินโดนีเซียใหม่ หลังจากได้รับเอกราชแล้วเป็นประเทศที่ปกครองโดยผู้นำทางศาสนาอิสลาม กับกลุ่มพลเรือนคณะชาตินิยม ซึ่งเปว็นกลุ่มที่มีปรัชญยาแนวทางสังคมนิยม
            เพื่อเป็นรากฐานประสานความสามัคคีทั้งทางสังคมและการเมืองวระหว่างคนสองกลุ่มดังกล่าว ซูการ์โน จึงวางหลักปัญจศีลให้เป็นปรัชญาของประเทศคือ อินโดนีเซียจะยึดมั่นอยู่ในเรื่องชาตินิยม สากลนิยม รัฐบาลโดยประชาชน ความยุติธรรมในสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว 
            หลักปัญจศีลของซูการ์โน ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งจากกลุ่มชาตินิยม ส่วนกลุ่มอิสลามต้อนรับอย่างไม่เต็มใจนัก 

การแบ่งเขตการปกครอง

ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 จังหวัด (provinces – propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions – daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district – daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่

  • เกาะสุมาตรา
    • เขตปกครองพิเศษอาเจะห์ -บันดาร์อาเจะห์*
    • จังหวัดสุมาตราเหนือ -เมดาน
    • จังหวัดสุมาตราใต้ -ปาเลมบัง
    • จังหวัดสุมาตราตะวันตก -ปาดัง
    • จังหวัดเรียว -เปอกันบารู
    • หมู่เกาะเรียว -ตันจุงปีนัง
    • จังหวัดจัมบี -จัมบี
    • หมู่เกาะบังกาเบลีตุง -ปังกัลปีนัง
    • จังหวัดเบงกูลู -เบงกูลู
    • จังหวัดลัมปุง -บันดาร์ลัมปุง
  • เกาะชวา
    • เขตนครหลวงพิเศษจาการ์ตา**
    • จังหวัดชวากลาง -เซมารัง
    • จังหวัดชวาตะวันออก -สุราบายา
    • จังหวัดชวาตะวันตก -บันดุง
    • จังหวัดบันเตน -เซรัง
    • เขตปกครองพิเศษย็อกยาการ์ตา*
  • หมู่เกาะซุนดาน้อย
    • จังหวัดบาหลี -เดนปาซาร์
    • จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก -คูปัง
    • จังหวัดนูซาเต็งการาตะวันตก -มาตาราม
  • เกาะบอร์เนียวหรือเกาะกาลีมันตัน
    • จังหวัดกาลีมันตันเหนือ -Tanjung Selor
    • จังหวัดกาลีมันตันกลาง -ปาลังการายา
    • จังหวัดกาลีมันตันใต้ -บันจาร์มาซิน
    • จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก -ซามารินดา
    • จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก -ปนตีอานัก
  • เกาะซูลาเวซี
    • จังหวัดโกรอนตาโล -โกรอนตาโล
    • จังหวัดซูลาเวซีเหนือ -มานาโด
    • จังหวัดซูลาเวซีกลาง -ปาลู
    • จังหวัดซูลาเวซีใต้ -มากัสซาร์
    • จังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ -เกินดารี
    • จังหวัดซูลาเวซีตะวันตก -มามูจู
  • หมู่เกาะโมลุกกะ
    • จังหวัดมาลูกู -อัมบน
    • จังหวัดมาลูกูเหนือ -เตอร์นาตี
  • เกาะนิวกินี
    • จังหวัดปาปัว -จายาปุระ
    • จังหวัดปาปัวตะวันตก -มานกวารี

ขอขอบคุณ www1.tv5.co.th

เชิญแสดงความคิดเห็น